ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 40อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 41อ่านอรรถกถา 21 / 42อ่านอรรถกถา 21 / 274
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ โรหิตัสสวรรคที่ ๕
๑. สมาธิสูตร

               โรหิตัสสวรรคที่ ๕               
               อรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๑               
               พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ญาณทสฺสนปฏิลาภาย ความว่า เพื่อได้ญาณทัสนะคือทิพยจักษุ.
               บทว่า ทิวา สญฺญํ อธิฏฺฐาติ ความว่า ย่อมตั้งความกำหนดหมายอย่างนี้ว่ากลางวัน ดังนี้.
               บทว่า ยถา ทิวา ตถา รตฺตึ ความว่า ทำในใจถึงอาโลกสัญญาความกำหนดหมายว่าแสงสว่างในเวลากลางวันฉันใด ย่อมทำในใจถึงอาโลกสัญญานั้น แม้ในกลางคืนก็ฉันนั้นนั่นแหละ.
               แม้ในบทที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า สปฺปภาสํ ได้แก่ มีแสงสว่างคือทิพยจักษุญาณ แม้ทำจิตให้เป็นเสมือนแสงสว่างได้แล้วก็จริง ถึงกระนั้น บัณฑิตก็พึงกำหนดเนื้อความอย่างนี้. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์แสงสว่างคือทิพยจักษุญาณ.
               บทว่า วิทิตา ได้แก่ ปรากฏแล้ว.
               ถามว่า อย่างไร เวทนาที่รู้แล้ว ชื่อว่าเกิดขึ้น ที่รู้แล้ว ชื่อว่าดับไป.
               ตอบว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมกำหนดวัตถุ ย่อมกำหนดอารมณ์ เพราะภิกษุนั้นกำหนดวัตถุและอารมณ์แล้ว เวทนาที่รู้อย่างนี้ว่าเวทนาเกิดขึ้นอย่างนี้ ตั้งอยู่อย่างนี้ ดับไปอย่างนี้ ชื่อว่าเกิดขึ้น ที่รู้แล้ว ชื่อว่าตั้งอยู่ ที่รู้แล้ว ชื่อว่าดับไป. แม้ในสัญญาและวิตกก็นัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า อุทยพฺพยานุปสฺสี แปลว่า พิจารณาเห็นความเกิดและความเสื่อม.
               บทว่า อิติ รูปํ ความว่า รูปเป็นอย่างนี้ รูปมีเท่านี้ รูปอื่นนอกนี้ไม่มี.
               บทว่า อิติ รูปสฺส สมุทโย ความว่า ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้.
               ส่วนบทว่า อตฺถงฺคโม ท่านหมายถึงความแตกดับ.
               แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า อิทญฺจ ปน เม ตํ ภิกฺขเว สนฺธาย ภาสิตํ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำเป็นต้นว่า สงฺขาย โลกสฺมิ ใด เรากล่าวแล้ว ในปุณณกปัญหา (โสฬสปัญหา). คำนั้นเรากล่าวหมายถึงผลสมาบัตินี้.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขาย ได้แก่ รู้ด้วยญาณ.
               บทว่า โลกสฺมิ ได้แก่ ในโลกคือหมู่สัตว์.
               บทว่า ปโรปรานิ ได้แก่ ความยิ่งและหย่อน คือสูงและต่ำ.
               บทว่า อิญฺชิตํ ได้แก่ ความหวั่นไหว.
               บทว่า นตฺถิ กุหิญฺจิ โลเก ความว่า ความหวั่นไหวของผู้ใด ในที่ไหนๆ ไม่ว่าจะในขันธ์หนึ่งก็ดี อายตนะหนึ่งก็ดี ธาตุหนึ่งก็ดี อารมณ์หนึ่งก็ดี ย่อมไม่มีในโลก.
               บทว่า สนฺโต ความว่า ผู้นั้นเป็นคนสงบ เพราะสงบกิเลสที่เป็นข้าศึก.
               บทว่า วิธูโม ความว่า เป็นผู้ปราศจากกิเลสดุจควัน เพราะควันคือความโกรธ.
               ในพระสูตรนี้ ตรัสถึงเอกัคคตาในมรรค ในคาถาตรัสผลสมาบัติอย่างเดียวด้วยประการฉะนี้แล.

               จบอรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๑               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ โรหิตัสสวรรคที่ ๕ ๑. สมาธิสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 40อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 41อ่านอรรถกถา 21 / 42อ่านอรรถกถา 21 / 274
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=1188&Z=1233
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=7922
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=7922
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :