ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
๘. มหาสีหนาทสูตร
เรื่องอเจลกกัสสป
[๒๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กัณณกถลมิคทายวัน เขตอุชุญญานคร ครั้งนั้น อเจลกชื่อว่ากัสสป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า พระสมณโคดมทรงติตบะทุกอย่าง ทรงคัดค้าน กล่าวโทษบุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมองโดยส่วนเดียว ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทรงติตบะทุกอย่าง ทรงคัดค้านกล่าวโทษ บุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมองโดยส่วนเดียว เป็นผู้กล่าวตามคำที่พระโคดม ผู้เจริญตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระโคดมผู้เจริญด้วยคำไม่จริง และชื่อว่าพยากรณ์ธรรมตามสมควร แก่ธรรม อนึ่ง การกล่าวและกล่าวตามที่ชอบแก่เหตุแม้น้อยหนึ่ง จะไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียน แลหรือ ความจริงข้าพเจ้ามิได้มีความประสงค์ที่จะกล่าวตู่พระโคดมผู้เจริญ. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัสสป สมณพราหมณ์ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณ- *โคดมทรงติตบะทุกอย่าง ทรงคัดค้านกล่าวโทษบุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมอง โดยส่วนเดียว ไม่เป็นอันกล่าวตามเรา และไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่มีจริง ไม่เป็นจริง เราเห็นบุคคลผู้ประพฤติตบะมีอาชีพเศร้าหมองบางคนในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ก็มี เราเห็นบุคคล ผู้ประพฤติตบะ มีอาชีพเศร้าหมองบางคนในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ก็มี เราเห็นบุคคลผู้ประพฤติตบะ บางคนในโลกนี้ อยู่เป็นทุกข์เพราะบุญน้อย เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ก็มี เราเห็นบุคคลผู้ประพฤติตบะ บางคนในโลกนี้ อยู่เป็นทุกข์เพราะบุญน้อย เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ก็มี เรารู้การมา การไป จุติและอุบัติ ของบุคคลผู้ประพฤติตบะเหล่านี้ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เหตุไร เราจักติตบะทุกอย่าง จักคัดค้านกล่าวโทษบุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมองโดยส่วนเดียวเล่า? [๒๖๑] ดูกรกัสสป มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นบัณฑิต มีปัญญา ละเอียด ทำการโต้เถียงผู้อื่น มีท่าทางเหมือนคนแม่นธนู เขาน่าจะเที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลายด้วยปัญญา สมณพราหมณ์พวกนั้นย่อมลงกับเราในฐานะบางอย่าง ไม่ลงกับเราในฐานะบางอย่าง บางอย่าง ที่เขากล่าวว่าดี แม้เราก็กล่าวว่าดี บางอย่างที่เขากล่าวว่าไม่ดี แม้เราก็กล่าวว่าไม่ดี บางอย่าง ที่เขากล่าวว่าดี เรากล่าวว่าไม่ดี บางอย่างที่เขากล่าวว่าไม่ดี เรากล่าวว่าดี บางอย่างที่เรากล่าวว่าดี แม้สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวว่าดี บางอย่างที่เรากล่าวว่าไม่ดี แม้สมณพราหมณ์พวกอื่น ก็กล่าวว่าไม่ดี บางอย่างที่เรากล่าวว่าดี สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่าไม่ดี บางอย่างที่เรากล่าวว่า ไม่ดี สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่าดี เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ฐานะที่เราไม่ลงกันจงงดไว้ ในฐานะทั้งหลายที่ลงกันวิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียง สอบสวน เปรียบเทียบครูด้วยครู เปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ ว่าธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็น อกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ ใครละ ธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่พระสมณโคดมหรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น.
กถาว่าด้วยการละอกุศล
[๒๖๒] ดูกรกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชน เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้เหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ และเป็น ฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ พระสมณโคดมละธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หรือว่าท่าน คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น ดูกรกัสสป วิญญูชนในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน ดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญพวกเราพวกเดียวในข้อนั้น.
กถาว่าด้วยการสมาทานกุศล
[๒๖๓] ดูกรกัสสป อีกข้อหนึ่งเล่า วิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนพวกเรา เปรียบเทียบครูด้วยครู เปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ ว่าธรรมของท่านพวกนี้เหล่าใดเป็นกุศล นับว่า เป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรเสพ นับว่าควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐ นับว่า เป็นธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว ใครสมาทานธรรมเหล่านี้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ พระสมณโคดมหรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น ดูกรกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือวิญญูชน เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใด เป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรเสพ นับว่าควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าเป็นธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว พระสมณโคดมสมาทานธรรม เหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น ดูกรกัสสป วิญญูชนในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน ดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญพวกเราพวกเดียวในข้อนั้น. [๒๖๔] ดูกรกัสสป อีกข้อหนึ่งเล่า วิญญูชน จงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนพวกเรา เปรียบเทียบครูด้วยครู เปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ ว่าธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ และฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ ใครละธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หมู่สาวกของพระโคดมหรือหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น ดูกรกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชน เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรม ของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายดำ นับว่า เป็นฝ่ายดำ หมู่สาวกของพระโคดมละธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่หรือหมู่สาวกของ คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น ดูกรกัสสป วิญญูชนทั้งหลายในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน ดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญพวกเราพวกเดียวในข้อนั้น. [๒๖๕] ดูกรกัสสป อีกข้อหนึ่งเล่า วิญญูชน จงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนพวกเรา เปรียบเทียบครูด้วยครู เปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ว่า ธรรมทั้งหลายของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรเสพนับว่าควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐ นับว่า เป็นธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว ใครสมาทานธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หมู่สาวกของพระโคดมหรือหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น ดูกรกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชน เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่าธรรม ของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรเสพ นับว่า ควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าเป็นธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว หมู่สาวกของพระโคดมสมาทานธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือประพฤติอยู่ หรือหมู่สาวกของคณาจารย์ ผู้เจริญเหล่าอื่น ดูกรกัสสป วิญญูชนในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน ดังนี้ โดยมากพึง สรรเสริญพวกเราพวกเดียวในข้อนั้น. ดูกรกัสสป มรรคามีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ บุคคลปฏิบัติตามแล้ว จักรู้เอง จักเห็นเองว่า พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย ดูกรกัสสป มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน ที่บุคคลปฏิบัติตามแล้ว จักรู้เอง จักเห็นเองว่า พระสมณ- *โคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย มรรคาประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐนี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ ดูกรกัสสป มรรคานี้แล ปฏิปทานี้แล ที่บุคคลปฏิบัติ ตามแล้ว จักรู้เอง จักเห็นเองว่า พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย.
กถาว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะ
[๒๖๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกกัสสปได้ทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้มี อายุ การบำเพ็ญตบะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ ซึ่งนับว่าเป็นการงานของสมณะ และของ พราหมณ์มีอยู่ คือ เป็นคนเปลือย ทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขา เชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่รับภิกษาที่เขา นิมนต์ เขาไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตู นำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้นำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมสากนำมา ไม่รับ ภิกษาของคน ๒ คนที่กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลัง ให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษา ในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว คำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้ วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้ง กึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง. ข้าแต่พระโคดมผู้มีอายุ การบำเพ็ญตบะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ ซึ่งนับว่าเป็นการงาน ของสมณะ และของพราหมณ์มีอยู่ คือ อเจลกนั้น เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็น ภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็น ภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ ข้าแต่พระโคดมผู้มีอายุ การบำเพ็ญตบะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ ซึ่งนับว่าเป็นการงาน ของสมณะ และของพราหมณ์มีอยู่ คือ อเจลกนั้น ทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือก ปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำ ด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ ประกอบความขวนขวายในการถอนผมและ หนวดบ้าง เป็นผู้ยืน คือ ห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง คือ ประกอบความเพียรในการกระโหย่ง (คือ เดินกระโหย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า) บ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบน หนามบ้าง สำเร็จการนอนบนแผ่นกระดานบ้าง สำเร็จการนอนบนเนินดินบ้าง เป็นผู้นอน ตะแคงข้างเดียวบ้าง เป็นผู้หมักหมมด้วยธุลีบ้าง เป็นผู้อยู่กลางแจ้งบ้าง เป็นผู้นั่งบนอาสนะ ตามที่ลาดไว้บ้าง เป็นผู้บริโภคคูถ คือ ประกอบความขวนขวายในการบริโภคคูถบ้าง เป็นผู้ห้าม น้ำเย็น คือ ขวนขวายในการห้ามน้ำเย็นบ้าง เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือ ประกอบความ ขวนขวายในการลงน้ำบ้าง. [๒๖๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป แม้ถ้าเป็นอเจลกผู้ทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับ ภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่รับภิกษาที่เขานิมนต์ เขาไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูนำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้นำมา ไม่รับ ภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมสากนำมา ไม่รับภิกษาของคน ๒ คนที่กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของ หญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับ ภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอม เป็นกลุ่ม ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เขารับภิกษาที่เรือน หลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษา ในถาดน้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ๗ วัน บ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง สีลสัมปทา จิตตสัมปทา หรือปัญญาสัมปทานี้ ก็ยังไม่ชื่อว่า อันสมณพราหมณ์นั้นอบรมแล้ว กระทำให้ แจ้งแล้ว ที่แท้เขายังห่างจากสามัญคุณ และพรหมัญคุณ ดูกรกัสสป ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูกรกัสสป แม้หากว่าสมณพราหมณ์นั้น เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษา มีข้าวฟ่างเป็นภักษา มีลูกเดือยเป็นภักษา มีกากข้าวเป็นภักษา มียางเป็นภักษา มีสาหร่ายเป็นภักษา มีรำเป็นภักษา มีข้าวตังเป็นภักษา มีกำยานเป็นภักษา มีหญ้าเป็นภักษา มีโคมัยเป็นภักษา มีเหง้าและผลไม้ในป่า เป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ สีลสัมปทา จิตตสัมปทา หรือปัญญาสัมปทานี้ ก็ยังไม่ชื่อว่าอันสมณพราหมณ์นั้นอบรมแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว ที่แท้เขายังห่างจากสามัญคุณ และพรหมัญคุณ ดูกรกัสสป ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูกรกัสสป แม้หากว่าสมณพราหมณ์นั้น ทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอ กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ ประกอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืน คือ ห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง คือ ประกอบความเพียรในการกระโหย่ง (คือ เดินกระโหย่ง เหยียบพื้นไม่เต็มเท้า) บ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง สำเร็จการ นอนบนแผ่นกระดานบ้าง สำเร็จการนอนบนเนินดินบ้าง เป็นผู้นอนตะแคงข้างเดียวบ้าง เป็นผู้ หมักหมมด้วยธุลีบ้าง เป็นผู้อยู่กลางแจ้งบ้าง เป็นผู้นั่งนอนบนอาสนะตามที่ลาดไว้บ้าง เป็นผู้ บริโภคคูถ คือ ประกอบความขวนขวายในการบริโภคคูถบ้าง เป็นผู้ห้ามน้ำเย็น คือ ขวนขวาย ในการห้ามน้ำเย็นบ้าง เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือ ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำบ้าง สีลสัมปทา จิตตสัมปทา หรือปัญญาสัมปทานี้ ก็ยังไม่ชื่อว่าอันสมณพราหมณ์นั้นอบรมแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว ที่แท้เขายังห่างจากสามัญคุณ และพรหมัญคุณ ดูกรกัสสป ต่อเมื่อภิกษุ เจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอัน หาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง.
ว่าด้วยอเจลกวัตร
[๒๖๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกกัสสปได้ทูลว่า ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ สามัญคุณทำได้ยาก พรหมัญคุณทำได้ยาก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนี้เป็นปกติในโลก ที่สามัญคุณทำได้ยาก พรหมัญคุณทำได้ยาก ดูกรกัสสป แม้หากว่าเป็นอเจลกผู้ทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ เขาเชิญให้ มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาที่เขาทำ ไว้เฉพาะ ไม่รับภิกษาที่เขานิมนต์ เขาไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว ไม่รับ ภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูนำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้นำมา ไม่รับภิกษาที่ บุคคลยืนคร่อมสากนำมา ไม่รับภิกษาของคน ๒ คนที่กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่ นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รักภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย ใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง ดูกรกัสสป สามัญ- *คุณหรือพรหมัญคุณ จักชื่อว่าเป็นกิจที่กระทำได้ยาก กระทำได้ยากด้วยดี ด้วยการปฏิบัติมี ประมาณน้อยนี้ และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้แล้ว ไม่น่าจักต้องกล่าวว่า สามัญคุณทำยาก พรหมัญคุณทำได้ยากดังนี้เลย ก็คหบดี หรือบุตรคหบดี โดยที่สุดแม้นางกุมภทาสี จักอาจทำ สามัญคุณและพรหมัญคุณนี้ได้ด้วยการกล่าวว่า เอาเถอะ เราจักเป็นเจลก เป็นผู้ทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษา ที่เขาทำเฉพาะ ไม่รับภิกษาที่เขานิมนต์ เขาไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจาก หม้อข้าว ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูนำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้นำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมสากนำมา ไม่รับภิกษาของคน ๒ คนที่กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษา ของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวัน ไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เขารับภิกษา ที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพ ด้วยข้าว ๒ คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เยียวยาอัตภาพ ด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้ ดูกรกัสสป ก็เพราะสามัญคุณ หรือพรหมัญคุณเป็นกิจที่ทำได้ยาก กระทำได้ยากด้วยดี เพราะต้องเว้นการปฏิบัติ มีประมาณน้อยนี้ และต้องเว้นการบำเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้นการที่ กล่าวว่า สามัญคุณทำได้ยาก พรหมมัญคุณทำได้ยาก ดังนี้ สมควรแล้ว ดูกรกัสสป ต่อเมื่อ ภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุนี้ เราเรียกว่าสมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูกรกัสสป แม้ถ้าว่าสมณพราหมณ์เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัย เป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ ดูกรกัสสป สามัญคุณหรือพรหมัญคุณ จักเป็นกิจที่ทำได้ยาก กระทำได้ยากด้วยดี ด้วยการปฏิบัติมีประมาณ น้อยนี้ และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้แล้ว ไม่น่าจักต้องกล่าวว่า สามัญคุณทำได้ยาก พรหมัญคุณ ทำได้ยาก ดังนี้เลย ก็คหบดี หรือบุตรคหบดี โดยที่สุดแม้นางกุมภทาสี ก็จักอาจทำสามัญคุณ และพรหมัญคุณนี้ได้ ด้วยการกล่าวว่า เอาเถอะ เราจักเป็นอเจลก มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพ ดูกรกัสสป ก็เพราะสามัญคุณ หรือพรหมัญคุณ เป็นกิจที่กระทำได้ยาก กระทำได้ยากด้วยดี เพราะต้องเว้นการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และต้องเว้นการบำเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้น การที่กล่าวว่าสามัญคุณทำได้ยาก พรหมัญคุณทำได้ยาก ดังนี้ สมควรแล้ว ดูกรกัสสป ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูกรกัสสป แม้ถ้าว่าสมณพราหมณ์ ทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอ กรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วย ขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ ประกอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวด บ้าง เป็นผู้ยืน คือ ห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง คือ ประกอบความเพียรในการกระโหย่ง (คือเดินกระโหย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า) บ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนาม บ้าง สำเร็จการนอนบนแผ่นกระดานบ้าง สำเร็จการนอนบนเนินดินบ้าง เป็นผู้นอนตะแคง ข้างเดียวบ้าง เป็นผู้หมักหมมด้วยธุลีบ้าง เป็นผู้อยู่กลางแจ้งบ้าง เป็นผู้นั่งบนอาสนะตามที่ลาด ไว้บ้าง เป็นผู้บริโภคคูถ คือ ประกอบความขวนขวายในการบริโภคคูถบ้าง เป็นผู้ห้ามน้ำเย็น คือ ขวนขวายในการห้ามน้ำเย็นบ้าง เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือ ประกอบความขวนขวาย ในการลงน้ำบ้าง สามัญคุณ หรือพรหมัญคุณ จักเป็นกิจที่กระทำได้ยาก กระทำได้ยากด้วยดี ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้แล้ว ไม่น่าจักต้องกล่าวว่า สามัญคุณ ทำได้ยาก พรหมัญคุณทำได้ยากดังนี้เลย ก็คหบดี หรือบุตรคหบดี โดยที่สุดแม้นางกุมภทาสี จักอาจทำสามัญคุณ และพรหมัญคุณนี้ได้ ด้วยการกล่าวว่า เอาเถอะ เราจักเป็นอเจลก ทรงผ้าป่านบ้าง ทรงผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วย ผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ ประกอบการขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืน คือ ห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้ กระโหย่ง คือ ประกอบความเพียรในการกระโหย่ง (คือ เดินกระโหย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า) บ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง สำเร็จการนอนบนแผ่นกระดานบ้าง สำเร็จการนอนบนเนินดินบ้าง เป็นผู้นอนตะแคงข้างเดียวบ้าง เป็นผู้หมักหมมด้วยธุลีบ้าง เป็นผู้อยู่กลางแจ้งบ้าง เป็นผู้นั่งบนอาสนะตามที่ลาดไว้บ้าง เป็นผู้บริโภคคูถ คือ ประกอบความ ขวนขวายในการบริโภคคูถบ้าง เป็นผู้ห้ามน้ำเย็น คือ ขวนขวายในการห้ามน้ำเย็นบ้าง เป็นผู้ อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือ ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำบ้าง ดูกรกัสสป ก็เพราะสามัญคุณ หรือพรหมัญคุณ เป็นกิจที่กระทำได้ยาก กระทำได้ยากด้วยดี เพราะต้องเว้นการปฏิบัติมีประมาณ น้อยนี้ และเพราะต้องเว้นการบำเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้น การที่กล่าวว่า สามัญคุณทำได้ยาก พรหมัญคุณทำได้ยาก ดังนี้ สมควรแล้ว ดูกรกัสสป ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. [๒๖๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกกัสสปได้ทูลว่า ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ สมณะยากที่ใครๆ จะรู้ได้ พราหมณ์ยากที่ใครๆ จะรู้ได้. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนี้เป็นปกติในโลก ที่ว่าสมณะยากที่ใครๆ จะรู้ได้ พราหมณ์ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ แม้หากว่าสมณพราหมณ์เป็นอเจลกผู้ทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาแล้วก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่รับภิกษาที่เขานิมนต์ เขาไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจาก หม้อข้าว ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูนำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้นำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมสากนำมา ไม่รับภิกษาของคน ๒ คนที่กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษา ของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวัน ไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เขารับภิกษา ที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพ ด้วยข้าว ๒ คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เยียวยาอัตภาพ ด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้ บ้าง สมณะหรือพราหมณ์จักได้เป็นผู้ชื่อว่า ยากที่ใครๆ จักรู้ได้ ยากที่ใครๆ จักรู้ได้ด้วยดี ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้แล้ว ไม่น่าจะต้องกล่าวว่า สมณะ ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ พราหมณ์ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ ดังนี้เลยก็คหบดี หรือบุตรคหบดี โดยที่สุด แม้นางกุมภทาสี จักอาจรู้สามัญคุณ และพรหมัญคุณนี้ได้ว่า แม้สมณพราหมณ์นี้เป็นอเจลก ผู้ทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษา ที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่รับภิกษาที่เขานิมนต์ เขาไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูนำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อม ท่อนไม้นำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมสากนำมา ไม่รับภิกษาของคน ๒ คนที่กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิง ผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับการเลี้ยงดู ไม่รับ ภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยา อัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เยียวยา อัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้ บ้าง ดูกรกัสสป ก็เพราะสมณะหรือพราหมณ์เป็นผู้ชื่อว่า ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ ยากที่ใครจะรู้ ได้ด้วยดี เพราะต้องเว้นการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และต้องเว้นการบำเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้น การที่กล่าวว่า สมณะยากที่ใครๆ จะรู้ได้ พราหมณ์ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ ดังนี้ สมควรแล้ว ดูกรกัสสป ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูกรกัสสป แม้หากว่า สมณพราหมณ์เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษา บ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษา บ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้เยียวยาอัตภาพ ดูกรกัสสป สมณะหรือพราหมณ์จักได้เป็นผู้ชื่อว่า ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ด้วยดี ด้วยการ ปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้แล้ว ไม่น่าจักต้องกล่าวว่า สมณะยากที่ใครๆ จะรู้ได้ พราหมณ์ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ ดังนี้เลย ก็คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี โดยที่สุดแม้นาง กุมภทาสี จักอาจรู้ได้ว่า สมณะหรือพราหมณ์เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัย เป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ ดูกรกัสสป ก็เพราะสมณะหรือพราหมณ์เป็นผู้ชื่อว่า ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ด้วยดี เพราะ ต้องเว้นการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และต้องเว้นการบำเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้น การที่กล่าวว่า สมณะยากที่ใครๆ จะรู้ได้ พราหมณ์ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ ดังนี้ สมควรแล้ว ดูกรกัสสป ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา วิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูกรกัสสป แม้หากว่า สมณะหรือพราหมณ์ ทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพ บ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ ประกอบความขวนขวายในการถอนผม และหนวดบ้าง เป็นผู้ยืน คือ ห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง คือ ประกอบความเพียรในการ กระโหย่ง (คือเดินกระโหย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า) บ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอน บนหนามบ้าง สำเร็จการนอนบนแผ่นกระดานบ้าง สำเร็จการนอนบนเนินดินบ้าง เป็นผู้นอน ตะแคงข้างเดียวบ้าง เป็นผู้หมักหมมด้วยธุลีบ้าง เป็นผู้อยู่กลางแจ้งบ้าง เป็นผู้นั่งบนอาสนะ ตามที่ลาดไว้บ้าง เป็นผู้บริโภคคูถ คือ ประกอบความขวนขวายในการบริโภคคูถบ้าง เป็นผู้ห้าม น้ำเย็น คือ ขวนขวายในการห้ามน้ำเย็นบ้าง เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือ ประกอบความ ขวนขวายในการลงน้ำบ้าง ดูกรกัสสป สมณะหรือพราหมณ์จักได้เป็นผู้ชื่อว่า ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ด้วยดี ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้แล้ว ไม่น่า จักต้องกล่าวว่า สมณะยากที่ใครๆ จะรู้ได้ พราหมณ์ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ ดังนี้เลย ก็คฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี โดยที่สุดแม้นางกุมภทาสี ก็จักอาจรู้ได้ว่า สมณพราหมณ์นี้ ทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บ บ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ ประกอบ ความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืน คือ ห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง คือ ประกอบความเพียรในการกระโหย่ง (คือเดินกระโหย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า) บ้าง เป็นผู้ นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง สำเร็จการนอนบนแผ่นกระดานบ้าง สำเร็จ การนอนบนเนินดินบ้าง เป็นผู้นอนตะแคงข้างเดียวบ้าง เป็นผู้หมักหมมด้วยธุลีบ้าง เป็นผู้อยู่ กลางแจ้งบ้าง เป็นผู้นั่งบนอาสนะตามที่ลาดไว้บ้าง เป็นผู้บริโภคคูถ คือ ประกอบความขวนขวาย ในการบริโภคคูถบ้าง เป็นผู้ห้ามน้ำเย็น คือ ขวนขวายในการห้ามน้ำเย็นบ้าง เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือ ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำบ้าง ดูกรกัสสป ก็เพราะสมณะหรือพราหมณ์ เป็นผู้ชื่อว่า ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ด้วยดี เพราะต้องเว้นการปฏิบัติมีประมาณ น้อยนี้ และต้องเว้นการบำเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้น การที่กล่าวว่า สมณะยากที่ใครๆ จะรู้ได้ พราหมณ์ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ ดังนี้ สมควรแล้ว ดูกรกัสสป ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง.
สีลสัมปทา
[๒๗๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกกัสสปได้ทูลว่า ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ก็สีลสัมปทานั้นเป็นไฉน จิตตสัมปทานั้นเป็นไฉน ปัญญาสัมปทานั้นเป็นไฉน? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัสสป พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่งย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธา ในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์โดยส่วน เดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวัง ในพระปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.
จุลศีล
ดูกรกัสสป อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล. ๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ข้อนี้เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๒. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของ ที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการ หนึ่ง. ๓. เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๔. เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็น หลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๕. เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้น แล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้น แตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้ พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำ ที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๖. เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๗. เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูด อิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๘. เธอเว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม. ๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล. ๑๐. เธอเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่น อันเป็นข้าศึก แก่กุศล. ๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับและตบแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ของหอมและ เครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว. ๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่. ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน. ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ. ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ. ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี. ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส. ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ. ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร. ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา. ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน. ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้. ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย. ๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วย เครื่องตวงวัด. ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง. ๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้นและการกรรโชก แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง.
จบจุลศีล.
มัชฌิมศีล
๑. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบาง จำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคามเห็นปานนี้ คือ พืชเกิดแต่เหง้า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ดเป็นที่ครบห้า แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เห็นปานนี้ คือ สะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมเครื่อง ประเทืองผิว สะสมของหอม สะสมอามิส แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้ เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมมหรสพมีการรำเป็นต้น การเล่านิยาย การ เล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม การเล่นของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล การจัดกระบวนทัพ กองทัพ แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการขวนขวายเล่นพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายเล่นการพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนี้ คือ เล่นหมากรุกแถวละแปดตา แถวละสิบตา เล่น หมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสะกา เล่น เป่าใบไม้ เล่นไถน้อยๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ เล่นเขียนทายกัน เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เห็นปานนี้ คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาด ที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็น ช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะอันมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง แม้ข้อนี้ก็เป็น สีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตบแต่งร่างกาย อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวาย ประกอบการประดับตบแต่งร่างกาย อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัวเห็นปานนี้ คือ อบตัว ไคลอวัยวะ อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้ ประเทืองผิว ผัดหน้า ทาปาก ประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้าประดับวิจิตร ติด กรอบหน้า ปักปิ่น ใช้พัดวาลวิชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของ เธอประการหนึ่ง. ๗. ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉัน โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบติรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่อง โจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่อง เบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ แม้ข้อนี้ก็ เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๘. ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบาง จำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกันเห็นปานนี้ เช่นว่า ท่าน ไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้า ปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมา ผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๙. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เห็นปานนี้ คือ รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี และกุมารว่า ท่านจงไปในที่นี้ ท่านจงไปในที่โน้น ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ไป ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ในที่โน้นมา ดังนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๑๐. ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวงและการพูดเลียบเคียง เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังพูดหลอกลวง พูดเลียบเคียง พูด หว่านล้อม พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง.
จบมัชฌิมศีล.
มหาศีล
๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉาน วิชาเห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนาย หนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำ บูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่า บูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอ ปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ เป็น หมอแมงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็น หมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอ ประการหนึ่ง. ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะศาตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชาภายใน จักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชา ภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง จันทร- *คราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีอุกกาบาต จักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผล เป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลเป็น อย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทา ของเธอประการหนึ่ง. ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษาหาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือนับคะแนน คำนวณ นับประมวล แต่งกาพย์โลกายตศาสตร์ แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้น กระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรง กระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นสีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็น สีลสัมปทาของเธอประการหนึ่ง. ดูกรกัสสป ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย เพราะ ศีลสังวรนั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัย แต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ดูกรกัสสป ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุข อันปราศจากโทษในภายใน ดูกรกัสสป ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยศีล ดูกรกัสสป นี้แลสีลสัมปทานั้น.
จบมหาศีล.
อินทรียสังวร
ดูกรกัสสป อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ดูกรกัสสป ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อ สำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ แล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้ เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน ดูกรกัสสป ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
สติสัมปชัญญะ
ดูกรกัสสป อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ดูกรกัสสป ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรกัสสป ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบ ด้วยสติสัมปชัญญะ.
สันโดษ
ดูกรกัสสป อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ ดูกรกัสสป ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทาง ทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ดูกรกัสสป นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัว เป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วย บิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ดูกรกัสสป ด้วย ประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ.
จิตสัมปทา
ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะและสันโดษอันเป็นอริยะ เช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในการภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิต ให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้าย คือ พยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือ พยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ในภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้. ดูกรกัสสป เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน การงานของเขาจะพึง สำเร็จผล เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดินให้หมดสิ้น และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขาจะพึงมีเหลือ อยู่สำหรับเลี้ยงภริยา เขาพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบการงาน บัดนี้ การงานของเราสำเร็จผลแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้นแล้ว และทรัพย์ที่เป็น กำไรของเรายังมีเหลืออยู่ สำหรับเลี้ยงภริยา ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ถึงความโสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรกัสสป เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธถึงความลำบาก เจ็บหนัก บริโภค อาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย สมัยต่อมา เขาจะพึงหายจากอาพาธนั้น บริโภคอาหารได้และ มีกำลังกาย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบากเจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย บัดนี้ เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้และ มีกำลังกายเป็นปกติ ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ถึงความโสมนัส มีความไม่มีโรคนั้น เป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรกัสสป เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจำ อยู่ในเรือนจำ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจาก เรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราถูกจำอยู่ในเรือนจำ บัดนี้ เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว และเราไม่ต้องเสีย ทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ถึงความโสมนัส มีการพ้นจากเรือนจำนั้น เป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรกัสสป เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาส ไม่ได้พึ่งตัวเอง พึ่งผู้อื่น ไปไหนตาม ความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากความเป็นทาสนั้น พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็น ทาสพึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้ เราพ้นจากความเป็นทาส นั้นแล้ว พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่นเป็นไทแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ ดังนี้ เขาจะพึง ได้ความปราโมทย์ถึงความโสมนัส มีความเป็นไทแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรกัสสป เปรียบเหมือนบุรุษมีทรัพย์ มีโภคสมบัติพึงเดินทางไกลกันดาร หาอาหาร ได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้ บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ปลอดภัยโดยสวัสดี เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ เดิน ทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า บัดนี้ เราข้ามพ้นทางกันดารนั้น บรรลุถึง หมู่บ้านอันเกษม ปลอดภัยโดยสวัสดีแล้ว ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ถึงความโสมนัส มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ ฉันใด. ดูกรกัสสป ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ที่ยังละไม่ได้ในตน เหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร และเธอพิจารณา เห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือน การพ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล. เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์ แล้วย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปิติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและ สุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้เป็นจิตตสัมปทาของเธอประการหนึ่ง ดูกรกัสสป นี้แลจิตตสัมปทา. ดูกรกัสสป อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น ธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เป็นจิตตสัมปทาของเธอประการหนึ่ง ดูกรกัสสป นี้แลจิตตสัมปทา. ดูกรกัสสป อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้เป็นจิตตสัมปทาของเธอประการหนึ่ง ดูกรกัสสป นี้แลจิตตสัมปทา. ดูกรกัสสป อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ ดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เป็นจิตตสัมปทา ของเธอประการหนึ่ง ดูกรกัสสป นี้แลจิตตสัมปทา.
ปัญญาสัมปทา
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสะ เธอย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูปประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วย ข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลาย และกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ นี้เป็นปัญญาสัมปทาของเธอประการ หนึ่ง ดูกรกัสสป นี้แลปัญญาสัมปทา. ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง นี้เป็นปัญญาสัมปทาของเธอประการหนึ่ง ดูกรกัสสป นี้แลปัญญาสัมปทา. ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุ อิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏ ก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลง ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิมีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจ ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ นี้เป็นปัญญาสัมปทาของเธอประการหนึ่ง ดูกรกัสสป นี้แล ปัญญาสัมปทา. ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ นี้เป็นปัญญาสัมปทาของเธอประการหนึ่ง ดูกรกัสสป นี้แลปัญญาสัมปทา. ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนด รู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจาก โทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิต ไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น นี้เป็น ปัญญาสัมปทาของเธอประการหนึ่ง ดูกรกัสสป นี้แลปัญญาสัมปทา. ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติ บ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตร อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุ เพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็น อันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ นี้เป็นปัญญาสัมปทาของเธอประการ หนึ่ง ดูกรกัสสป นี้แลปัญญาสัมปทา. ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม กรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็น มิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้า ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ นี้เป็นปัญญาสัมปทาของ เธอประการหนึ่ง ดูกรกัสสป นี้แลปัญญาสัมปทา. ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภาวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้น แล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี นี้เป็นปัญญาสัมปทาของเธอประการหนึ่ง ดูกรกัสสป นี้แลปัญญาสัมปทา. ดูกรกัสสป สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทา ข้ออื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตยิ่งกว่า สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทานี้ไม่มีเลย. [๒๗๑] ดูกรกัสสป มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวศีล สมณพราหมณ์พวกนั้น สรรเสริญคุณแห่งศีลโดยอเนกปริยาย ศีลอันประเสริฐอย่างยอดมีประมาณเท่าไร เรายังไม่เห็น บุคคลผู้ทัดเทียมเราในศีลอันประเสริฐอย่างยอดนั้น ผู้ที่ยิ่งกว่าจะมีที่ไหน ที่จริงเราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่ง ในศีลอันประเสริฐอย่างยอดนั้น คือ อธิศีล. ดูกรกัสสป มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวตบะอันกีดกันกิเลส สมณพราหมณ์ พวกนั้นสรรเสริญคุณแห่งตบะอันกีดกันกิเลส โดยอเนกปริยาย ตบะอันกีดกันกิเลสอันประเสริฐ อย่างยอดมีประมาณเท่าไร เราไม่เห็นบุคคลผู้ทัดเทียมเราในตบะอันกีดกันกิเลสอันประเสริฐอย่าง ยอดนั้น ผู้ที่ยิ่งกว่าจะมีที่ไหน ที่จริงเราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในตบะอันกีดกันกิเลสอันประเสริฐ อย่างยอดนั้น คือ อธิจิต. ดูกรกัสสป มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวปัญญา สมณพราหมณ์พวกนั้น สรรเสริญคุณแห่งปัญญาโดยอเนกปริยาย ปัญญาอันประเสริฐอย่างยอดมีประมาณเท่าไร เราไม่เห็น บุคคลผู้ทัดเทียมเรา ในปัญญาอันประเสริฐอย่างยอดนั้น ผู้ที่ยิ่งกว่าจะมีที่ไหน ที่จริงเราผู้เดียว เป็นผู้ยิ่งในปัญญาอันประเสริฐอย่างยอดนั้น คือ อธิปัญญา. ดูกรกัสสป มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าววิมุติ สมณพราหมณ์พวกนั้น สรรเสริญคุณแห่งวิมุติโดยอเนกปริยาย วิมุติอันประเสริฐอย่างยอดมีประมาณเท่าไร เราไม่เห็น บุคคลผู้ทัดเทียมเราในวิมุติอันประเสริฐอย่างยอดนั้น ผู้ที่ยิ่งกว่าจะมีที่ไหน ที่จริงเราผู้เดียว เป็นผู้ยิ่งในวิมุติอันประเสริฐอย่างยอดนั้น คือ อธิวิมุติ.
สีหนาท
[๒๗๒] ดูกรกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบันลือสีหนาท แต่บันลือในเรือนว่าง ไม่ใช่ในบริษัท ท่านพึงบอกปริพาชกพวกนั้นว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ พระสมณโคดมบันลือสีหนาท และบันลือในบริษัท มิใช่บันลือในเรือนว่าง ท่านพึงบอกอย่างนี้. ดูกรกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบันลือสีหนาท และบันลือในบริษัท แต่มิใช่บันลืออย่างองอาจ ท่านพึงบอก ปริพาชกพวกนั้นว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ พระสมณโคดมบันลือสีหนาท และบันลือ ในบริษัท ทั้งบันลืออย่างองอาจ ท่านพึงบอกอย่างนี้. ดูกรกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบันลือสีหนาท และบันลือในบริษัท ทั้งบันลืออย่างองอาจ แต่เทวดาและมนุษย์ มิได้ถามปัญหาเธอ ถึงถาม เธอก็พยากรณ์ไม่ได้ ถึงจะพยากรณ์ได้ ก็ยังจิตของเขาให้ยินดีด้วยการ พยากรณ์ปัญหาไม่ได้ ถึงให้ยินดีได้ เขาก็ไม่สำคัญจะฟัง ถึงฟัง ก็ไม่เลื่อมใส ถึงเลื่อมใส ก็ไม่ทำอาการของผู้เลื่อมใส ถึงทำ ก็ไม่ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ถึงปฏิบัติ ก็ไม่ชื่นชม ท่านพึงบอกพวกเขาว่า พวกท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ พระสมณโคดมบันลือสีหนาท และบันลือ ในบริษัท ทั้งบันลืออย่างองอาจ เทวดาและมนุษย์ย่อมถามปัญหาพระองค์ พระองค์ถูกถามปัญหา แล้วย่อมพยากรณ์แก่เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นได้ ยังจิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นให้ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหา เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมสำคัญปัญหาพยากรณ์ว่า อันตนๆ ควรฟัง ครั้นฟังแล้ว ย่อมเลื่อมใส ครั้นเลื่อมใสแล้ว ย่อมทำอาการของผู้เลื่อมใส ย่อมปฏิบัติ เพื่อ ความเป็นอย่างนั้น และปฏิบัติแล้ว ย่อมชื่นชม ดูกรกัสสป ท่านพึงบอกอย่างนี้. ดูกรกัสสป ครั้งหนึ่งเราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ เพื่อนพรหมจรรย์ของท่าน คนหนึ่งในกรุงราชคฤห์นั้น ชื่อว่านิโครธปริพาชก ได้ถามปัญหาในตบะอันกีดกันกิเลสอย่างยิ่ง เราถูกถามแล้ว ได้พยากรณ์แก่เขา เมื่อเราพยากรณ์แล้วเขาปลื้มใจเหลือเกิน. [๒๗๓] อเจลกัสสปทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่า ฟังธรรมของพระองค์แล้ว จะไม่ปลื้มใจอย่างเหลือเกิน แม้ข้าพระองค์ฟังธรรมของพระองค์แล้วก็ยังปลื้มใจเหลือเกิน ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีป ในที่มืดด้วยคิดว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดย อเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนัก ของพระองค์.
ติตถิยปริวาส
[๒๗๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน ต่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลาย เต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่าเรารู้ความต่างแห่งบุคคล ในข้อนี้. อเจลกกัสสปทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้ที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน ต่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลาย เต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสสี่ปี ต่อล่วงสี่ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุ อเจลกกัสสป ได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้ว. ครั้นท่านกัสสปอุปสมบทแล้วไม่นาน เป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกแล้ว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่นานนัก ก็ทำให้ แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านกัสสป ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉะนี้แล.
จบมหาสีหนาทสูตร ที่ ๘.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๕๒๙๕-๖๐๒๘ หน้าที่ ๒๒๒-๒๕๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=5295&Z=6028&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=8              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=260              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [260-274] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=9&item=260&items=15              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=4&A=7552              The Pali Tipitaka in Roman :- [260-274] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=9&item=260&items=15              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=4&A=7552              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_9              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/09i260-e.php# https://suttacentral.net/dn8/en/sujato https://suttacentral.net/dn8/en/tw_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :