ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
อภิธรรมภาชนีย์
[๑๒๔] ธาตุ ๑๘ คือ ๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ ๓. จักขุวิญญาณธาตุ ๔. โสตธาตุ ๕. สัททธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ ๗. ฆานธาตุ ๘. คันธธาตุ ๙. ฆานวิญญาณธาตุ ๑๐. ชิวหาธาตุ ๑๑. รสธาตุ ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ ๑๓. กายธาตุ ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ ๑๕. กายวิญญาณธาตุ ๑๖. มโนธาตุ ๑๗. ธรรมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ [๑๒๕] ในธาตุ ๑๘ นั้น จักขุธาตุ เป็นไฉน จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ ๑- นี้เรียกว่า บ้านว่าง บ้าง นี้เรียกว่า จักขุธาตุ รูปธาตุ เป็นไฉน รูปใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ได้แก่ สี ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ เป็นไฉน @๑. ความที่ ฯลฯ ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ พึงดูความเต็มในธรรมสังคณีปกรณ์ @ตั้งแต่ข้อ (๕๑๖) เป็นลำดับไป จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยจักขุปสาทและรูปารมณ์ เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จักขุวิญญาณธาตุ [๑๒๖] โสตธาตุ เป็นไฉน โสตะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง บ้าง นี้เรียกว่า โสตธาตุ สัททธาตุ เป็นไฉน เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า สัททธาตุบ้าง นี้เรียกว่า สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ โสตวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยโสตปสาทและสัททารมณ์ เกิดขึ้น นี้เรียกว่า โสตวิญญาณธาตุ [๑๒๗] ฆานธาตุ เป็นไฉน ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง บ้าง นี้เรียกว่า ฆานธาตุ คันธธาตุ เป็นไฉน กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า คันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ฆานวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยฆานปสาทและคันธารมณ์ เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ฆานวิญญาณธาตุ [๑๒๘] ชิวหาธาตุ เป็นไฉน ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง บ้าง นี้เรียกว่า ชิวหาธาตุ รสธาตุ เป็นไฉน รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า รสธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ชิวหาวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยชิวหาปสาทและรสารมณ์ เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชิวหาวิญญาณธาตุ [๑๒๙] กายธาตุ เป็นไฉน กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง บ้าง นี้เรียกว่า กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ เป็นไฉน ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ กายวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยกายปสาทและโผฏฐัพพารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า กายวิญญาณธาตุ [๑๓๐] มโนธาตุ เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของจักขุวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ ของโสตวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ ของฆานวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ ของชิวหาวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิด ดับของกายวิญญาณธาตุ หรือความพิจารณาอารมณ์ทีแรกในธรรมทั้งปวง นี้เรียกว่า มโนธาตุ ธรรมธาตุ เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ และอสังขตธาตุ ในธรรมธาตุนั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวด ละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ เป็นไฉน สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สัญญาขันธ์หมวด ละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สัญญาขันธ์ หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เป็นไฉน สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละมาก อย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ เป็นไฉน อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบ ไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ อสังขตธาตุ เป็นไฉน ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้เรียกว่า ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เป็นไฉน มโนธาตุเกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของจักขุวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของ มโนธาตุอีกชั้นหนึ่ง มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของโสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ เกิดในลำดับ แห่งการเกิดดับของกายวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ ที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของมโนธาตุอีกชั้นหนึ่ง จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า มโน- *วิญญาณธาตุ
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๒๒๕๒-๒๓๖๖ หน้าที่ ๙๗-๑๐๒. https://84000.org/tipitaka/v.php?B=35&A=2252&Z=2366&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/m_siri.php?B=35&siri=12              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=124              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย