ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
ปริโภคมยปุญญกถา
[๑๑๔๕] สกวาที บุญสำเร็จแต่การบริโภค เจริญได้ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. ผัสสะสำเร็จแต่การบริโภค เจริญได้หรือ เวทนา สัญญาเจตนา จิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา สำเร็จแต่การบริโภค เจริญได้หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๔๖] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภค เจริญได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เจริญได้ดุจเครือเถา ดุจเครือเถาย่างทราย ดุจต้นไม้ ดุจหญ้า ดุจแพ แห่งหญ้าปล้อง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๔๗] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภค เจริญได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ทายกให้ทานแล้วไม่สนใจก็เป็นบุญได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นได้แก่ผู้ไม่นึก เป็นได้แก่ผู้ไม่กังวล เป็นได้แก่ผู้ไม่สนใจ เป็นได้ แก่ผู้ไม่กระทำไว้ในใจ เป็นได้แก่ผู้ไม่จงใจ เป็นได้แก่ผู้ไม่ปรารถนา เป็น ได้แก่ผู้ไม่ตั้งใจ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุญเป็นได้แก่ผู้นึกถึง เป็นได้แก่ผู้กังวล เป็นได้แก่ผู้สนใจ เป็นได้แก่ ผู้ทำไว้ในใจ เป็นได้แก่ผู้จงใจ เป็นได้แก่ผู้ปรารถนา เป็นได้แก่ผู้ตั้งใจ มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า บุญเป็นได้แก่ผู้นึกถึง เป็นได้แก่ผู้กังวล เป็นได้แก่ผู้สนใจ เป็นได้แก่ผู้ทำไว้ในใจ เป็นได้แก่ผู้จงใจ เป็นได้แก่ผู้ปรารถนา เป็น ได้แก่ผู้ตั้งใจ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภค เจริญได้ [๑๑๔๘] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภค เจริญได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ทายกถวายทาน ตรึกกามวิตกอยู่ ตรึกพยาบาทวิตกอยู่ ตรึกวิหิงสา- วิตกอยู่ ก็เป็นบุญได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่ เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว มารวมกันได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่ เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว มารวมกันได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ ประการนี้ไกลกัน ไกลกันนัก ๔ ประการเป็นไฉน ฟ้าและแผ่นดินนี้ประการแรก ซึ่ง ไกลกัน ไกลกันนัก ฝั่งข้างนี้และฝั่งข้างโน้นแห่งสมุทร นี้ประการ ที่ ๒ ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก แดนอาทิตย์อุทัย และด้าวอัสดงคต นี้ประการที่ ๓ ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก ธรรมของสัตบุรุษและ ธรรมของอสัตบุรุษ นี้ประการที่ ๔ ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ๔ ประการนี้แล ไกลกัน ไกลกันนัก ท้องฟ้ากับแผ่นดิน ไกลกัน ฝั่งสมุทรเขาก็ว่าไกลกัน แดนอาทิตย์อุทัย และด้าวอัสดงคต ก็ไกลกัน ธรรมของสัตบุรุษ กับธรรมของอสัต- บุรุษ กล่าวได้ว่า ไกลกันกว่านั้นอีก สมาคมของพวกสัตบุรุษ ยั่งยืน คงที่ อยู่ได้แม้ตลอดกาล ที่ดำรงชีพ อยู่ แต่สมาคมของพวกอสัตบุรุษ ย่อมเสื่อมไปเร็วแท้ เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษ จึงไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิ ใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลที่มีโทษและไม่ มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว มารวมกันได้ [๑๑๔๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภค เจริญได้ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ชนเหล่าใด ปลูกสร้างสวน ปลูกสร้างป่า สร้างสะพาน ขุดบ่อน้ำ สระน้ำ สร้างที่พักอาศัยให้เป็นทาน บุญ ย่อมเจริญมากแก่ชนเหล่านั้นทุกเมื่อ ทั้งกลางวันกลางคืน ชนเหล่า @๑. อํ. จตุกฺก. ข้อ ๔๗ หน้า ๖๕ นั้นตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมจะไปสู่สวรรค์ ดังนี้ ๑- เป็น สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น บุญก็สำเร็จแต่การบริโภค เจริญได้น่ะสิ [๑๑๕๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภค เจริญได้หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงน้ำคือบุญ ห้วง น้ำคือกุศล ๔ ประการนี้ นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์งาม มีสุขเป็น วิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์ เป็นไปพร้อมเพื่อผลอันน่าปรา- รถนา เพื่อผลอันน่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อ ความสุข ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อบริโภค จีวรของบุคคลใด เข้าเจโตสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ห้วงน้ำคือบุญ ห้วงน้ำคือกุศล ของบุคคลนั้น ก็หาประมาณมิได้ นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์งาม มีสุขเป็นวิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์ เป็นไป พร้อมเพื่อผลอันน่าปรารถนา เพื่อผลอันน่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ภิกษุ เมื่อบริโภคบิณฑบาต ฯลฯ เมื่อบริโภคเสนาสนะ ฯลฯ เมื่อบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของ บุคคลใด เข้าเจโตสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ห้วงน้ำคือบุญ ห้วงน้ำ คือกุศล ของบุคคลนั้น ก็หาประมาณมิได้ นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์ งาม มีสุขเป็นวิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์ ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อผลอันน่าปรารถนา น่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงน้ำคือบุญ ห้วงน้ำคือกุศล ๔ ประการนี้แล นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์งาม มีสุขเป็นวิบาก ยังสัตว์ @๑. สํ. สคาถ. ข้อ ๑๔๖ หน้า ๔๖ ให้เป็นไปในสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อผลอันน่าปรารถนา เพื่อผลอัน น่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ดังนี้ ๑- เป็น สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น บุญก็สำเร็จแต่การบริโภค เจริญได้น่ะสิ [๑๑๕๑] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภค เจริญได้หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ทายกให้ทาน ปฏิคาหกรับแล้วไม่บริโภค แต่ทิ้งเสีย สละเสีย เป็นบุญ ได้หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า ทายกให้ทาน ปฏิคาหกรับแล้วไม่บริโภค แต่ทิ้งเสีย สละเสีย เป็นบุญได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภค เจริญได้ [๑๑๕๒] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ทายกให้ทาน ครั้นเมื่อปฏิคาหกรับแล้ว พระราชาริบไปเสีย หรือโจรลัก ไปเสีย หรือไฟไหม้เสีย หรือน้ำพัดไปเสีย หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รักนำ ไปเสีย เป็นบุญได้หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า ทายกให้ทาน ครั้นเมื่อปฏิคาหกรับแล้ว พระราชาริบไปเสีย หรือโจรลักไปเสีย หรือไฟไหม้เสีย หรือน้ำพัดไปเสีย หรือทายาทผู้ไม่ เป็นที่รักนำไปเสีย ก็เป็นบุญได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การ บริโภค ย่อมเจริญได้
ปริโภคมยปุญญกถา จบ
-----------------------------------------------------
@๑. อํ. จตุกฺก. ข้อ ๕๑ หน้า ๗๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๑๒๓๔-๑๑๓๔๖ หน้าที่ ๔๖๗-๔๗๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=11234&Z=11346&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=87              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1145              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1145-1152] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=37&item=1145&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5049              The Pali Tipitaka in Roman :- [1145-1152] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=37&item=1145&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5049              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv7.5/en/aung-rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :