บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
[๑๐๔๖] อธิกรณ์มี ๔ อย่าง คือ วิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑ อาปัตตาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑ นี้อธิกรณ์ ๔. ถามว่าการฟื้นอธิกรณ์ ๔ นี้ มีเท่าไร? ตอบว่า การฟื้นอธิกรณ์ ๔ นี้มี ๑๐ คือ ฟื้นวิวาทาธิกรณ์มี ๒ ฟื้นอนุวาทาธิกรณ์มี ๔ ฟื้นอาปัตตาธิกรณ์มี ๓ ฟื้นกิจจาธิกรณ์มี ๑ การฟื้นอธิกรณ์ ๔ นี้ รวมมี ๑๐. ถ. เมื่อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะเท่าไร? เมื่อฟื้นอนุวาทาธิกรณ์ ย่อมฟื้น สมถะเท่าไร? เมื่อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะเท่าไร? เมื่อฟื้นกิจจาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะ เท่าไร? ต. เมื่อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะ ๒ อย่าง เมื่อฟื้นอนุวาทาธิกรณ์ ย่อมฟื้น สมถะ ๔ อย่าง เมื่อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะ ๓ อย่าง เมื่อฟื้นกิจจาธิกรณ์ ย่อมฟื้น สมถะอย่างเดียว.ว่าด้วยฟื้นอธิกรณ์เป็นต้น [๑๐๔๗] ถามว่า การฟื้นมีเท่าไร? ด้วยอาการเท่าไร จึงนับว่าฟื้น? บุคคลประกอบ ด้วยองค์เท่าไร ชื่อว่าฟื้นอธิกรณ์? บุคคลกี่พวก เมื่อฟื้นอธิกรณ์ต้องอาบัติ? ตอบว่า การฟื้นมี ๑๒ ด้วยอาการ ๑๐ จึงนับว่าฟื้น บุคคลประกอบด้วยองค์ ๔ ชื่อว่า ฟื้นอธิกรณ์ บุคคล ๔ จำพวก เมื่อฟื้นอธิกรณ์ต้องอาบัติ. การฟื้น ๑๒ อย่าง เป็นไฉน? คือ ฟื้นกรรมที่ยังไม่ได้ทำ ๑ กรรมที่ทำแล้วไม่ดี ๑ กรรมที่ต้องทำใหม่ ๑ กรรมที่ยังทำไม่เสร็จ ๑ กรรมที่ทำเสร็จแล้วไม่ดี ๑ กรรมที่ต้องทำอีก ๑ กรรมที่ยังไม่ได้วินิจฉัย ๑ กรรมที่วินิจฉัยไม่ถูกต้อง ๑ กรรมที่ต้องวินิจฉัยใหม่ ๑ กรรมที่ยังไม่ ระงับ ๑ กรรมที่ระงับแล้วไม่ดี ๑ กรรมที่ต้องระงับใหม่ ๑ นี้การฟื้น ๑๒ อย่าง. ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เป็นไฉน จึงนับว่าฟื้น? คือ ฟื้นอธิกรณ์ซึ่งเกิดในที่นั้น ๑ ฟื้นอธิกรณ์ซึ่งเกิดในที่นั้นแต่ระงับแล้ว ๑ ฟื้นอธิกรณ์ในระหว่างทาง ๑ ฟื้นอธิกรณ์ซึ่งไปแล้ว ในระหว่างทาง ๑ ฟื้นอธิกรณ์ซึ่งไปแล้วในที่นั้น ๑ ฟื้นอธิกรณ์ซึ่งไปแล้วในที่นั้นแต่ระงับแล้ว ๑ ฟื้นสติวินัย ๑ ฟื้นอมูฬหวินัย ๑ ฟื้นตัสสปาปิยสิกา ๑ ฟื้นติณวัตถารกะ ๑ ด้วยอาการ ๑๐ นี้ จึงนับว่าฟื้น. บุคคลประกอบด้วยองค์ ๔ เป็นไฉน? ชื่อว่าฟื้นอธิกรณ์ คือ บุคคลถึงฉันทาคติฟื้น อธิกรณ์ ๑ ถึงโทสาคติฟื้นอธิกรณ์ ๑ ถึงโมหาคติฟื้นอธิกรณ์ ๑ ถึงภยาคติฟื้นอธิกรณ์ ๑ บุคคล ประกอบด้วยองค์ ๔ นี้ ชื่อว่าฟื้นอธิกรณ์. บุคคล ๔ จำพวกเป็นไฉน เมื่อฟื้นอธิกรณ์ต้องอาบัติ? คือ ภิกษุผู้อุปสมบทในวันนั้น ฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ฟื้น, ภิกษุอาคันตุกะ ฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ฟื้น. ภิกษุผู้ทำ ฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ฟื้น. ภิกษุผู้ให้ฉันทะ ฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ฟื้น. รวมบุคคล ๔ จำพวกฟื้นอธิกรณ์ต้องอาบัติ.ว่าด้วยนิทานแห่งอธิกรณ์ ๔ เป็นต้น [๑๐๔๘] ถามว่า วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน? มีอะไรเป็นสมุทัย? มีอะไร เป็นชาติ? มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน? มีอะไรเป็นองค์? มีอะไรเป็นสมุฏฐาน? อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน? มีอะไรเป็นสมุทัย? มีอะไรเป็นชาติ? มีอะไร เป็นแดนเกิดก่อน? มีอะไรเป็นองค์? มีอะไรเป็นสมุฏฐาน? อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน? มีอะไรเป็นสมุทัย? มีอะไรเป็นชาติ? มีอะไร เป็นแดนเกิดก่อน? มีอะไรเป็นองค์? มีอะไรเป็นสมุฏฐาน? กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน? มีอะไรเป็นสมุทัย? มีอะไรเป็นชาติ? มีอะไรเป็น แดนเกิดก่อน? มีอะไรเป็นองค์? มีอะไรเป็นสมุฏฐาน? ตอบว่า วิวาทาธิกรณ์ มีวิวาทเป็นนิทาน มีวิวาทเป็นสมุทัย มีวิวาทเป็นชาติ มีวิวาท เป็นแดนเกิดก่อน มีวิวาทเป็นองค์ มีวิวาทเป็นสมุฏฐาน. อนุวาทาธิกรณ์ มีอนุวาทเป็นนิทาน มีอนุวาทเป็นสมุทัย มีอนุวาทเป็นชาติ มีอนุวาท เป็นแดนเกิดก่อน มีอนุวาทเป็นองค์ มีอนุวาทเป็นสมุฏฐาน. อาปัตตาธิกรณ์ มีอาบัติเป็นนิทาน มีอาบัติเป็นสมุทัย มีอาบัติเป็นชาติ มีอาบัติเป็น แดนเกิดก่อน มีอาบัติเป็นองค์ มีอาบัติเป็นสมุฏฐาน. กิจจาธิกรณ์ มีกิจเป็นนิทาน มีกิจเป็นสมุทัย มีกิจเป็นชาติ มีกิจเป็นแดนเกิดก่อน มีกิจเป็นองค์ มีกิจเป็นสมุฏฐาน. ถ. วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน? มีอะไรเป็นสมุทัย? มีอะไรเป็นชาติ? มีอะไร เป็นแดนเกิดก่อน? มีอะไรเป็นองค์? มีอะไรเป็นสมุฏฐาน? อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน? มีอะไรเป็นสมุทัย? มีอะไรเป็นชาติ? มีอะไร เป็นแดนเกิดก่อน? มีอะไรเป็นองค์? มีอะไรเป็นสมุฏฐาน? อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน? มีอะไรเป็นสมุทัย? มีอะไรเป็นชาติ? มีอะไร เป็นแดนเกิดก่อน? มีอะไรเป็นองค์? มีอะไรเป็นสมุฏฐาน? กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน? มีอะไรเป็นสมุทัย? มีอะไรเป็นชาติ? มีอะไร เป็นแดนเกิดก่อน? มีอะไรเป็นองค์? มีอะไรเป็นสมุฏฐาน? ต. วิวาทาธิกรณ์ มีเหตุเป็นนิทาน, มีเหตุเป็นสมุทัย, มีเหตุเป็นชาติ, มีเหตุเป็น แดนเกิดก่อน, มีเหตุเป็นองค์, มีเหตุเป็นสมุฏฐาน. อนุวาทาธิกรณ์ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็นแดน เกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน. อาปัตตาธิกรณ์ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็นแดน เกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน. กิจจาธิกรณ์ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็นแดนเกิด ก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน. ถ. วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน? มีอะไรเป็นสมุทัย? มีอะไรเป็นชาติ? มี อะไรเป็นแดนเกิดก่อน? มีอะไรเป็นองค์? มีอะไรเป็นสมุฏฐาน? อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน? มีอะไรเป็นสมุทัย? มีอะไรเป็นชาติ? มีอะไร เป็นแดนเกิดก่อน? มีอะไรเป็นองค์? มีอะไรเป็นสมุฏฐาน? อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน? มีอะไรเป็นสมุทัย? มีอะไรเป็นชาติ? มีอะไร เป็นแดนเกิดก่อน? มีอะไรเป็นองค์? มีอะไรเป็นสมุฏฐาน? กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน? มีอะไรเป็นสมุทัย? มีอะไรเป็นชาติ? มีอะไร เป็นแดนเกิดก่อน? มีอะไรเป็นองค์? มีอะไรเป็นสมุฏฐาน? ต. วิวาทาธิกรณ์ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัย เป็นแดนก่อนเกิด มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน. อนุวาทาธิกรณ์ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัย เป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน. อาปัตตาธิกรณ์ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัยเป็น แดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน. กิจจาธิกรณ์ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัยเป็นแดน เกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน.ว่าด้วยมูลอธิกรณ์เป็นต้น [๑๐๔๙] ถามว่า อธิกรณ์ ๔ มีมูลเท่าไร? มีสมุฏฐานเท่าไร? ตอบว่า อธิกรณ์ ๔ มีมูล ๓๓ มีสมุฏฐาน ๓๓. ถ. อธิกรณ์ ๔ มีมูล ๓๓ เป็นไฉน? ต. วิวาทาธิกรณ์ มีมูล ๑๒ อนุวาทาธิกรณ์ มีมูล ๑๔ อาปัตตาธิกรณ์มีมูล ๖ กิจจาธิกรณ์ มีมูล ๑ คือ สงฆ์. รวมอธิกรณ์ ๔ มีมูล ๓๓. ถ. อธิกรณ์ ๔ มีสมุฏฐาน ๓๓ เป็นไฉน? ต. วิวาทาธิกรณ์มีเรื่องทำความแตกกัน ๑๘ เป็นสมุฏฐาน อนุวาทาธิกรณ์มีวิบัติ ๔ เป็นสมุฏฐาน อาปัตตาธิกรณ์มีกองอาบัติ ๗ เป็นสมุฏฐาน กิจจาธิกรณ์มีกรรม ๔ เป็น สมุฏฐาน รวมอธิกรณ์ ๔ มีสมุฏฐาน ๓๓.ว่าด้วยวิวาทาธิกรณ์เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติเป็นต้น [๑๐๕๐] ถามว่า วิวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติ หรือมิใช่อาบัติ? ตอบว่า วิวาทาธิกรณ์ มิใช่อาบัติ. ถ. ก็เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ หรือ? ต. ถูกแล้ว เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ. ถ. เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร? ต. เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๒ ตัว คือ ด่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ๑ ด่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๒ ตัวนี้. ถ. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติอะไร บรรดาวิบัติ ๔? เป็นอธิกรณ์อะไร บรรดา อธิกรณ์ ๔? สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗? เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร? ด้วยสมถะเท่าไร? ต. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๑ บรรดาวิบัติ ๔ คือ อาจารวิบัติ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๒ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติ ปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ ระงับด้วย อธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ๑ ท่ามกลางคณะ ๑ สำนักบุคคล ๑ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางที ด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.ว่าด้วยอนุวาทาธิกรณ์เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติเป็นต้น [๑๐๕๑] ถามว่า อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติ? ตอบว่า อนุวาทาธิกรณ์ มิใช่อาบัติ. ถ. ก็เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ หรือ? ต. ถูกแล้ว เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ. ถ. เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร? ต. เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ ตัว คือ ตามกำจัดภิกษุด้วย ธรรมมีโทษถึงปาราชิกอันไม่มีมูล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ตามกำจัดด้วยสังฆาทิเสสอันไม่มีมูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑ ตามกำจัดด้วยอาจารวิบัติไม่มีมูลต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เพราะอนุวาธาธิกรณ์ เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ ตัวนี้. ถ. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔? จัดเป็นอธิกรณ์อะไร บรรดา อธิกรณ์ ๔? สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗? เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖? ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร? ในฐานะเท่าไร? ด้วยสมถะเท่าไร? ต. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็นศีลวิบัติ บางทีเป็นอาจารวิบัติ. เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔, สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๓ บรรดา กองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกอง อาบัติทุกกฏ, เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖, อาบัติหนักระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับในฐานะ ๑ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ อาบัติเบาระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือกิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ท่าม กลางสงฆ์ ๑ ท่ามกลางคณะ ๑ สำนักบุคคล ๑ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ บางทีด้วยสัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.ว่าด้วยอาปัตตาธิกรณ์เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติเป็นต้น [๑๐๕๒] ถามว่า อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติ? ตอบว่า อาปัตตาธิกรณ์ มิใช่อาบัติ. ถ. ก็เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ หรือ? ต. ถูกแล้ว เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ. ถ. เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร? ต. เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๔ ตัว คือ ภิกษุณีรู้อยู่ ปกปิด ปาราชิกธรรมอันภิกษุณีต้องแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก ๑ สงสัยปกปิดไว้ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑ ภิกษุ ปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑ ปกปิดอาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เพราะ อาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ ตัวนี้. ถ. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔? จัดเป็นอธิกรณ์อะไร บรรดา อธิกรณ์ ๔? สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗? เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖? ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร? ในฐานะเท่าไร? ด้วยสมถะเท่าไร? ต. อาบัติเหล่านั้น จัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็นศีลวิบัติ บางทีเป็น อาจารวิบัติ, เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔, สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๔ บรรดากองอาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ, เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖ คือ เกิดแต่กาย วาจา และจิต, อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ระงับด้วยอธิกรณ์อะไรไม่ได้ ระงับในฐานะอะไรไม่ได้ ระงับด้วยสมถะอะไรไม่ได้, อาบัติเบา ระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์, ระงับในฐานะ ๓ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ๑ ท่ามกลางคณะ ๑ สำนักบุคคล ๑ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ บางทีด้วย สัมมุขาวินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.ว่าด้วยกิจจาธิกรณ์เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติเป็นต้น [๑๐๕๓] ถามว่า กิจจาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรือมิใช่อาบัติ? ตอบว่า กิจจาธิกรณ์ มิใช่อาบัติ. ถ. ก็เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ หรือ? ต. ถูกแล้ว เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ. ถ. เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร? ต. เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๕ ตัว คือ ภิกษุณีที่ประพฤติตาม ภิกษุผู้ถูกยกวัตร ไม่สละเพราะสวดประกาศครบ ๓ จบ จบญัตติเป็นทุกกฏ ๑ จบกรรมวาจา สองครั้ง เป็นถุลลัจจัย ๑ จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติปาราชิก ๑ ภิกษุประพฤติตามภิกษุ ผู้ทำลายสงฆ์ ไม่สละเพราะสวดประกาศครบ ๓ จบ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑ ภิกษุไม่สละทิฏฐิ ลามกเพราะสวดประกาศครบ ๓ จบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๑ เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้อง อาบัติ ๕ ตัวนี้. ถ. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาวิบัติ ๔? จัดเป็นอธิกรณ์อะไร บรรดา อธิกรณ์ ๔? สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗? เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาสมุฏฐานอาบัติ ๖? ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร? ในฐานะเท่าไร? ด้วยสมถะเท่าไร? ต. อาบัติเหล่านั้นจัดเป็นวิบัติ ๒ บรรดาวิบัติ ๔ คือ บางทีเป็นศีลวิบัติ บางทีเป็น อาจารวิบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ สงเคราะห์ด้วยกองอาบัติ ๕ บรรดากอง อาบัติ ๗ คือ บางทีด้วยกองอาบัติปาราชิก บางทีด้วยกองอาบัติสังฆาทิเสส บางทีด้วยกองอาบัติ ถุลลัจจัย บางทีด้วยกองอาบัติปาจิตตีย์ บางทีด้วยกองอาบัติทุกกฏ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ บรรดา สมุฏฐานอาบัติ ๖ คือเกิดแต่กาย วาจา และจิต อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ระงับด้วยอธิกรณ์อะไร ไม่ได้ ระงับในฐานะอะไรไม่ได้ ระงับด้วยสมถะอะไรไม่ได้ อาบัติหนัก ระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับในฐานะ ๑ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ อาบัติเบา ระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ๑ ท่ามกลางคณะ ๑ สำนักบุคคล ๑ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ บางทีด้วยสัมมุขา วินัย ๑ ด้วยปฏิญญาตกรณะ ๑ บางทีด้วยสัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ๑.อธิบายวิวาทาธิกรณ์ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๙๐๒๓-๙๒๐๒ หน้าที่ ๓๔๕-๓๕๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=9023&Z=9202&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=92 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1046 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1046-1054] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=8&item=1046&items=9 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=11034 The Pali Tipitaka in Roman :- [1046-1054] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=8&item=1046&items=9 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=11034 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr11/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr11/en/horner-brahmali
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]