บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
[๒๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน ซึ่งเคยเห็นร่วมคบหากันมา จำพรรษา อยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในโกศลชนบท. เมื่อพวกเธอพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ย่อมบรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงพวกเธอได้มีความปริวิตกว่า เมื่อพวกเรา พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว. ถ้าพวกเราจักปวารณากันเสียในบัดนี้ บางทีพวกภิกษุปวารณากันแล้วจะพึงหลีกไปสู่จาริกก็จะ มีบ้าง เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราก็จักเหินห่างจากผาสุวิหารธรรมนี้ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.พระพุทธานุญาตให้เลื่อนปวารณา พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:- ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน ซึ่งเคยเห็นร่วมคบหากันมา จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง. เมื่อพวกเธอพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ย่อมบรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง. หากภิกษุทั้งหลายในสังฆสันนิบาตนั้นคิดกันอย่างนี้ว่า พวกเราพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้ว ถ้าพวกเราจักปวารณากันเสียในบัดนี้ บางทีพวกภิกษุปวารณากันแล้วจะพึงหลีกไปสู่จาริก ก็จะมีบ้าง เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราก็จักเหินห่างจากผาสุวิหารธรรมนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ภิกษุเหล่านั้นทำการเลื่อนปวารณาออกไป.วิธีเลื่อนปวารณา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงทำการเลื่อนปวารณาอย่างนี้. ภิกษุทุกๆ รูปต้องประชุมพร้อมกัน. ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-กรรมวาจาเลื่อนปวารณา ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว. หากพวกเราจักปวารณา เสียในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้งหลายปวารณากันแล้ว พึงหลีกไปสู่จาริกก็จะมีบ้าง เมื่อเป็น เช่นนั้น พวกเราก็จักเหินห่างจากผาสุวิหารธรรมนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำการเลื่อนปวารณาออกไป บัดนี้พึงทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ พึงปวารณา ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นที่ครบ ๔ เดือนที่จะมาถึง. นี่เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว. หากพวกเราจักปวารณาเสีย ในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้งหลายปวารณากันแล้ว พึงหลีกไปสู่จาริกก็จะมีบ้าง เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราก็จักเหินห่างจากผาสุวิหารธรรมนี้. สงฆ์ทำการเลื่อนปวารณาออกไป บัดนี้สงฆ์ จักทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นที่ครบ ๔ เดือนที่จะ มาถึง การกระทำซึ่งการเลื่อนปวารณาออกไป เดี๋ยวนี้สงฆ์จักทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นที่ครบ ๔ เดือนที่จะมาถึง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. การเลื่อนปวารณาอันสงฆ์ทำแล้ว บัดนี้สงฆ์จักทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ จัก ปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นที่ครบ ๔ เดือนที่จะมาถึง ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.ไม่เป็นใหญ่ในปวารณา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำการเลื่อนปวารณาออกไปแล้ว หากจะมีภิกษุ สักรูปหนึ่งพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมปรารถนาจะหลีกไปสู่จาริกตามชนบท เพราะผม มีกิจจำเป็นที่ชนบท. ภิกษุรูปนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดีแล้ว อาวุโส ท่านปวารณา แล้วจึงค่อยไป. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุรูปนั้นอันสงฆ์ปวารณาอยู่ งดปวารณาของภิกษุรูปหนึ่ง เสีย ภิกษุผู้งดปวารณา อันภิกษุผู้ถูกห้ามปวารณาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ท่านไม่เป็นใหญ่ ในการปวารณาของผมๆ จักยังไม่ปวารณาก่อน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุนั้นปวารณาอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งห้ามปวารณาของภิกษุรูปนั้น สงฆ์พึงสอบสวนสืบสวนทั้ง ๒ ฝ่าย แล้วปรับอาบัติ ตามธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุรูปนั้นทำกรณียกิจนั้นในชนบทเสร็จแล้วกลับมาสู่อาวาสนั้น ภายในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นที่ครบ ๔ เดือน หากเมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ภิกษุอีกรูปหนึ่ง งดปวารณาของภิกษุรูปนั้น ภิกษุผู้งดปวารณา อันภิกษุผู้ถูกงดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ท่าน ไม่เป็นใหญ่ในปวารณาของผม เพราะผมปวารณาเสร็จแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเมื่อภิกษุ เหล่านั้นปวารณาอยู่ ภิกษุนั้นงดปวารณาของภิกษุอีกรูปหนึ่ง. ทั้ง ๒ ฝ่ายสงฆ์พึงสอบสวน สืบสวนเป็นการสงฆ์ ปรับอาบัติตามธรรมแล้วจึงปวารณาเถิด.ปวารณาขันธกะที่ ๔ จบ. เรื่องในขันธกะนี้มี ๔๖ เรื่อง ----------------------------------------------------- หัวข้อประจำขันธกะ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๗๓๗๒-๗๔๒๘ หน้าที่ ๓๐๑-๓๐๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=7372&Z=7428&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=78 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=251 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [251-252] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=4&item=251&items=2 The Pali Tipitaka in Roman :- [251-252] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=4&item=251&items=2 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_4 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i224-e.php#topic18 https://suttacentral.net/pli-tv-kd4/en/brahmali#pli-tv-kd4:18.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd4/en/horner-brahmali#Kd.4.17.10
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]