ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
มหานามสูตร
[๑๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้ พระนครกบิลพัสดุ์ ในแคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลชื่อว่าเป็นอุบาสก พระผู้มี- *พระภาคตรัสว่า ดูกรมหานาม เมื่อใดแล บุคคลถึงพระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ชื่อว่าเป็นอุบาสก ฯ ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่าเป็น ผู้มีศีล ฯ พ. ดูกรมหานาม เมื่อใดแล อุบาสกงดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้น จากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากมุสาวาท งดเว้นจากการ ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ด้วยเหตุมีประมาณ เท่านี้ อุบาสกชื่อว่า เป็นผู้มีศีล ฯ ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ พ. ดูกรมหานาม เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วย ตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศีล แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อเห็นภิกษุ แต่ไม่ ชักชวนผู้อื่นในการเห็นภิกษุ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม แต่ไม่ชักชวน ผู้อื่นในการฟังสัทธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนฟังแล้วได้ แต่ไม่ชัก ชวนผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้พิจารณาอรรถแห่งธรรมที่ตนฟังแล้ว แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการพิจารณาอรรถแห่งธรรม ๑ ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึง ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรม อันสมควรแก่ธรรม ๑ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์ตนไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสกชื่อว่าเป็น ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ พ. ดูกรมหานาม เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วย ตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และ ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อเห็นภิกษุ และชักชวน ผู้อื่นในการเห็นภิกษุ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม และชักชวนผู้อื่นในการ ฟังสัทธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่นเพื่อการ ทรงจำธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้พิจารณาอรรถแห่งธรรมที่ตนฟังแล้ว และชักชวน ผู้อื่นในการพิจารณาอรรถแห่งธรรม ๑ ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแล้วปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม และชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และ เพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๔๕๐๙-๔๕๔๙ หน้าที่ ๑๙๕-๑๙๗. https://84000.org/tipitaka/v.php?B=23&A=4509&Z=4549&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/m_siri.php?B=23&siri=98              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=115              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย