ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑๐ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
ปัญหาวาร
[๕๙๔] ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย มี ๓ นัย. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยเหตุปัจจัย ฯลฯ. [๕๙๕] ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เพราะ ปรารภธรรมนั้น ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสที่เป็นภาวนาย- *ปหาตัพพธรรม ฯลฯ เพราะปรารภอุทธัจจะ อุทธัจจะ เกิดขึ้น โทมนัสที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น เพราะปรารภโทมนัสที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม โทมนัสที่เป็นภาวนายปหาตัพพ- *ธรรม ฯลฯ อุทธัจจะ เกิดขึ้น. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ กิเลส ที่ข่มแล้ว ฯลฯ กิเลสที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ โทมนัสที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น รู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสา- *นุสสติญาณ ฯลฯ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ บุคคลกระทำอุโบสถกรรม แล้วพิจารณากุศลกรรมนั้น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ โทมนัสที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น กุศลธรรมที่ได้สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ จากฌาน ฯลฯ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ผล แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณ- *ปัจจัย พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ราคะ ที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ โทมนัสที่ไม่ใช่ภาวนาย ปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น ด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ ฌาน ฯลฯ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เพราะปรารภทานเป็นต้นนั้น ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสที่เป็นภาวนาย- *ปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น. [๕๙๖] ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลที่กระทำราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรมให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยอธิปติ- *ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลกระทำราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรมให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลายโดย อธิปติปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ. ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรมแล้ว กระทำกุศลธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น. ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- *ขันธ์ทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอธิปติปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยอธิปติ- *ปัจจัย. มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ ทาน ฯลฯ ฌาน จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำทานเป็นต้นนั้นให้หนักแน่น ราคะที่เป็นภาวนาย- *ปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น. [๕๙๗] ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยอนันตร- *ปัจจัย มี ๔ นัย. ภาวนาทุกะ เหมือนกับทัสสนทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย มี ๕ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยนิสสยปัจจัย มี ๗ นัย. [๕๙๘] ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ โทสะ โมหะ มานะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม แก่โทสะ แก่โมหะ แก่มานะ แก่ความปรารถนา โดยอุปนิสสยปัจจัย. ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าอาศัยราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม แล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ บุคคลเข้าไปอาศัยโทสะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ความปรารถนา แล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ ปัญญา แก่ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม แก่โทสะ แก่โมหะ แก่ทิฏฐิ แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติ ให้เกิด ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัย ศีล ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ราคะที่ไม่ใช่ ภาวนายปหาตัพพธรรม แก่โทสะ แก่โมหะ แก่ทิฏฐิ แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้วก่อมานะ บุคคลเข้า ไปอาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ แล้วก่อมานะ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม แก่โทสะ แก่โมหะ แก่มานะ แก่ความปรารถนา โดยอุปนิสสยปัจจัย. [๕๙๙] ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนาย- *ปหาตัพพธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาจักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ราคะที่ไม่ใช่ ภาวนายปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น วิจิกิจฉา เกิดขึ้น โทมนัสที่ไม่ใช่ภาวนาย- *ปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น ด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ. ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัย แก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยปุเรชาต- *ปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยปุเรชาต- *ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต. ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่ง หทัยวัตถุ เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ราคะที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น อุทธัจจะ เกิดขึ้น โทมนัสที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เกิดขึ้น. ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นภาวนาย- *ปหาตัพพธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอาเสวนปัจจัย มี ๒ นัย. [๖๐๐] ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยกัมมปัจจัย คือ เจตนาที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย.
พึงกระทำมูล
เจตนาที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมม- *ปัจจัย.
พึงกระทำมูล
เจตนาที่เป็นภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายและจิตตสมุฏ- *ฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก. ที่เป็นสหชาต ได้แก่ เจตนาที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- *ขันธ์ทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่ไม่ใช่ภาวนายปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยวิปากปัจจัย มี ๑ นัย ฯลฯ. ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอวิคตปัจจัย. ภาวนาทุกะ เหมือนกับ ทัสสนทุกะ ทุกปัจจัย ไม่มีแตกต่างกัน. [๖๐๑] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๔ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๔ ในอธิปติปัจจัย มี " ๕ ในอนันตรปัจจัย มี " ๔ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๔ ในสหชาตปัจจัย มี " ๕ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๒ ในนิสสยปัจจัย มี " ๗ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๔ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๒ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๒ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๒ ในกัมมปัจจัย มี " ๔ ในวิปากปัจจัย มี " ๑ ในอาหารปัจจัย มี " ๔ ในอินทริยปัจจัย มี " ๔ ในฌานปัจจัย มี " ๔ ในมัคคปัจจัย มี " ๔ ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๒ ในวิปปยุตตปัจจัย มี " ๓ ในอัตถิปัจจัย มี " ๗ ในนัตถิปัจจัย มี " ๔ ในวิคตปัจจัย มี " ๔ ในอวิคตปัจจัย มี " ๗. การจำแนกรายละเอียดในปัจจนียะ พึงจำแนกเหมือนกับทัสสนทุกะ แม้การนับ ๓ อย่าง ก็พึงนับอย่างนี้.
ภาวนาทุกะ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ บรรทัดที่ ๙๖๒๔-๙๘๐๗ หน้าที่ ๓๗๗-๓๘๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=43&A=9624&Z=9807&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=43&siri=79              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [594-601] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=43&item=594&items=8              The Pali Tipitaka in Roman :- [594-601] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=43&item=594&items=8              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_43

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :