ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
สุตตันตมาติกา ๔๒ ทุกะ
[๑๕]
๑. วิชชาภาคีทุกะ
วิชฺชาภาคิโน ธมฺมา ธรรมเป็นไปในส่วนวิชชา อวิชฺชาภาคิโน ธมฺมา ธรรมเป็นไปในส่วนอวิชชา
๒. วิชชูปมทุกะ
วิชฺชูปมา ธมฺมา ธรรมเหมือนฟ้าแลบ วชิรูปมา ธมฺมา ธรรมเหมือนฟ้าผ่า
๓. พาลทุกะ
พาลา ธมฺมา ธรรมทำให้เป็นพาล ปณฺฑิตา ธมฺมา ธรรมทำให้เป็นบัณฑิต
๔. กัณหทุกะ
กณฺหา ธมฺมา ธรรมดำ สุกฺกา ธมฺมา ธรรมขาว
๕. ตปนิยทุกะ
ตปนิยา ธมฺมา ธรรมทำให้เร่าร้อน อตปนิยา ธมฺมา ธรรมไม่ทำให้เร่าร้อน
๖. อธิวจนทุกะ
อธิวจนา ธมฺมา ธรรมเป็นชื่อ อธิวจนปถา ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุของธรรมเป็นชื่อ
๗. นิรุตติทุกะ
นิรุตฺติ ธมฺมา ธรรมเป็นนิรุตติ นิรุตฺติปถา ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุของธรรมเป็นนิรุตติ
๘. ปัญญัติติทุกะ
ปญฺญตฺติ ธมฺมา ธรรมเป็นบัญญัติ ปญฺญตฺติปถา ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุของธรรมเป็นบัญญัติ
๙. นามรูปทุกะ
นามญฺจ นามธรรม รูปญฺจ รูปธรรม
๑๐. อวิชชาทุกะ
อวิชฺชา จ ความไม่รู้แจ้ง ภวตณฺหา จ ความปรารถนาภพ
๑๑. ภวทิฏฐิทุกะ
ภวทิฏฺฐิ จ ความเห็นว่าเกิด วิภวทิฏฺฐิ จ ความเห็นว่าไม่เกิด
๑๒. สัสสตทิฏฐิทุกะ
สสฺสตทิฏฺฐิ จ ความเห็นว่าเที่ยง อุจฺเฉททิฏฺฐิ จ ความเห็นว่าสูญ
๑๓. อันตวาทิฏฐิทุกะ
อนฺตวาทิฏฺฐิ จ ความเห็นว่ามีที่สุด อนนฺตวาทิฏฺฐิ จ ความเห็นว่าไม่มีที่สุด
๑๔. ปุพพันตานุทิฏฐิทุกะ
ปุพฺพนฺตานุทิฏฺฐิ จ ความเห็นปรารภส่วนอดีต อปรนฺตานุทิฏฺฐิ จ ความเห็นปรารภส่วนอนาคต
๑๕. อหิริกทุกะ
อหิริกญฺจ ความไม่ละอาย อโนตฺตปฺปญฺจ ความไม่เกรงกลัว
๑๖. หิริทุกะ
หิริ จ ความละอาย โอตฺตปฺปญฺจ ความเกรงกลัว
๑๗. โทวจัสสตาทุกะ
โทวจสฺสตา จ ความเป็นผู้ว่ายาก ปาปมิตฺตตา จ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว
๑๘. โสวจัสสตาทุกะ
โสวจสฺสตา จ ความเป็นผู้ว่าง่าย กลฺยาณมิตฺตตา จ ความเป็นผู้มีมิตรดี
๑๙. อาปัตติกุสลตาทุกะ
อาปตฺติกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ อาปตฺติวุฏฺฐานกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ
๒๐. สมาปัตติกุสลตาทุกะ
สมาปตฺติกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ สมาปตฺติวุฏฺฐานกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ
๒๑. ธาตุกุสลตาทุกะ
ธาตุกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ มนสิการกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในการพิจารณา
๒๒. อายตนกุสลตาทุกะ
อายตนกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ ปฏิจฺจสมุปฺปาทกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท
๒๓. ฐานกุสลตาทุกะ
ฐานกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ อฏฺฐานกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในอฐานะ
๒๔. อาชชวทุกะ
อาชฺชโว จ ความซื่อตรง มทฺทโว จ ความอ่อนโยน
๒๕. ขันติทุกะ
ขนฺติ จ ความอดทน โสรจฺจญฺ จ ความสงบเสงี่ยม
๒๖. สาขัลยทุกะ
สาขลฺยญฺจ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน ปฏิสนฺถาโร จ การปฏิสันถาร
๒๗. อินทริยอคุตตทวารตาทุกะ
อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารตา จ ความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖ โภชเน อมตฺตญฺญุตา จ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร
๒๘. อินทริยคุตตทวารตาทุกะ
อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวารตา จ ความเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ ๖ โภชเน มตฺตญฺญุตา จ ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนาหาร
๒๙. มุฏฐสัจจทุกะ
มุฏฺฐสจฺจญฺจ ความเป็นผู้ไม่มีสติ อสมฺปชญฺญญฺจ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ
๓๐. สติทุกะ
สติ จ สติ สมฺปชญฺญญฺจ สัมปชัญญะ
๓๑. ปฏิสังขานพลทุกะ
ปฏิสงฺขานพลญฺจ กำลังคือการพิจารณา ภาวนาพลญฺจ กำลังคือภาวนา
๓๒. สมถฑุกะ
สมโถ จ สมถะ วิปสฺสนา จ วิปัสสนา
๓๓. นิมิตตทุกะ
สมถนิมิตฺตญฺจ นิมิตคือสมถะ ปคฺคาหนิมิตฺตญฺจ นิมิตคือความเพียร
๓๔. ปัคคาหทุกะ
ปคฺคาโห จ ความเพียร อวิกฺเขโป จ ความไม่ฟุ้งซ่าน
๓๕. วิปัตติทุกะ
สีลวิปตฺติ จ ความวิบัติแห่งศีล ทิฏฺฐิวิปตฺติ จ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ
๓๖. สัมปทาทุกะ
สีลสมฺปทา จ ความสมบูรณ์แห่งศีล ทิฏฺฐิสมฺปทา จ ความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ
๓๗. วิสุทธิทุกะ
สีลวิสุทฺธิ จ ความหมดจดแห่งศีล ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ จ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
๓๘. ทิฏฐิวิสุทธิทุกะ
ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ โข ปน ความหมดจดแห่งทิฏฐิ ยถาทิฏฺฐิสฺส จ ปธานํ ความเพียรแห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด
๓๙. สังเวคทุกะ
สํเวโค จ สํเวชนิเยสุ ฐาเนสุ ความสลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ สํวิคฺคสฺส จ โยนิโส ปธานํ ความพยายามโดยแยบคายของบุคคลผู้มีความ สลดใจ
๔๐. อสันตุฏฐตาทุกะ
อสนฺตุฏฺฐตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรม อปฺปฏิวานิตา จ ปธานสฺมึ ความไม่ท้อถอยในความพยายาม
๔๑. วิชชาทุกะ
วิชฺชา จ ความรู้แจ้ง วิมุตฺติ จ ความหลุดพ้น
๔๒. ขยญาณทุกะ
ขเย ญาณํ ญาณในอริยมรรค อนุปฺปาเท ญาณํ ญาณในอริยผล
สุตตันตมาติกา ๔๒ ทุกะ จบ
มาติกา จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๔๖๗-๕๙๗ หน้าที่ ๒๑-๒๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=467&Z=597&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=15              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=15              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [15] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=34&item=15&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [15] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=34&item=15&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds1.3/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :