บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
กัสสปพุทธวงศ์ที่ ๒๔ ว่าด้วยพระประวัติพระกัสสปพุทธเจ้า [๒๕] สมัยต่อมาพระโกนาคมนพุทธเจ้า มีพระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่าสัตว์ เป็นพระธรรมราชา มีพระรัศมีสว่างไสวทรงพระนามว่า กัสสปะ ทรัพย์อันเป็นต้นทุนของตระกูล ที่สัตว์เป็นอันมากบูชา พระองค์ ทรงละทิ้งเสียแล้วทรงเป็นทายกผู้องอาจให้ทาน ยังฉันทะให้เต็ม ทรง ทำลายกิเลสดังสัตว์ร้ายแล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม เมื่อ พระกัสสปะผู้เป็นนายกของโลก ทรงประกาศพระธรรมจักร ธรรมา- ภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สองหมื่นโกฏิ ในคราวเมื่อพระพุทธเจ้า เสด็จจาริกไปในโลกตลอด ๔ เดือน ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มี แก่สัตว์หมื่นโกฏิ ในคราวเมื่อพระองค์ทรงทำยมกปาฏิหาริย์แสดง ฤทธิ์ต่างๆ ทรงประกาศพระญาณธาตุ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มี แก่สัตว์ห้าพันโกฏิ ในคราวที่พระองค์ทรงแสดงธรรม ณ สุธรรมเทพ- นครอันรื่นรมย์ พระชินเจ้าทรงทำให้เทวดาสามพันโกฏิได้ตรัสรู้ และในคราวทรงแสดงธรรมแก่มนุษย์ เทวดา และยักษ์อีกครั้งหนึ่ง มนุษย์เป็นต้นผู้ได้ตรัสรู้ธรรมนั้นจะคณนานับมิได้ แม้พระพุทธเจ้า พระองค์นั้นก็ทรงมีการประชุมพระภิกษุขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ครั้งเดียว ครั้งนั้นพระภิกษุขีณาสพผู้ล่วง สุดภพแล้ว ผู้คงที่ด้วยหิริและศีลมาประชุมกันสองหมื่น ในกาลนั้น เราเป็นมาณพ มีชื่อปรากฏ ว่าโชติปาละ เป็นผู้เล่าเรียน ทรงมนต์ รู้จบไตรเพทถึงที่สุดในคำภีร์ทำนายลักษณะและคัมภีร์อิติหาสะ เป็น ผู้ฉลาดในวิชาดูพื้นที่และอากาศ เป็นผู้ใช้วิชา ไม่มีทุกข์ ฆฏิการ อุบาสกผู้อุปัฏฐากแห่งพระผู้มีพระภาคกัสสปะ เป็นผู้มีความเคารพ ยำเกรง เป็นพระอนาคามี ฆฏิการอุบาสกได้พาเราเข้าไปเฝ้าพระ- กัสสปชินเจ้า เราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้วบวชในสำนักของ พระองค์ เราเป็นผู้ปรารภความเพียร ฉลาดในวัตรและมิใช่วัตร ไม่เสื่อมในที่ไหนๆ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระชินเจ้าบริบูรณ์ เล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์เท่าที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้วทุกอย่าง ยัง พระศาสนาของพระพิชิตมารให้งดงาม แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเห็นความอัศจรรย์ของเราแล้ว จึงทรงพยากรณ์ว่า ในภัทรกัปนี้ ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ...... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้วยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง เรา อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญเพียรบารมี ๑๐ ประการ การให้ยิ่งขึ้นไป เรานึกถึงพระพุทธพยากรณ์อย่างนี้แล้ว งดเว้นอนาจาร กระทำกรรม ที่ทำได้ยาก เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น พระนครชื่อว่า พาราณสี พระบรมกษัตริย์ พระนามว่ากิกี ตระกูลใหญ่ของพระ- สัมพุทธเจ้าอยู่ในพระนครนั้น พรหมทัตตพราหมณ์เป็นพุทธบิดา นางธนวดีพราหมณีเป็นพุทธมารดา พระองค์ทรงครอบครองอาคาร สถานอยู่สองพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อหังษะ ยสะ และสิริจันทะ มีนางสาวนารีสี่หมื่นแปดพันนางล้วนประดับ ประดาสวยงาม นางสุนันทาพราหมณีเป็นภรรยา บุตรชายนามว่า วิชิตเสน พระองค์ผู้เป็นบุรุษอุดม ได้เห็นนิมิต ๔ ประการ จึงออก บวชพร้อมด้วยปราสาท ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน พระกัสสปมหา- วีรเจ้าผู้เป็นนายกของโลกผู้อุดมกว่านรชน อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน ทรงมีพระติสสเถระและ พระภารทวาชเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าสรรพมิตตะ เป็นพระพุทธอุปัฏฐาก พระอนุลาเถรีและพระอุรุเวลาเถรีเป็นพระ- อัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่านิโครธ สุมังคล อุบาสกและฆฏิการอุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก วิชิตเสนาอุบาสก และ ภัททาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มี พระองค์สูง ๒๐ ศอก มีพระรัศมีเปล่งปลั่งดังสายฟ้าในอากาศ ดุจพระจันทร์เต็มดวง พระองค์มีพระชนมายุสองหมื่นปี เมื่อทรง ดำรงอยู่เพียงนั้น ทรงช่วยให้ประชุมชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากมาย ทรงสร้างสระน้ำคือธรรมไว้ ทรงประทานเครื่องลูบไล้ คือ ศีล ทรงจัดผ้าคือธรรมไว้นุ่งห่ม ทรงแจกพวงมาลัยคือธรรม ทรงตั้ง กระจกเงาอันไร้มลทินคือธรรมไว้ให้มหาชน ด้วยทรงหวังว่า ชน บางพวกปรารถนานิพพาน จงเห็นเครื่องประดับของเรา ทรงจัดเสื้อ คือศีล เกราะหนังคือญาณ ทรงจัดหนังคือธรรมไว้ให้คลุม และ เครื่องรบอย่างดีเลิศให้ ทรงจัดโล่ห์คือสติ หอกคือญาณอันคมกล้า ดาบอย่างดีคือธรรม และศาตราวุธเครื่องย่ำยีศัตรูคือศีลไว้ให้ ทรงจัด ภูษา คือไตรวิชา พวงมาลัยสวมศีรษะคือผล ๔ เครื่องอาภรณ์ คือ อภิญญา ๖ และดอกไม้เครื่องประดับคือธรรม ร่มขาวคือพระสัทธรรม อันเป็นเครื่องป้องกันบาป ทรงนิรมิตดอกไม้ คือ ความไม่มีเวรภัย ไว้ให้เสร็จแล้ว พระองค์ก็เสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก แท้- จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ ยากที่จะรู้ได้ พระธรรมรัตนะที่ตรัสไว้ดีแล้วควรเรียกให้มาดู พระสังฆรัตนะผู้ ปฏิบัติดี ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า ทั้ง ๓ รัตนะนี้ หายไปหมดทุกอย่างแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระมหากัสสปชินศาสดา เสด็จนิพพาน ที่เสตัพยาราม ทระสถูปของพระองค์ สูงหนึ่งโยชน์ ประดิษฐานอยู่ ณ เสตัพยารามนั้น ฉะนี้แล.จบกัสสปพุทธวงศ์ที่ ๒๔ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๘๔๔๖-๘๕๑๖ หน้าที่ ๓๖๑-๓๖๔. https://84000.org/tipitaka/v.php?B=33&A=8446&Z=8516&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/m_siri.php?B=33&siri=216 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=205 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33