ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๓๑๗.

เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๖๒] โพชฌงค์ ๗ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่ากุศล ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา- *ภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมมีในสมัยนั้น ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์ แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๘.

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเล็งยิ่ง ความเป็นกลางแห่งจิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า โพชฌงค์ ๗ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยโพชฌงค์ ๗
ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๖๓] โพชฌงค์ ๗ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและ สุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้วได้เจริญไว้แล้ว นั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๙.

สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียก ว่า สติสัมโพชฌงค์ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วย สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยธัมมวิจย- *สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตตด้วยวิริย- *สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยปีติ- *สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยปัสสัทธิ- *สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสมาธิ- *สัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและ สุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้วได้เจริญไว้แล้วนั้นแล เป็น ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ความวางเฉย กิริยาที่ วางเฉย ความเพ่งเล็งยิ่ง ความเป็นกลางแห่งจิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในสมัย นั้น อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๗๓๔๗-๗๔๑๔ หน้าที่ ๓๑๗-๓๑๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=7347&Z=7414&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=39              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=562              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [562-563] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=562&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- [562-563] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=35&item=562&items=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb10/en/thittila#pts-p-pi231

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :