ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ จุลวรรค ภาค ๑
อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ อย่าง
[๖๘๒] อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะ ๔ คือ สัมมุขาวินัย ๑ สติวินัย ๑ อมูฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ฯ [๖๘๓] บางทีอนุวาทาธิกรณ์ ไม่อาศัยสมถะ ๒ อย่าง คือ อมูฬห- *วินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ สติ วินัย ๑ บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ ทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ ภิกษุนั้น ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติอยู่แล้ว ก็แล สงฆ์พึงให้สติวินัยอย่างนี้
วิธีให้สติวินัย
ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอว่าดังนี้:-
คำขอสติวินัย
ท่านเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทข้าพเจ้าด้วยศีลวิบัติ อันไม่มีมูล ท่าน เจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ฯ [๖๘๔] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ จตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้สติวินัย
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุ มีชื่อนี้ ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล เธอถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอ สติวินัยกะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สติวินัย แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุ มีชื่อนี้ ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล เธอถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอ สติวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่ง สติแล้ว การให้สติวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้ นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ... สติวินัยอันสงฆ์ ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่ง สติแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วย อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วย สัมมุขาวินัยกับสติวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ... ก็ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือ โจทก์และจำเลย ทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้น ในสติวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความ เข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือสติวินัยอันใด นี้มีในสติ วินัยนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน ฯ [๖๘๕] บางทีอนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ ๒ อย่าง คือ สติวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ พึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ อมูฬห- *วินัย ๑ บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม ทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทเธอด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิด กิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้ อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้หายหลงแล้ว ก็ แล สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียง บ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้:-
คำขออมูฬหวินัย
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอัน ไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุ ทั้งหลายโจทข้าพเจ้า ด้วยอาบัติที่ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติ ละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ข้าพเจ้ากล่าวกะ ภิกษุพวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติ ละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย กาย ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อัน ข้าพเจ้ากล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทข้าพเจ้าอยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกะ สงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ฯ [๖๘๖] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ- *จตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้อมูฬหวินัย
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทเธอ ด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดต้องแล้ว ว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอัน ไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย กาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย ผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้อง อาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัย กะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้ว นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ วิกลจริตมีจิต แปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมากทั้งที่ กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทเธอด้วย อาบัติที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวนประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้อง อาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผม วิกลจริตมีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอัน มาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้ว การให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้ว ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ... อมูฬหวินัยอันสงฆ์ให้แล้ว แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้วชอบ แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขา- *วินัยกับอมูฬหวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อม หน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ... ในอมูฬหวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไป เฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คืออมูฬหวินัยอันใด นี้มีในอมูฬหวินัยนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น เป็นจิตตีย์ที่รื้อ- *ฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน ฯ [๖๘๗] บางที อนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ ๒ อย่าง คือ สติวินัย ๑ อมูฬห- *วินัย ๑ พึงระงับด้วยอสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ บางทีพึงตก ลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยครุกาบัติในท่ามกลาง สงฆ์ว่า ท่านต้องครุกาบัติ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิกแล้ว จงระลึก อาบัติเห็นปานนี้ ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมระลึกไม่ได้เลยว่า ต้องครุกาบัติเห็น ปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติใกล้ปาราชิก ภิกษุผู้โจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นนั่นผู้เปลื้องตนอยู่ว่า เอาเถิด ท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่าต้องครุกาบัติเห็นปานนี้คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติ ที่ใกล้ปาราชิก ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมระลึกไม่ได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คืออาบัติปาราชิก หรืออาบัติใกล้ปาราชิก แต่ระลึกได้ว่า ต้องอาบัติแม้เล็กน้อยเห็น ปานนี้ ภิกษุผู้โจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นนั่นผู้เปลื้องตนอยู่ว่า เอาเถิด ท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คืออาบัติปาราชิก หรือ อาบัติที่ใกล้ปาราชิก ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมต้องอาบัติเล็กน้อยชื่อนี้ ผมไม่ถูกถาม ก็ปฏิญาณ ผมต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิกหรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ผมถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญาณหรือ ภิกษุผู้โจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ก็ท่านต้องอาบัติแม้เล็กน้อยชื่อนี้ ท่าน ไม่ถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญาณ ก็ท่านต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรือ อาบัติที่ใกล้ปาราชิก ท่านไม่ถูกถามแล้วจักปฏิญาณหรือ เอาเถิด ท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่าต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก คำนั้นผมพูดเล่น คำนั้นผมพูดพล่อยไป ผมระลึกไม่ได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมนั่นแก่ภิกษุนั้นแล ฯ
วิธีทำตัสสปาปิยสิกากรรม
[๖๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาทำตัสสปาปิยสิกา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกซักถามถึง ครุกาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้ การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกซักถาม ถึงครุกาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วปฏิเสธ ให้การกลับไปกลับมา กล่าวเท็จทั้งที่รู้ สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ ภิกษุมีชื่อนี้ การทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ... ตัสสปาปิยสิกากรรม อันสงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขา- *วินัยกับตัสสปาปิยสิกา ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความ พร้อมหน้าธรรม ความพร้อมวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ... ในตัสสปาปิยสิกานั้นมีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความ เข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ ตัสสปาปิยสิกาอันใด นี้มีใน ตัสสปาปิยสิกานี้มีในตัสสปาปิยกานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้นเป็นปาจิตตีย์ที่ รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน ฯ
อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง
[๖๘๙] อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วย สมถะ ๓ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญาณตกรณะ ๑ ติณวัตถารกะ ๑ ฯ [๖๙๐] บางที อาปัตตาธิกรณ์ ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือติณวัตถารกะ พึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญาณตกรณะ ๑ บางทีพึงตกลง กันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องลหุกาบัติแล้วเธอพึงเข้าไปหา ภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า คุณ ผมต้องอาบัติชื่อนี้ ผมแสดงคืนอาบัตินั้น ภิกษุผู้รับนั้นพึงกล่าวว่า คุณเห็นหรือ ภิกษุผู้แสดงนั้นพึงกล่าวว่า ขอรับ ผมเห็น ภิกษุผู้รับนั้นพึงกล่าวว่า คุณพึงสำรวมต่อไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขา- *วินัยกับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าธรรม ความ พร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ... ก็ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือผู้แสดงกับผู้รับ แสดง ทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้น ในปฏิญญาตกรณะนั้น มีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความ เข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ ปฏิญญาตกรณะอันใด นี้มีใน ปฏิญญาตกรณะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้นเป็นปาจิตตีย์ที่ รื้อฟื้น หากได้การแสดงนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นความดี หากไม่ได้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา ภิกษุมากรูปด้วยกัน ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่งประ คองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ ข้าพเจ้าแสดง คืนอาบัตินั้น ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุพวกนั้นทราบด้วยคณะญัตติว่า ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ระลึก เปิดเผย ทำให้ตื้น แสดงอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าขอรับอาบัติของภิกษุมีชื่อนี้ แล้วกล่าวว่า เธอเห็นหรือ ภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า ขอรับ ผมเห็น ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า คุณพึงสำรวมต่อไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขา- *วินัยกับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าธรรม ความ พร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ... ก็ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือ ผู้แสดงกับผู้รับ แสดง ทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้น ในปฏิญญาตกรณะนั้น มีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไป เฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ ปฏิญญาตกรณะอันใด นี้มีใน ปฏิญญาตกรณะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น หากได้การแสดงนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นความดี หากไม่ได้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไป หาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ ข้าพเจ้าแสดงคืนอาบัตินั้น ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ระลึก เปิดเผย ทำให้ตื้น แสดงอาบัติ ถ้าความ- *พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของภิกษุมีชื่อนี้ แล้วพึงกล่าวว่า เธอเห็นหรือ ภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า ขอรับ ผมเห็น ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า คุณพึงสำรวมต่อไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขา- *วินัยกับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความ พร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน ฯ [๖๙๑] บางทีอาปัตตาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ ปฏิญญาตกรณะ พึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ติณวัตถารกะ ๑ บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความบาดหมาง เกิดความ ทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกภิกษุในหมู่นั้นคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิด กิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับ อธิกรณ์เห็นปานนี้ ด้วยติณวัตถารกะ
วิธีระงับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์อย่างนี้ ภิกษุทุกๆ รูป พึงประชุมในที่แห่งเดียวกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควร แก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของตน ทราบ ด้วยคณะญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
คณะญัตติกรรมวาจา
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควร แก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความ พร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่าน ทั้งหลายและอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติ ที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้ง- *หลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน ฯ [๖๙๒] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบ ด้วยคณะญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
คณะญัตติกรรมวาจา
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควร แก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความ พร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่าน ทั้งหลาย และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะเว้นอาบัติ ที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้ง หลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน ฯ [๖๙๓] บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควร แก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มี โทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ แลเพื่อประโยชน์แก่ตน นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงความวิวาทอยู่ ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควร แก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ข้าพเจ้าแสดง อาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัต- *ถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประ โยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน การแสดงอาบัติเหล่านี้ ของพวกเราในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหนัก เว้นอาบัติ ที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยติณวัต- *ถารกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติทุติยกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราเกิดความบาดหมาง ... ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขา- *วินัยกับติณวัตถารกะ ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความ พร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวน เท่าไร พวกเธอมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควรฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัด- *ค้าน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขาวินัยนั้น ก็ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ใด นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้า ธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้น ก็ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ผู้แสดงและผู้รับแสดง ทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าบุคคล ในติณวัตถารกะนั้น มีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความ เข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือ ติณวัตถารกะอันใด นี้มีใน ติณวัตถารกะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น เป็นปาจิตตีย์ที่- *รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน ฯ
กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะอย่างเดียว
[๖๙๔] กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ อย่างเดียว คือ สัมมุขาวินัย ฯ
สมถขันธกะ ที่ ๔ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๙๓๓๐-๙๖๔๓ หน้าที่ ๓๙๔-๔๐๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=9330&Z=9643&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=57              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [682-694] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=6&item=682&items=13              The Pali Tipitaka in Roman :- [682-694] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=6&item=682&items=13              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/brahmali#pli-tv-kd14:14.27.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/horner-brahmali#Kd.14.14.27

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :