ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
ติกมาติกา
[๙] บุคคล ๓ จำพวก บุคคลผู้ไม่มีความหวัง บุคคลผู้มีความหวัง บุคคลผู้มีความหวังปราศไปแล้ว บุคคลเปรียบด้วยคนไข้ ๓ จำพวก บุคคลผู้ชื่อว่า กายสักขี บุคคลผู้ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้ชื่อว่า สัทธาวิมุต บุคคลผู้มีวาจาเหมือนคูถ บุคคลผู้มีวาจาเหมือนดอกไม้ บุคคลผู้มีวาจาเหมือนน้ำผึ้ง บุคคลผู้มีจิตเหมือนแผลเรื้อรัง บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าผ่า บุคคลผู้บอด บุคคลผู้มีตาข้างเดียว บุคคลผู้มีตาสองข้าง บุคคลผู้มีปัญญาดังหม้อคว่ำ บุคคลผู้มีปัญญาดังหน้าตัก บุคคลผู้มีปัญญามาก บุคคลบางจำพวกยังไม่สิ้นทั้งกามราคะและภวราคะ บุคคลบางจำพวกสิ้นกามราคะแล้วแต่ภวราคะยังมีอยู่ บุคคลบางจำพวกสิ้นหมดแล้วทั้งกามราคะและภวราคะ บุคคลเสมือนรอยขีดในหิน บุคคลเสมือนรอยขีดในแผ่นดิน บุคคลเสมือนรอยขีดในน้ำ บุคคลเปรียบด้วยผ้าป่าน ๓ จำพวก บุคคลเปรียบด้วยผ้าแคว้นกาสี ๓ จำพวก บุคคลที่ประมาณได้ง่าย บุคคลที่ประมาณได้ยาก บุคคลที่ประมาณไม่ได้ บุคคลบางคนไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ บุคคลบางคนควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ บุคคลบางคนควรสักการะเคารพแล้ว จึงสมาคมจึงคบ จึงเข้าใกล้ บุคคลบางคนควรเกลียด ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ บุคคลบางคนควรเฉยๆ เสีย ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควร เข้าใกล้ บุคคลบางคนควรสมาคม ควรคบ ควรเข้าใกล้ บุคคลบางคนมีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล มีปกติทำพอประมาณใน สมาธิ มีปกติทำพอประมาณในปัญญา บุคคลบางคนมีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีลด้วย มีปกติทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิด้วย มีปกติทำพอประมาณในปัญญา บุคคลบางคนมีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีลด้วย มีปกติทำให้บริบูรณ์ ในสมาธิด้วย มีปกติทำให้บริบูรณ์ในปัญญาด้วย ศาสดา ๓ ประเภท ศาสดา ๓ ประเภท แม้อื่นอีก
ติกมาติกา จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖ บรรทัดที่ ๒๔๖๘-๒๕๑๕ หน้าที่ ๑๐๑-๑๐๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=36&A=2468&Z=2515&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=36&siri=19              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36&i=524              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [524] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=36&item=524&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3501              The Pali Tipitaka in Roman :- [524] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=36&item=524&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3501              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_36              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pp1.3/en/law

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :