ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
กามาวจรกิริยา
[๔๘๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน? มโนธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วย อุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ใน สมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน สมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต. [๔๘๓] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ [๔๘๔] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้น แม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต. [๔๘๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน? มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคต ด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ใน สมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต. [๔๘๖] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา มีในสมัยนั้น ฯลฯ วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความ พยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น. สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มี อยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต. [๔๘๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้น แม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ [๔๘๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ใน สมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ [๔๘๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน? มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคต ด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ใน สมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิด ขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต. [๔๙๐] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มี อยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ [๔๙๑] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือ นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต. [๔๙๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน? มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคต ด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคต ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคต ด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุต จากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต. [๔๙๓] อัพยากตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโทสะ ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
กามาวจรกิริยา จบ.
-----------------------------------------------------
รูปาวจรกิริยา
[๔๙๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน? พระขีณาสพ เจริญรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรม วิบาก แต่เป็นทิฏฐิธรรมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐม- *ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ [๔๙๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน? พระขีณาสพ เจริญรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มี ในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
รูปาวจรกิริยา จบ.
-----------------------------------------------------
อรูปาวจรกิริยา
[๔๙๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน? พระขีณาสพ เจริญอรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐิธรรมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากาสามัญ- *จายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต. [๔๙๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน? พระขีณาสพ เจริญอรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรม วิบาก แต่เป็นทิฏฐิธรรมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึง บรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละ ทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต. [๔๙๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน? พระขีณาสพ เจริญอรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐิธรรมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถ- *ฌาน อันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต. [๔๙๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน? พระขีณาสพ เจริญอรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรม วิบาก แต่เป็นทิฏฐิธรรมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึง บรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ ละสุข ละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต. [๕๐๐] อัพยากตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโทสะ ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
อรูปาวจรกิริยา จบ.
จิตตุปปาทกัณฑ์ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๔๐๐๕-๔๑๓๒ หน้าที่ ๑๖๒-๑๖๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=4005&Z=4132&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=46              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=482              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [482-500] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=34&item=482&items=19              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=8763              The Pali Tipitaka in Roman :- [482-500] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=34&item=482&items=19              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=8763              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.1.10/en/caf_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :