บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒ วิภังคปกรณ์ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๑. ขันธวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ [๑] ขันธ์ ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์ ๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์ ๕. วิญญาณขันธ์รูปขันธ์ [๒] ในขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ รูปอดีต รูปอนาคต รูปปัจจุบัน รูป ภายใน รูปภายนอก รูปหยาบ รูปละเอียด รูปทราม รูปประณีต รูปไกล รูปใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่ารูปขันธ์ [๓] ในรูปขันธ์นั้น รูปอดีต เป็นไฉน รูปใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับ แล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้า กับส่วนอดีต ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปอดีต รูปอนาคต เป็นไฉน รูปใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่ บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปอนาคต รูปปัจจุบัน เป็นไฉน รูปใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่ เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่ อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปปัจจุบัน [๔] รูปภายใน เป็นไฉน รูปใด ของสัตว์นั้นๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะ บุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปภายใน รูปภายนอก เป็นไฉน รูปใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปภายนอก [๕] รูปหยาบ เป็นไฉน จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ นี้เรียกว่ารูปหยาบ รูปละเอียด เป็นไฉน อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา กวฬิงการาหาร นี้เรียกว่ารูปละเอียด [๖] รูปทราม เป็นไฉน รูปใด ของสัตว์นั้นๆ ที่น่าดูหมิ่น น่าเหยียดหยาม น่าเกลียด น่า ตำหนิ ไม่น่ายกย่อง ทราม รู้กันว่าทราม สมมติกันว่าทราม ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารัก ไม่น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้เรียกว่า รูปทราม รูปประณีต เป็นไฉน รูปใด ของสัตว์นั้นๆ ที่ไม่น่าดูหมิ่น ไม่น่าเหยียดหยาม ไม่น่าเกลียด ไม่น่าตำหนิ น่ายกย่อง ประณีต รู้กันว่าประณีต สมมติกันว่าประณีต น่า ปรารถนา น่ารัก น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้ เรียกว่ารูปประณีต หรือพึงทราบรูปทรามรูปประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๗] รูปไกล เป็นไฉน อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ในที่ไม่ใกล้ ใน ที่ไม่ใกล้ชิด ในที่ไกล ในที่ไม่ใช่ใกล้ นี้เรียกว่ารูปไกล รูปใกล้ เป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ในที่ใกล้เคียง ในที่ใกล้ชิด ในที่ไม่ไกล ในที่ใกล้ นี้เรียกว่ารูปใกล้ หรือพึงทราบรูปไกลรูปใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไปเวทนาขันธ์ [๘] เวทนาขันธ์ เป็นไฉน เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ เวทนาอดีต เวทนาอนาคต เวทนา ปัจจุบัน เวทนาภายใน เวทนาภายนอก เวทนาหยาบ เวทนา ละเอียด เวทนาทราม เวทนาประณีต เวทนาไกล เวทนาใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าเวทนาขันธ์ [๙] ในเวทนาขันธ์นั้น เวทนาอดีต เป็นไฉน เวทนาใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ ดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้า กับส่วนอดีต ได้แก่สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่าเวทนาอดีต เวทนาอนาคต เป็นไฉน เวทนาใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่ บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาอนาคต เวทนาปัจจุบัน เป็นไฉน เวทนาใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่ง แล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่าเวทนาปัจจุบัน [๑๐] เวทนาภายใน เป็นไฉน เวทนาใด ของสัตว์นั้นๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะ บุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่าเวทนาภายใน เวทนาภายนอก เป็นไฉน เวทนาใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิด ในตน มีเฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่าเวทนาภายนอก [๑๑] เวทนาหยาบ เวทนาละเอียด เป็นไฉน อกุศลเวทนาเป็นเวทนาหยาบ กุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็นเวทนา ละเอียด กุศลเวทนาและอกุศลเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อัพยากตเวทนาเป็นเวทนา ละเอียด ทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนา ละเอียด สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนา ละเอียด เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาหยาบ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็น เวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่ไม่เป็น อารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาละเอียด หรือพึงทราบเวทนาหยาบเวทนาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๑๒] เวทนาทราม เวทนาประณีต เป็นไฉน อกุศลเวทนาเป็นเวทนาทราม กุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็นเวทนา ประณีต กุศลเวทนาและอกุศลเวทนาเป็นเวทนาทราม อัพยากตเวทนาเป็นเวทนา ประณีต ทุกขเวทนาเป็นเวทนาทราม สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนา ประณีต สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาทราม อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนา ประณีต เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาทราม เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็น เวทนาประณีต เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาทราม เวทนาที่ไม่เป็น อารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาประณีต หรือพึงทราบเวทนาทรามเวทนาประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๑๓] เวทนาไกล เป็นไฉน อกุศลเวทนาไกลจากกุศลเวทนาและอัพยากตเวทนา กุศลเวทนาและ อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอกุศลเวทนา กุศลเวทนาเป็นเวทนาไกลจาก อกุศลเวทนาและอัพยากตเวทนา อกุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็นเวทนาไกล จากกุศลเวทนา อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาไกลจากกุศลเวทนาและอกุศลเวทนา กุศลเวทนาและอกุศลเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอัพยากตเวทนา ทุกขเวทนาเป็น เวทนาไกลจากสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น เวทนาไกลจากทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากทุกขเวทนาและอทุกขม สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนา อทุกขม- *สุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนาและทุกขเวทนา สุขเวทนาและทุกขเวทนา เป็นเวทนาไกลจากอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาไกลจาก เวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็นเวทนาไกลจากเวทนาของผู้ไม่ เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่ไม่เป็น อารมณ์ของอาสวะ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่ เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าเวทนาไกล เวทนาใกล้ เป็นไฉน อกุศลเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอกุศลเวทนา กุศลเวทนาเป็นเวทนาใกล้ กับกุศลเวทนา อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอัพยากตเวทนา ทุกขเวทนาเป็น เวทนาใกล้กับทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับสุขเวทนา อทุกขมสุข- *เวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนา ใกล้กับเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็นเวทนาใกล้กับเวทนา ของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาที่เป็น อารมณ์ของอาสวะ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาที่ไม่ เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าเวทนาใกล้ หรือพึงทราบเวทนาไกลเวทนาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้นๆ เป็น ชั้นๆ ไปสัญญาขันธ์ [๑๔] สัญญาขันธ์ เป็นไฉน สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สัญญาอดีต สัญญาอนาคต สัญญาปัจจุบัน สัญญาภายใน สัญญาภายนอก สัญญาหยาบ สัญญาละเอียด สัญญาทราม สัญญาประณีต สัญญาไกล สัญญาใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าสัญญาขันธ์ [๑๕] ในสัญญาขันธ์ นั้น สัญญาอดีต เป็นไฉน สัญญาใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ ดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้า กับส่วนอดีต ได้แก่จักขุสัมผัสสชาสัญญา โสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชา สัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาอดีต สัญญาอนาคต เป็นไฉน สัญญาใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุ- *สัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาอนาคต สัญญาปัจจุบัน เป็นไฉน สัญญาใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาปัจจุบัน [๑๖] สัญญาภายใน เป็นไฉน สัญญาใด ของสัตว์นั้นๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุสัมผัสสชา- *สัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาภายใน สัญญาภายนอก เป็นไฉน สัญญาใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิด ในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาภายนอก [๑๗] สัญญาหยาบ สัญญาละเอียด เป็นไฉน สัญญาอันเกิดแต่ปฏิฆสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่ปัญจทวาร) เป็นสัญญา หยาบ สัญญาอันเกิดแต่อธิวจนสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่มโนทวาร) เป็นสัญญา ละเอียด อกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น สัญญาละเอียด กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ อัพยากตสัญญา เป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข เวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาหยาบ สัญญา ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญา หยาบ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาละเอียด หรือพึงทราบสัญญาหยาบสัญญาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญา นั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๑๘] สัญญาทราม สัญญาประณีต เป็นไฉน อกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญา ประณีต กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม อัพยากตสัญญาเป็น สัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นสัญญาทราม สัญญาที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาทราม สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข เวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาทราม สัญญาของ ผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาทราม สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาประณีต หรือพึงทราบสัญญาทรามสัญญาประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๑๙] สัญญาไกล เป็นไฉน อกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา กุศล สัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญา ไกลจากอกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา อกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น สัญญาไกลจากกุศลสัญญา อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและ อกุศลสัญญา กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอัพยากตสัญญา สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น สัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่ สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญา ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกข- *เวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่ เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติ เป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของ อาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าสัญญาไกล สัญญาใกล้ เป็นไฉน อกุศลสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญา ใกล้กับกุศลสัญญา อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอัพยากตสัญญา สัญญาที่ สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญา ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญา ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข เวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็น อารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้ เรียกว่าสัญญาใกล้ หรือพึงทราบสัญญาไกลสัญญาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไปสังขารขันธ์ [๒๐] สังขารขันธ์ เป็นไฉน สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง คือ สังขารอดีต สังขารอนาคต สังขาร ปัจจุบัน สังขารภายใน สังขารภายนอก สังขารหยาบ สังขารละเอียด สังขารทราม สังขารประณีต สังขารไกล สังขารใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็น กองเดียวกัน นี้เรียกว่าสังขารขันธ์ [๒๑] ในสังขารขันธ์นั้น สังขารอดีต เป็นไฉน สังขารเหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึง ความดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์ เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชาเจตนา ฆานสัม- *ผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา มโนสัมผัสสชา เจตนา นี้เรียกว่าสังขารอดีต สังขารอนาคต เป็นไฉน สังขารเหล่าใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่พร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่ บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้น พร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารอนาคต สังขารปัจจุบัน เป็นไฉน สังขารเหล่าใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิด ยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารปัจจุบัน [๒๒] สังขารภายใน เป็นไฉน สังขารเหล่าใด ของสัตว์นั้นๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุสัมผัสสชา- *เจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารภายใน สังขารภายนอก เป็นไฉน สังขารเหล่าใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารภายนอก [๒๓] สังขารหยาบ สังขารละเอียด เป็นไฉน อกุศลสังขารเป็นสังขารหยาบ กุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขาร ละเอียด กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารหยาบ อัพยากตสังขารเป็น สังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข- *เวทนาเป็นสังขารละเอียด สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารหยาบ สังขาร ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารละเอียด สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขาร หยาบ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารละเอียด หรือพึงทราบสังขารหยาบสังขารละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสังขาร นั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๒๔] สังขารทราม สังขารประณีต เป็นไฉน อกุศลสังขารเป็นสังขารทราม กุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขาร ประณีต กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารทราม อัพยากตสังขารเป็น สังขารประณีต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารทราม สังขารที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารประณีต สังขารที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารทราม สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข- *เวทนาเป็นสังขารประณีต สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารทราม สังขาร ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารประณีต สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขาร ทราม สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารประณีต หรือพึงทราบสังขารทรามสังขารประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๒๕] สังขารไกล เป็นไฉน อกุศลสังขารเป็นสังขารไกลจากกุศลสังขารและอัพยากตสังขาร กุศล สังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขารไกลจากอกุศลสังขาร กุศลสังขารเป็นสังขาร ไกลจากอกุศลสังขารและอัพยากตสังขาร อกุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็น สังขารไกลจากกุศลสังขาร อัพยากตสังขารเป็นสังขารไกลจากกุศลสังขารและ อกุศลสังขาร กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารไกลจากอัพยากตสังขาร สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น สังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สังขาร ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขาร ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและ ทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สังขารของ ผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติ เป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น สังขารไกลจากสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของ อาสวะเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าสังขารไกล สังขารใกล้ เป็นไฉน อกุศลสังขารเป็นสังขารใกล้กับอกุศลสังขาร กุศลสังขารเป็นสังขารใกล้ กับกุศลสังขาร อัพยากตสังขารเป็นสังขารใกล้กับอัพยากตสังขาร สังขารที่ สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สังขาร ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สังขาร ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข- *เวทนา สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้เข้าสมาบัติ สังขารที่เป็น อารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สังขารที่ไม่ เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียก ว่าสังขารใกล้ หรือพึงทราบสังขารไกลสังขารใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไปวิญญาณขันธ์ [๒๖] วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ วิญญาณอดีต วิญญาณอนาคต วิญญาณปัจจุบัน วิญญาณภายใน วิญญาณภายนอก วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด วิญญาณทราม วิญญาณประณีต วิญญาณไกล วิญญาณใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์ [๒๗] ในวิญญาณขันธ์นั้น วิญญาณอดีต เป็นไฉน วิญญาณใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ ดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์ เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา- *วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณอดีต วิญญาณอนาคต เป็นไฉน วิญญาณใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยัง ไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยัง ไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณอนาคต วิญญาณปัจจุบัน เป็นไฉน วิญญาณใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิด ยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อม แล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโน- *วิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณปัจจุบัน [๒๘] วิญญาณภายใน เป็นไฉน วิญญาณใด ของสัตว์นั้นๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะ บุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณภายใน วิญญาณภายนอก เป็นไฉน วิญญาณใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิด ในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุ- *วิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณภายนอก [๒๙] วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด เป็นไฉน อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณหยาบ กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็น วิญญาณละเอียด กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณหยาบ อัพยากต- *วิญญาณเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณ หยาบ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของ อาสวะเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณละเอียด หรือพึงทราบวิญญาณหยาบวิญญาณละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณ นั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๓๐] วิญญาณทราม วิญญาณประณีต เป็นไฉน อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณทราม กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็น วิญญาณประณีต กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณทราม อัพยากต- *วิญญาณเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณทราม วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณทราม วิญญาณที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณ ทราม วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของ อาสวะเป็นวิญญาณทราม วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณประณีต หรือพึงทราบวิญญาณทรามวิญญาณประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณ นั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๓๑] วิญญาณไกล เป็นไฉน อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากกุศลวิญญาณ และอัพยากตวิญญาณ กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากอกุศลวิญญาณ กุศลวิญญาณ เป็นวิญญาณไกลจากอกุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณ อกุศลวิญญาณและ อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากกุศลวิญญาณ อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณ ไกลจากกุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณ กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็น วิญญาณไกลจากอัพยากตวิญญาณ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณ ไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา เป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วย ทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุต ด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและ อทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา วิญญาณที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา และทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณไกล จากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็น วิญญาณไกลจากวิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณ ไกลจากวิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณ ไกลจากวิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าวิญญาณไกล วิญญาณใกล้ เป็นไฉน อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณใกล้กับอกุศลวิญญาณ กุศลวิญญาณเป็น วิญญาณใกล้กับกุศลวิญญาณ อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณใกล้กับอัพยากตวิญญาณ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกข- *เวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วย สุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณใกล้กับ วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณ ของผู้เข้าสมาบัติ วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่ เป็นอารมณ์ของอาสวะ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าวิญญาณใกล้ หรือพึงทราบวิญญาณไกลวิญญาณใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไปสุตตันตภาชนีย์ จบ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑-๓๙๒ หน้าที่ ๑-๑๗. https://84000.org/tipitaka/v.php?B=35&A=1&Z=392&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/m_siri.php?B=35&siri=1 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35