ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
อัฏฐารสกนิเทศ
[๑๐๓๓] ในมาติกานั้น ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายใน เป็นไฉน ตัณหาว่าเรามี ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราเป็นโดยประการนี้ ดังนี้ ก็มี ตัณหา ว่าเราเป็นอย่างนั้น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราเป็นโดยประการอื่น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่า เราจักเป็น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราจักเป็นโดยประการนี้ ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราจัก เป็นอย่างนั้น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราจักเป็นโดยประการอื่น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่า เราแน่นอน ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราไม่แน่นอน ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นโดยประการนี้ ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นอย่างนั้น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นโดยประการอื่น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นบ้าง ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นโดยประการนี้บ้าง ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง ดังนี้ ก็มี [๑๐๓๔] ก็ตัณหาว่า เรามี คืออย่างไร คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เรามี ได้มานะว่า เรามี ได้ทิฏฐิว่า เรามี เมื่อธรรม ทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราเป็นโดยประการนี้ หรือเรา เป็นอย่างนั้น หรือเราเป็นโดยประการอื่นก็ย่อมมี [๑๐๓๕] ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ คืออย่างไร คือ ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์ หรือเป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ หรือเป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ หรือเป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์ มีรูป หรือไม่มีรูป มีสัญญา หรือไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ [๑๐๓๖] ก็ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น คืออย่างไร คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็ เป็นกษัตริย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็เป็นพราหมณ์เหมือนกัน หรือ เขาเป็นแพศย์ เราก็เป็นแพศย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นศูทร เราก็เป็นศูทรเหมือน กัน หรือเขาเป็นคฤหัสถ์ เราก็เป็นคฤหัสถ์เหมือนกัน หรือเขาเป็นบรรพชิต เราก็เป็นบรรพชิตเหมือนกัน หรือเขาเป็นเทวดา เราก็เป็นเทวดาเหมือนกัน หรือ เขาเป็นมนุษย์ เราก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน หรือเขามีรูป เราก็มีรูปเหมือนกัน หรือเขาไม่มีรูป เราก็ไม่มีรูปเหมือนกัน หรือเขามีสัญญา เราก็มีสัญญาเหมือนกัน หรือเขาไม่มีสัญญา เราก็ไม่มีสัญญาเหมือนกัน หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่ เราก็มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหา ว่า เราเป็นอย่างนั้น [๑๐๓๗] ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น คืออย่างไร คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราไม่ ได้เป็นกษัตริย์เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราไม่ได้เป็นพราหมณ์เหมือนเขา หรือเขาเป็นแพศย์ เราไม่ได้เป็นแพศย์เหมือนเขา หรือเขาเป็นศูทร เราไม่ได้ เป็นศูทรเหมือนเขา หรือเขาเป็นคฤหัสถ์ เราไม่ได้เป็นคฤหัสถ์เหมือนเขา หรือ เขาเป็นบรรพชิต เราไม่ได้เป็นบรรพชิตเหมือนเขา หรือเขาเป็นเทวดา เราไม่ได้ เป็นเทวดาเหมือนเขา หรือเขาเป็นมนุษย์ เราไม่ได้เป็นมนุษย์เหมือนเขา หรือ เขามีรูป เราไม่มีรูปเหมือนเขา หรือเขาไม่มีรูป เรามิใช่ไม่มีรูปเหมือนเขา หรือ เขามีสัญญา เราไม่มีสัญญาเหมือนเขา หรือเขาไม่มีสัญญา เราไม่ใช่ไม่มีสัญญา เหมือนเขา หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่ใช่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น [๑๐๓๘] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็น คืออย่างไร คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราจักเป็น ได้มานะว่า เราจักเป็น ได้ทิฏฐิว่า เรา จักเป็น เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราจักเป็นโดย ประการนี้ หรือเราจักเป็นอย่างนั้น หรือเราจักเป็นโดยประการอื่น ก็ย่อมมี [๑๐๓๙] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ คืออย่างไร คือ ตัณหาว่า เราจักเป็นกษัตริย์ หรือจักเป็นพราหมณ์ จักเป็นแพศย์ หรือจักเป็นศูทร จักเป็นคฤหัสถ์ หรือจักเป็นบรรพชิต จักเป็นเทวดา หรือจัก เป็นมนุษย์ จักมีรูป หรือจักไม่มีรูป จักมีสัญญา หรือจักไม่มีสัญญา หรือจักมี สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ [๑๐๔๐] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น คืออย่างไร คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็ จักเป็นกษัตริย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็จักเป็นพราหมณ์เหมือนกัน ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็จักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มี สัญญาก็ไม่ใช่เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น [๑๐๔๑] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น คืออย่างไร คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราจักไม่ได้เป็นกษัตริย์เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราจักไม่ได้เป็นพราหมณ์ เหมือนเขา ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราจักไม่เป็นผู้มี สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็น โดยประการอื่น [๑๐๔๒] ก็ตัณหาว่า เราแน่นอน คืออย่างไร คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราเที่ยง เรายั่งยืน เราแน่นอน เราไม่มีความ แปรปรวนไปเป็นธรรมดา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราแน่นอน [๑๐๔๓] ก็ตัณหาว่า เราไม่แน่นอน คืออย่างไร คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ เราจักพินาศ เราจักไม่มี อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราไม่แน่นอน [๑๐๔๔] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็น คืออย่างไร คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราพึงเป็น ได้มานะว่า เราพึงเป็น ได้ทิฏฐิว่า เรา พึงเป็น เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราพึงเป็นโดย ประการนี้ หรือเราพึงเป็นอย่างนั้น หรือเราพึงเป็นโดยประการอื่น ก็ย่อมมี [๑๐๔๕] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ คืออย่างไร คือ ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ หรือพึงเป็นพราหมณ์ พึงเป็นแพศย์หรือ พึงเป็นศูทร พึงเป็นคฤหัสถ์ หรือพึงเป็นบรรพชิต พึงเป็นเทวดา หรือพึงเป็นมนุษย์ พึงมีรูป หรือพึงไม่มีรูป พึงมีสัญญา หรือพึงไม่มีสัญญา หรือพึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มี สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ [๑๐๔๖] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น คืออย่างไร คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็ พึงเป็นกษัตริย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์เหมือนกัน ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มี สัญญาก็ไม่ใช่เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น [๑๐๔๗] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น คืออย่างไร คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เรา ไม่พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราไม่พึงเป็นพราหมณ์เหมือน เขา ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น [๑๐๔๘] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นบ้าง คืออย่างไร คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราก็พึงเป็นบ้าง ได้มานะว่า เราก็พึงเป็นบ้าง ได้ ทิฏฐิว่า เราก็พึงเป็นบ้าง เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ ว่า เราก็พึงเป็นโดยประการนี้บ้าง หรือพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง หรือพึงเป็นโดยประ การอื่นบ้าง ก็ย่อมมี [๑๐๔๙] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้บ้าง คืออย่างไร คือ ตัณหาว่า เราก็พึงเป็นกษัตริย์บ้าง หรือพึงเป็นพราหมณ์บ้าง พึงเป็น แพศย์บ้าง หรือพึงเป็นศูทรบ้าง พึงเป็นคฤหัสถ์บ้าง หรือพึงเป็นบรรพชิตบ้าง พึงเป็นเทวดาบ้าง หรือพึงเป็นมนุษย์บ้าง พึงมีรูปบ้าง หรือพึงไม่มีรูปบ้าง พึงมี สัญญาบ้าง หรือพึงไม่มีสัญญาบ้าง หรือพึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่บ้าง อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้บ้าง [๑๐๕๐] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง คืออย่างไร คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็ พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขาบ้าง หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์เหมือน เขาบ้าง ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขาบ้าง อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่าง นั้นบ้าง [๑๐๕๑] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง คืออย่างไร คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็ พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขาบ้างก็หาไม่ หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์ เหมือนเขาบ้างก็หาไม่ ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมี สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขาบ้างก็หาไม่ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เรา พึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง เหล่านี้ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายใน [๑๐๕๒] ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก เป็นไฉน ตัณหาว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราเป็นโดยประ การนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหา ว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราแน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราไม่แน่นอนด้วย รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราพึง เป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ นี้บ้าง ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ตัณหา ว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดย ประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง [๑๐๕๓] ก็ตัณหาว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คือ อย่างไร คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่า เรา มีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เรามีโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือ เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ก็ย่อมมี [๑๐๕๔] ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ คืออย่างไร คือ ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเป็น พราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นคฤหัสถ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ หรือเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นเทวดาด้วย รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเป็นมนุษย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือไม่มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ [๑๐๕๕] ก็ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ คืออย่างไร คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็ เป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็ เป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ เขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ [๑๐๕๖] ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ คืออย่างไร คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็ เป็นกษัตริย์เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเขาเป็นพราหมณ์ เรา ไม่เป็นพราหมณ์เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ฯลฯ หรือเขามีสัญญา ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เรามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็หามิได้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการ อื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ [๑๐๕๗] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้มานะ ว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราจัก เป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ นี้ ก็ย่อมมี [๑๐๕๘] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร คือ ตัณหาว่า เราจักเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจัก เป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ หรือจักเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นคฤหัสถ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็น เทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักเป็นมนุษย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ หรือจักมีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักมีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักไม่มีสัญญาด้วย รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ [๑๐๕๙] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ คืออย่างไร คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เรา ก็จักเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็จักเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ หรือเขามี สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็จักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วย รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นด้วย รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ [๑๐๖๐] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร คือตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เรา จักไม่เป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราจักไม่เป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา ฯลฯ หรือเขามี สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราจักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาก็หามิได้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นโดย ประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ [๑๐๖๑] ก็ตัณหาว่า เราแน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราเที่ยง เรายั่งยืน เราแน่นอน เราไม่มีความแปร ปรวนเป็นธรรมดา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เรา แน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ [๑๐๖๒] ก็ตัณหาว่า เราไม่แน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ คืออย่างไร คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ เราจักพินาศ เราจักไม่มี ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราไม่แน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ [๑๐๖๓] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้มานะ ว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราพึงเป็น โดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ก็ ย่อมมี [๑๐๖๔] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ คืออย่างไร คือ ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึง เป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ หรือพึงเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นคฤหัสถ์ด้วย รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึง เป็นเทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นมนุษย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ พึงเป็นผู้มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นผู้ไม่มีรูปด้วย รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นผู้มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือ พึงเป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึง เป็นโดยประการนี้ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ [๑๐๖๕] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้ คืออย่างไร คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็ พึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เรา ก็พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ หรือเขามีสัญญา ก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ [๑๐๖๖] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่าเขาเป็นกษัตริย์ เราไม่ พึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เรา ไม่พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา ฯลฯ หรือเขามี สัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วย รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประ การอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ [๑๐๖๗] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ บ้าง คืออย่างไร คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ได้ มานะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ได้ทิฏฐิว่า เราพึงเป็นด้วย รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าว่า เรา พึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วย รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือเราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้บ้าง ก็ย่อมมี [๑๐๖๘] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง คืออย่างไร คือ ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือ พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงเป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงเป็น คฤหัสถ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงเป็นเทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึง เป็นมนุษย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงมีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้บ้าง หรือพึงไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงมีสัญญาด้วย รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงไม่มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ บ้าง หรือพึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ [๑๐๖๙] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือ วิญญาณนี้บ้าง คืออย่างไร คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็ พึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างเหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างเหมือนกัน ฯลฯ หรือเขา มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ด้วย รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างเหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่าง นั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง [๑๐๗๐] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง คืออย่างไร คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราไม่ พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราไม่พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ฯลฯ หรือเขา มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เหมือนเขาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง อย่างนี้ชื่อว่าตัณหาว่า เราพึงเป็นโดย ประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เหล่านี้ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก [๑๐๗๑] ตัณหาวิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภายใน ๑๘ เหล่านี้ ตัณหาวิจริต อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก ๑๘ เหล่านี้ ประมวลเข้ากันเป็นตัณหาวิจริต ๓๖ ตัณหาวิจริตดังกล่าวนี้เป็นอดีตกาล ๓๖ เป็นอนาคตกาล ๓๖ เป็นปัจจุบัน กาล ๓๖ ประมวลเข้ากันเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๓๖๐๐-๑๓๘๙๖ หน้าที่ ๕๘๓-๕๙๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=13600&Z=13896&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=76              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1033              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1033-1071] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=1033&items=39              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=13105              The Pali Tipitaka in Roman :- [1033-1071] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=35&item=1033&items=39              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=13105              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb17/en/thittila#ba504

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :