ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 13อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 14อ่านอรรถกถา 21 / 15อ่านอรรถกถา 21 / 274
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จรวรรคที่ ๒
๔. สังวรสูตร

               อรรถกถาสังวรสูตรที่ ๔               
               พึงทราบวินิจฉัยในสังวรสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
               ความเพียร ชื่อปธาน.
                         ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ผู้สำรวมจักษุเป็นต้น ชื่อสังวรปธาน.
                         ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ผู้ละกามวิตกเป็นต้น ชื่อปหานปธาน.
                         ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญสัมโพชฌงค์ ชื่อภาวนาปธาน.
                         ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ตามรักษาสมาธินิมิต ชื่ออนุรักขนาปธาน.
               ในบทว่า วิเวกนิสฺสิตํ เป็นอาทิ มีวินิจฉัยดังนี้
               แม้บททั้ง ๓ คือ วิเวก วิราคะ นิโรธเป็นชื่อของนิพพาน. แท้จริงนิพพาน ชื่อวิเวก เพราะสงัดจากอุปธิ. ชื่อวิราคะ เพราะราคะเป็นต้นอาศัยนิพพานนั้น จึงคลายไป. ชื่อนิโรธ เพราะราคะเป็นต้นอาศัยนิพพานนั้น ก็ดับไป เพราะฉะนั้น ในบทว่า วิเวกนิสฺสิตํ เป็นอาทิ จึงมีความว่า อาศัยนิพพานโดยเป็นอารมณ์บ้าง โดยเป็นธรรมที่พึงบรรลุบ้าง.
               ในบทว่า โวสฺสคฺคปริณามึ นี้ โวสสัคคะมี ๒ คือ ปริจจาคโวสสัคคะ ๑ ปักขันทนโวสสัคคะ ๑. ในสองอย่างนั้น วิปัสสนาชื่อปริจจาคโวสสัคคะ เพราะสละราคะในกิเลสและขันธ์ ด้วยอำนาจตทังคปหาน มรรค ชื่อปักขันทนโวสสัคคะ เพราะแล่นไปสู่นิพพานด้วยอำนาจอารมณ์. เพราะฉะนั้น ในบทว่า โวสฺสคฺคปริณามึ นี้ จึงเนื้อความดังนี้ว่า สติสัมโพชฌงค์ที่ภิกษุเจริญอยู่โดยประการใด ย่อมน้อมไปเพื่อสละ ย่อมถึงวิปัสสนาภาวนาและมัคคภาวนา ภิกษุย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์นั้น โดยประการนั้น แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล.
               บทว่า ภทฺทกํ ได้แก่ ที่ได้แล้ว. สมาธิที่ได้แล้วด้วยอำนาจอัฏฐิกสัญญาเป็นต้น เรียกว่าสมาธินิมิต.
               บทว่า อนุรกฺขติ ได้แก่ ทำราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นข้าศึกต่อสมาธิ ให้เหือดแห้งไปรักษาไว้. ก็สัญญา ๕ มีอัฏฐิกสัญญาเป็นต้น ตรัสไว้ในข้อนี้ แต่ในที่นี้ พึงกล่าวอสุภสัญญา ๑๐ ให้พิสดารด้วย.
               ความพิสดารของอสุภสัญญานั้น กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
               ในคาถา ท่านกล่าวความเพียรอย่างเดียวที่ให้สำเร็จสังวรเป็นต้น โดยชื่อว่าสังวร.
               บทว่า ขยํ ทุกฺขสฺส ปาปุเณ คือพึงบรรลุพระอรหัต กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์.

               จบอรรถกถาสังวรสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จรวรรคที่ ๒ ๔. สังวรสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 13อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 14อ่านอรรถกถา 21 / 15อ่านอรรถกถา 21 / 274
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=389&Z=418
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6753
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6753
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :