ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 170อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 171อ่านอรรถกถา 32 / 172อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๗. สุปาริจริยวรรค
๙. สมาทปกเถราปทาน (๑๖๙)

               ๑๖๙. อรรถกถาสมาทปกเถราปทาน               
               อปทานของท่านพระสมาทปกเถระมีคำเริ่มต้นว่า พนฺธุมติยา นคเร ดังนี้.
               พระเถระแม้นี้ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลสมภารมาแล้วในสำนักของพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในหลายภพเป็นประจำเสมอ.
               ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี ท่านได้เกิดในเรือนอันมีสกุล เจริญวัยแล้วดำรงอยู่ในเพศฆราวาส ตั้งใจบำเพ็ญบุญเป็นนิตย์ มีศรัทธาเลื่อมใส สั่งให้ประชุมพวกอุบาสกเป็นจำนวนมากแล้ว ตนเองเป็นหัวหน้าคณะ (อุบาสก) ปรึกษาหารือกันว่า พวกเราจักช่วยกันสร้างเรือนยอดเดียว (ศาลา) แล้วชักชวนคนทั้งหมดเหล่านั้นให้ทำพื้นเรือนยอดหลังหนึ่งให้เรียบเสมอ เกลี่ยทรายขาวสะอาดลงไปแล้ว น้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
               ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้บังเกิดในเทวโลก ได้เสวยสมบัติในกามาวจร ๖ ชั้นแล้ว ได้เกิดในมนุษยโลกได้เสวยจักรพรรดิสมบัติเป็นต้นในหมู่มนุษย์.
               ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้วเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ฟังธรรมแล้ว มีใจเลื่อมใส เกิดศรัทธาบวชแล้ว สมบูรณ์ด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยวัตรปฏิบัติ ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต.
               ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงกุศลกรรมที่ตนกระทำไว้ได้เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า พนฺธุมติยา นคเร ดังนี้.
               พึงทราบวิเคราะห์ในบทนั้นว่า
               ชื่อว่า พนฺธุ เพราะคนทั้งหลายผูกพันเกี่ยวเนื่องเป็นอันเดียวกัน ด้วยอำนาจแห่งญาติและโคตรเป็นต้น คือเป็นชาวพระนครเดียวกันทั้งหมด.
               ชื่อว่าพันธุมดี เพราะเป็นพวกพ้องอยู่กันมีอยู่ในพระนครนั้น.
               อธิบายว่า พวกอุบาสกหมู่ใหญ่ได้มีในพระนครชื่อว่า พันธุมดีนั้น.
               ในบทว่า มาฬํ กสฺสาม สงฺฆสฺส๑- นี้มีวิเคราะห์ว่า
               ชื่อว่ามาฬํ เพราะย่อมนับถือกำหนดใจของพวกชนที่มาถึงแล้วทุกๆ คน.
               อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามาฬํ เพราะเป็นสถานที่เหมาะในการทำใจให้สงบสงัดแก่หมู่ภิกษุที่มาถึงแล้ว,
               มาฬํ นั่นแหละเป็น มาฬกํ.
               อธิบายว่า พวกเราจักสร้างเรือนยอดเพื่อความอยู่สุขสบายถวายแด่ภิกษุสงฆ์.
____________________________
๑- บาลีว่า มาฬํ กริสฺสาม สงฺฆสฺส.

               คำที่เหลือมีเนื้อความปรากฏชัดเจนอยู่แล้วทีเดียว.
               จบอรรถกถาสมาทปกเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๗. สุปาริจริยวรรค ๙. สมาทปกเถราปทาน (๑๖๙) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 170อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 171อ่านอรรถกถา 32 / 172อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=4503&Z=4518
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=4588
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=4588
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :