บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ปัญจกนิเทศ [๙๗๖] ในปัญจกมาติกาเหล่านั้น โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ เป็นไฉน โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ คือ ๑. สักกายทิฏฐิ ๒. วิจิกิจฉา ๓. สีลัพพตปรามาส ๔. กามฉันทะ ๕. พยาบาท เหล่านี้เรียกว่า โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ [๙๗๗] อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ เป็นไฉน อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ คือ ๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ ๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ ๕. อวิชชา เหล่านี้เรียกว่า อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ [๙๗๘] มัจฉริยะ ๕ เป็นไฉน มัจฉริยะ ๕ คือ ๑. อาวาสมัจฉริยะ ความตระหนี่ที่อยู่ ๒. กุลมัจฉริยะ ความตระหนี่ตระกูล ๓. ลาภมัจฉริยะ ความตระหนี่ลาภ ๔. วัณณมัจฉริยะ ความตระหนี่วรรณะ ๕. ธัมมมัจฉริยะ ความตระหนี่ธรรม เหล่านี้เรียกว่า มัจฉริยะ ๕ [๙๗๙] สังคะ ๕ เป็นไฉน สังคะ ๕ คือ ๑. ราคสังคะ เครื่องข้องคือราคะ ๒. โทสสังคะ เครื่องข้องคือโทสะ ๓. โมหสังคะ เครื่องข้องคือโมหะ ๔. มานสังคะ เครื่องข้องคือมานะ ๕. ทิฏฐิสังคะ เครื่องข้องคือทิฏฐิ เหล่านี้เรียกว่า สังคะ ๕ [๙๘๐] สัลละ ๕ เป็นไฉน สัลละ ๕ คือ ๑. ราคสัลละ ลูกศรคือราคะ ๒. โทสสัลละ ลูกศรคือโทสะ ๓. โมหสัลละ ลูกศรคือโมหะ ๔. มานสัลละ ลูกศรคือมานะ ๕. ทิฏฐิสัลละ ลูกศรคือทิฏฐิ เหล่านี้เรียกว่า สัลละ ๕ [๙๘๑] เจโตขีละ ๕ เป็นไฉน เจโตขีละ ๕ คือ ๑. บุคคลย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระพุทธเจ้า ๒. ย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระ ธรรม ๓. ย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ๔. ย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา ๕. เป็นผู้มีจิตขุ่นเคือง ไม่ชอบใจ มีจิตกระทบกระทั่ง กระด้างกระ- *เดื่องในเพื่อนพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า เจโตขีละ ๕ [๙๘๒] เจตโสวินิพันธะ ๕ เป็นไฉน เจตโสวินิพันธะ ๕ คือ ๑. บุคคลเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอ ใจ ยังไม่ปราศจากความรักใคร่ ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจาก ความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกาม ๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรักใคร่ ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่า ร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกาย ๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยัง ไม่ปราศจากความรักใคร่ ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในรูป ๔. บริโภคอาหารเต็มท้องตามความต้องการแล้ว หาความสุขในการ นอน หาความสุขในการพลิกไปมา หาความสุขในการหลับอยู่ ๕. ปรารถนาเป็นเทวดาตนใดตนหนึ่ง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ด้วย ผูกใจว่า เราจักเป็นเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ หรือเทวดาผู้มีศักดิ์น้อยตนใดตนหนึ่ง ด้วยศีลนี้ หรือด้วยตบะนี้ หรือพรหมจรรย์นี้ เหล่านี้เรียกว่า เจตโสวินิพันธะ ๕ [๙๘๓] นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน นิวรณ์ ๕ คือ ๑. กามฉันทนิวรณ์ ธรรมอันห้ามกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น คือ กามฉันทะ ๒. พยาปาทนิวรณ์ ธรรมอันห้ามกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น คือ พยาบาท ๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ธรรมอันห้ามกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น คือ ถีนมิทธะ ๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ธรรมอันห้ามกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น คือ อุทธัจจกุกกุจจะ ๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ ธรรมอันห้ามกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น คือ วิจิกิจฉา เหล่านี้เรียกว่า นิวรณ์ ๕ [๙๘๔] อนันตริยกรรม ๕ เป็นไฉน อนันตริยกรรม ๕ คือ ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา ๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น ๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน เหล่านี้เรียกว่า อนันตริยกรรม ๕ [๙๘๕] ทิฏฐิ ๕ เป็นไฉน ทิฏฐิ ๕ คือ ๑. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตามีสัญญา เบื้องหน้าแต่ตายไม่แปรผัน ๒. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตาไม่มีสัญญา เบื้องหน้าแต่ตายไม่แปรผัน ๓. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตามีสัญญาก็ ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่ตายไม่แปรผัน ๔. ก็หรือว่า สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ซึ่งปรากฏมีอยู่ ๕. ก็หรือว่า สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันทิฏฐธัมมนิพพาน เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ ๕ [๙๘๖] เวร ๕ เป็นไฉน เวร ๕ คือ ๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์ ๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์ ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ๔. มุสาวาท พูดเท็จ ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้ง แห่งความประมาท เหล่านี้เรียกว่า เวร ๕ [๙๘๗] พยสนะ ๕ เป็นไฉน พยสนะ ๕ คือ ๑. ญาติพยสนะ ความพินาศแห่งญาติ ๒. โภคพยสนะ ความพินาศแห่งทรัพย์ ๓. โรคพยสนะ ความพินาศเพราะโรค ๔. สีลพยสนะ ความพินาศแห่งศีล ๕. ทิฏฐิพยสนะ ความพินาศแห่งทิฏฐิ เหล่านี้เรียกว่า พยสนะ ๕ [๙๘๘] โทษแห่งความไม่อดทน ๕ เป็นไฉน โทษแห่งความไม่อดทน ๕ คือ ๑. ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของชนมาก ๒. มีเวรมาก ๓. มีโทษมาก ๔. ตายโดยความหลงลืม ๕. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เหล่านี้เรียกว่า โทษแห่งความไม่อดทน ๕ [๙๘๙] ภัย ๕ เป็นไฉน ภัย ๕ คือ ๑. ภัยเกิดแต่การเลี้ยงชีพ ๒. ภัยเกิดแต่การติเตียน ๓. ภัยคือความขลาดกลัว เมื่อเข้าสู่ที่ประชุม ๔. ภัยเกิดแต่มรณะ ๕. ภัยเกิดแต่อบาย เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๕ [๙๙๐] ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ เป็นไฉน ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ คือ ๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เมื่อใดแล อัตตานี้เพียบพร้อม พรั่งพร้อม บำรุงบำเรอ ด้วยกาม- *คุณ ๕ อยู่ ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่า ได้บรรลุทิฏฐ- *ธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐธัมม- *นิพพานอันยอดเยี่ยมของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้ ๒. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นว่า ท่าน ผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานี้มีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มีก็หา มิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม ด้วย เหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้ ข้อนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ท่านผู้เจริญ เพราะกามทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ความเศร้าโศก ความร่ำไห้ ความทุกข์ ความโทมนัส ความคับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะกามเหล่านั้น แปรปรวนเป็นอย่างอื่น ท่านผู้เจริญ เมื่อใดแล อัตตานี้สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่า ได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์ พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยมของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วย ประการอย่างนี้ ๓. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นว่า ท่าน ผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานี้มีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มีก็หา มิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม ด้วย เหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้ ข้อนั้นมีอะไรเป็นเหตุ วิตก วิจารใด มีอยู่ในปฐมฌาน นั้น ปฐมฌานนี้ย่อมปรากฏเป็นของหยาบเพราะวิตกและวิจารนั้น ท่านผู้เจริญ เมื่อใดแล อัตตานี้บรรลุทุติยฌาน อันเป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจาร สงบ ฯลฯ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่า ได้บรรลุทิฏฐธัมม- *นิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐธัมม- *นิพพานอันยอดเยี่ยม ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้ ๔. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นว่า ท่าน ผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานี้มีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มีก็หา มิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยมด้วย เหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้ ข้อนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ปีติ ความลำพองใจใด มีอยู่ใน ทุติยฌานนั้น ทุติยฌานนี้ย่อมปรากฏเป็นของหยาบเพราะปีติและความลำพองใจนั้น ท่านผู้เจริญ เมื่อใดแล เพราะคลายปีติได้อีกด้วย อัตตานี้บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยมของสัตว์ ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้ ๕. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นว่า ท่าน ผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานี้มีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มีก็ มิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม ด้วย เหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้ ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ สุขและความนึกคิดทางใจใด มีอยู่ ในตติยฌานนั้น ตติยฌานนี้ ย่อมปรากฏเป็นของหยาบเพราะสุขและความนึกคิด ทางใจนั้น เมื่อใดแล อัตตานี้บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ ละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่าได้บรรลุ ทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐ- *ธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยมของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้ เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๒๙๑๑-๑๓๐๙๑ หน้าที่ ๕๕๔-๕๖๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=12911&Z=13091&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=70 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=976 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [976-990] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=976&items=15 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=12819 The Pali Tipitaka in Roman :- [976-990] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=35&item=976&items=15 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=12819 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb17/en/thittila#pts-s940
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]