ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๙ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓
             [๗๒๙] ธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรม และปรามัฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่เป็นทั้งปรามาสธรรมและปรามัฏฐธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
             มี ๓ นัย พึงกระทำว่าปรารภ เหมือนกับปรามาสทุกะ
             ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
             คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ บุคคลกระทำอุโบสถกรรม แล้วพิจารณากุศลกรรม
นั้น พิจารณาแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น
ราคะ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส เกิดขึ้น
             กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
             จากฌาน ฯลฯ
             พระอริยะทั้งหลายพิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน กิเลสที่ละแล้ว ฯลฯ
กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ
             จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่
ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น
             บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักขุ ตลอดถึงอาวัชชนะ พึงกระทำทั้งหมด
             ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่เป็นทั้งปรามาสธรรม และปรามัฏฐธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
             คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ
             กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
             จากฌาน ฯลฯ
             จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น
ทิฏฐิ ฯลฯ
             ธรรมที่เป็นปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่เป็นทั้งปรามาสธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรมและปรามัฏฐธรรม และธรรม
ที่เป็นปรามัฏฐธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
             คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ
             กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
             จากฌาน ฯลฯ
             จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
ปรามัฏฐธรรม แต่ไม่ใช่ปรามาสธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี
ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ปรามาสธรรม และสัมปยุตต-
*ขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น
             ทั้ง ๓ นัยแม้นอกนี้ พึงกระทำว่าเพราะปรารภ
             ทุกะนี้ เหมือนกับปรามาสทุกะ โลกุตตระไม่ได้ในที่ใด ก็ไม่พึงกระทำ
ในที่นั้น
ปรามาสปรามัฏฐทุกะ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๒ บรรทัดที่ ๑๓๒๘๓-๑๓๓๑๙ หน้าที่ ๕๔๒-๕๔๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=42&A=13283&Z=13319&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=42&siri=101              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=728              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [729] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=42&item=729&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [729] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=42&item=729&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_42

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :