ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ รูป ”             ผลการค้นหาพบ  8  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 8
[38] รูป 2, 28 (สภาวะที่แปรปรวนแตกสลายเพราะปัจจัยต่างๆ อันขัดแย้ง, ร่างกายและส่วนประกอบฝ่ายวัตถุพร้อมทั้งพฤติกรรมและคุณสมบัติของมัน, ส่วนที่เป็นร่างกับทั้งคุณและอาการ : corporeality; materiality; matter)
       1. มหาภูต หรือ ภูตรูป 4 (สภาวะอันปรากฏได้เป็นใหญ่ๆ โตๆ หรือเป็นต่างๆ ได้มากมาย, รูปที่มีอยู่โดยสภาวะ, รูปต้นเดิม ได้แก่ ธาตุ 4 : primary elements)
       2. อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป 24 (รูปอาศัย, รูปที่เป็นไปโดยอาศัยมหาภูต, คุณและอาการแห่งมหาภูต : derivative materiality)

M.II.262;
Ps.I.183
ม.อุ. 14/83/75;
ขุ.ปฏิ. 31/403/275.

       รูป 28 ก็คือรูป 2 หมวดข้างต้นนี้เอง แต่นับข้อย่อย กล่าวคือ
       1. มหาภูต หรือ ภูตรูป 4 (รูปใหญ่, รูปเดิม : primary elements; great essentials) ดู [39]
       2. อุปาทายรูป 24 (รูปอาศัย, รูปสืบเนื่อง : derived material qualities) ดู [40]

Comp.157. สงฺคห. 33.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 8
[39] มหาภูต หรือ ภูตรูป 4 (the Four Primary Elements; primary matter)
       1. ปฐวีธาตุ (สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่, สภาพอันเป็นหลักที่ตั้งที่อาศัยแห่งสหชาตรูป เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็ง หรือ ธาตุดิน : element of extension; solid element; earth)
       2. อาโปธาตุ (สภาวะที่เอิบอาบหรือดูดซึม หรือซ่านไป ขยายขนาด ผนึก พูนเข้าด้วยกัน เรียกสามัญว่า ธาตุเหลว หรือ ธาตุน้ำ : element of cohesion; fluid element; water)
       3. เตโชธาตุ (สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ : element of heat or radiation; heating element; fire)
       4. วาโยธาตุ (สภาวะที่ทำให้สั่นไหวเคลื่อนที่ และค้ำจุน เรียกสามัญว่า ธาตุลม : element of vibration or motion; air element; wind)

       สี่อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธาตุ 4

D.I.214;
Vism. 443;
Comp. 154.
ที.สี. 9/343/277;
วิสุทธิ. 3/11;
สงฺคห. 33

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 8
[40] อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป 24 (derivative materiality)
       ก. ปสาทรูป 5 (รูปที่เป็นประสาทสำหรับรับอารมณ์: sensitive material qualities)
           1. จักขุ (ตา - the eye)
           2. โสต (หู - the ear)
           3. ฆาน (จมูก - the nose)
           4. ชิวหา (ลิ้น - the tongue)
           5. กาย (กาย - the body)

       ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป 5 (รูปที่เป็นอารมณ์หรือแดนรับรู้ของอินทรีย์ : material qualities of sense-fields)
           6. รูปะ (รูป - form)
           7. สัททะ (เสียง - sound)
           8. คันธะ (กลิ่น - smell)
           9. รสะ (รส - taste)
           0. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย - tangible objects) ข้อนี้ไม่นับเพราะเป็นอันเดียวกับมหาภูต 3 คือ ปฐวี เตโช และ วาโย ที่กล่าวแล้วในมหาภูต

       ค. ภาวรูป 2 (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ - material qualities of sex)
           10. อิตถัตตะ, อิตถินทรีย์ (ความเป็นหญิง - femininity)
           11. ปุริสัตตะ, ปุริสินทรีย์ (ความเป็นชาย - masculinity)

       ง. หทยรูป 1 (รูปคือหทัย - physical basis of mind)
           12. หทัยวัตถุ* (ที่ตั้งแห่งใจ, หัวใจ - heart-base)
*ข้อนี้ ในพระไตรปิฎก รวมทั้งอภิธรรมปิฎก ไม่มี เว้นแต่ปัฏฐานใช้คำว่า “วัตถุ” ไม่มีหทัย

       จ. ชีวิตรูป 1 (รูปที่เป็นชีวิต - material qualities of life)
           13. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต - life-faculty; vitality; vital force)

       ฉ. อาหารรูป 1 (รูปคืออาหาร - material quality of nutrition)
           14. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว, อาหารที่กิน : edible food; nutriment)

       ช. ปริจเฉทรูป 1 (รูปที่กำหนดเทศะ : material quality of delimitation)
           15. อากาสธาตุ (สภาวะคือช่องว่าง : space-element)

       ญ. วิญญัติรูป 2 (รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย : material intimation; gesture)
           16. กายวิญญัติ (การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยกาย : bodily intimation; gesture)
           17. วจีวิญญัติ (การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา : verbal intimation; speech)

       ฏ. วิการรูป 5 (รูปคืออาการที่ดัดแปลงทำให้แปลกให้พิเศษได้ : material quality of plasticity or alterability)
           18. (รูปัสส) ลหุตา (ความเบา - lightness; agility)
           19. (รูปัสส) มุทุตา (ความอ่อนสลวย : elasticity; malleability)
           20. (รูปัสส) กัมมัญญตา (ความควรแก่การงาน, ใช้การได้ : adaptability; wieldiness)
           0. วิญญัติรูป 2 ไม่นับเพราะซ้ำในข้อ ญ.

       ฏ. ลักขณรูป 4 (รูปคือลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกำหนด : material quality of salient features)
           21. (รูปัสส) อุปจย (ความก่อตัวหรือเติบขึ้น : growth; integration)
           22. (รูปัสส) สันตติ (ความสืบต่อ : continuity)
           23. (รูปัสส) ชรตา (ความทรุดโทรม : decay)
           24. (รูปัสส) อนิจจตา (ความปรวนแปรแตกสลาย : impermanence)

Dhs. 127;
Vism.443;
Comp.155
อภิ.สํ. 34/504/185;
วิสุทธิ. 3/11;
สงฺคห. 34

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 8
[41] รูป 2 (สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ : matter; materiality)
       1. อุปาทินนกรูป (รูปที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่รูปที่เกิดจากกรรม : kammically grasped materiality; clung-to materiality; organic matter)
       2. อนุปาทินนกรูป (รูปที่กรรมไม่ยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่รูปที่มิใช่เกิดจากกรรม : kammically ungrasped materiality; not-clung-to materiality; inorganic matter)

Vbh.14;
Vism.450;
Comp.159
อภิ.วิ. 35/36/19;
วิสุทธิ. 3/20;
สงฺคห. 35.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 8
[168] มิตรปฏิรูปก์ หรือ มิตรเทียม 4 (คนเทียมมิตร, คนที่พึงทราบว่า เป็นศัตรูผู้มาในร่างของมิตร - false friends; foes in the guise of friends)
       1. คนปอกลอก คนขนเอาของเพื่อนไปถ่ายเดียว (อัญญทัตถุหร - the out-and-out robber) มีลักษณะ 4 คือ
           1) คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
           2) ยอมเสียน้อย โดยหวังจะเอามาก
           3) ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน
           4) คบเพื่อน เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์
           a) He appropriates his friend's possessions.
           b) Giving little, he expects a lot in return.
           c) He gives a helping hand only when he himself is in danger.
           d) He makes friends with others only for his own interests.
       2. คนดีแต่พูด (วจีบรม - the man who pays lip-service) มีลักษณะ 4 คือ
           1) ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย
           2) ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย
           3) สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้
           4) เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง
           a) He speaks you fair about the past.
           b) He speaks you fair about the future
           c) He tries to gain your favor by empty sayings.
           d) When tries to gain your favor by empty sayings.
       3. คนหัวประจบ (อนุปปิยภาณี - the flatterer) มีลักษณะ 4 คือ
           1) จะทำชั่วก็เออออ
           2) จะทำดีก็เออออ
           3) ต่อหน้าสรรเสริญ
           4) ลับหลังนินทา
           a) He consents to your doing wrong.
           b) He consents to your doing right.
           c) He sings your praises to your face.
           d) He runs your down behind your back.
       4. คนชวนฉิบหาย (อปายสหาย - the leader to destruction) มี ลักษณะ 4 คือ
           1) คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา
           2) คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน
           3) คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
           4) คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน
           a) He is your companion when you indulge in drinking.
           b) He is your companion when you roam the streets at unseemly hours.
           c) He is your companion when you frequent shows and fairs.
           d) He is your companion when you indulge in gambling.

D.III.185. ที.ปา. 11/186/199.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 8
[207] อรูป หรือ อารุปป์ 4 (ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ คืออรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม - absorptions of the Formless Sphere; the Formless Spheres; immaterial states)
       1. อากาสานัญจายตนะ (ฌานอันกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of infinity of space)
       2. วิญญาณัญจายตนะ (ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of infinity of consciousness)
       3. อากิญจัญญายตนะ (ฌานอันกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of nothingness)
       4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ฌานอันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of neither perception nor non-perception)

D.III.224;
S.IV.227.
ที.ปา. 11/235/235;
สํ.สฬ. 18/519/326.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 8
[266] ปิยรูป สาตรูป 6 x 10 (สิ่งที่มีสภาวะน่ารักน่าชื่นใจ เป็นที่เกิดและเป็นที่ดับของตัณหา — delightful and pleasurable things)
       หมวด 1 ดู [276] อายตนะภายใน 6
       หมวด 2 ดู [277] อายตนะภายนอก 6
       หมวด 3 ดู [268] วิญญาณ 6
       หมวด 4 ดู [272] สัมผัส 6
       หมวด 5 ดู [113] เวทนา 6
       หมวด 6 ดู [271] สัญญา 6
       หมวด 7 ดู [263] สัญเจตนา 6
       หมวด 8 ดู [264] ตัณหา 6
       หมวด 9 ได้แก่ วิตก 6 คือ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก (ความตริตรึกเกี่ยวกับรูป ฯลฯ — thought conception concerning visual forms, etc.)
       หมวด 10 ได้แก่ วิจาร 6 คือ รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับรูป ฯลฯ — thought concerning visual forms, etc.)

D.II.308;
M.1.62.
ที.ม. 10/297/343;
ม.มู. 12/147/120

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 8
[351] ภูมิ 4 หรือ 31 (ชั้นแห่งจิต, ระดับจิตใจ, ระดับชีวิต — planes of existence; planes of life)
       1. อบายภูมิ 4 (ภูมิที่ปราศจากความเจริญ — planes of loss and woe; unhappy planes)
           1) นิรยะ (นรก — woeful state; hell)
           2) ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดดิรัจฉาน — animal kingdom)
           3) ปิตติวิสัย (แดนเปรต — ghost-sphere)
           4) อสุรกาย (พวกอสูร — host of demons)

       2. กามสุคติภูมิ 7 (กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ, ภูมิที่เป็นสุคติซึ่งยังเกี่ยวข้องกับกาม — sensuous blissful planes)
           1) มนุษย์ (ชาวมนุษย์ — human realm)
           2) จาตุมมหาราชิกา (สวรรค์ชั้นที่ท้าวมหาราช 4 ปกครอง — realm of the Four Great Kings)
           3) ดาวดึงส์ (แดนแห่งเทพ 33 มีท้าวสักกะเป็นใหญ่ — realm of the Thirty-three Gods)
           4) ยามา (แดนแห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์ — realm of the Yama gods)
           5) ดุสิต (แดนแห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน — realm of satisfied gods)
           6) นิมมานรดี (แดนแห่งเทพผู้ยินดีในการเนรมิต — realm of the gods who rejoice in their own creations)
           7) ปรนิมมิตวสวัตดี (แดนแห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิตให้ — realm of gods who lord over the creation of others)

       ภูมิทั้ง 11 ใน 2 หมวดนี้ รวมเป็น กามาวจรภูมิ 11 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม — sensuous planes)

       3. รูปาวจรภูมิ 16 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป, ชั้นรูปพรหม — form-planes)
       ก. ปฐมฌานภูมิ 3 (ระดับปฐมฌาน — first-Jhana planes)
           1) พรหมปาริสัชชา (พวกบริษัทบริวารมหาพรหม — realm of great Brahmas’ attendants)
           2) พรหมปุโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม — realm of great Brahmas’ ministers)
           3) มหาพรหม (พวกท้าวมหาพรหม — realm of great Brahmas)

       ข. ทุติยฌานภูมิ 3 (ระดับทุติยฌาน — second-Jhana planes)
           4) ปริตตาภา (พวกมีรัศมีน้อย — realm of Brahmas with limited lustre)
           5) อัปปมาณาภา (พวกมีรัศมีประมาณไม่ได้ — realm of Brahmas with infinite lustre)
           6) อาภัสสรา (พวกมีรัศมีสุกปลั่งซ่านไป — realm of Brahmas with radiant lustre)

       ค. ตติยฌานภูมิ 3 (ระดับตติยฌาน — third-Jhana planes)
           7) ปริตตสุภา (พวกมีลำรัศมีงามน้อย — realm of Brahmas with limited aura)
           8) อัปปมาณสุภา (พวกมีลำรัศมีงามประมาณหามิได้ — realm of Brahmas with infinite aura)
           9) สุภกิณหา (พวกมีลำรัศมีงามกระจ่างจ้า — realm of Brahmas with steady aura)

       ง. จตุตถฌานภูมิ 3—7 (ระดับจตุตถฌาน — fourth-Jhana planes)
           10) เวหัปผลา (พวกมีผลไพบูลย์ — realm of Brahmas with abundant reward)
           11) อสัญญีสัตว์ (พวกสัตว์ไม่มีสัญญา — realm of non-percipient beings)

       (*) สุทธาวาส 5 (พวกมีที่อยู่อันบริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ ที่เกิดของพระอนาคามี — pure abodes) คือ
           12) อวิหา (เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน หรือผู้ไม่ละไปเร็ว, ผู้คงอยู่นาน — realm of Brahmas who do not fall from prosperity)
           13) อตัปปา (เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร — realm of Brahmas who are serene)
           14) สุทัสสา (เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา — realm of Brahmas who are beautiful)
           15) สุทัสสี (เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด — realm of Brahmas who are clear-sighted)
           16) อกนิฏฐา (เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร, ผู้สูงสุด — realm of the highest or supreme Brahmas)

       4. อรูปาวจรภูมิ 4 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป, ชั้นอรูปพรหม — formless planes)
           1) อากาสานัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีอากาศไม่มีที่สุด — realm of infinite space)
           2) วิญญาณัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีวิญญาณไม่มีที่สุด — realm of infinite consciousness)
           3) อากิญจัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะไม่มีอะไร — realm of nothingness)
           4) เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ — realm of neither perception nor non-perception)

       ปุถุชน พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ย่อมไม่เกิดในสุทธาวาสภูมิ; พระอริยะไม่เกิดในอสัญญีภพ และในอบายภูมิ; ในภูมินอกจากนี้ ย่อมมีทั้งพระอริยะ และมิใช่อริยะไปเกิด.
       ในพระไตรปิฎก ไม่พบที่ใดแสดงรายชื่อภูมิทั้งหลายไว้ทั้งหมดในที่เดียว บาลีแสดงรายชื่อภูมิมากที่สุด (มีเฉพาะชั้นสุคติภูมิ) พบที่ ม.อุ. 14/318-332/216-225 (M.III. 99-103) กล่าวตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไปจนถึงอรูปาวจรภูมิ.
       ในบาลีแห่งทีฆนิกาย เป็นต้น* แสดงคติ (ที่ไปเกิดของสัตว์, แบบการดำเนินชีวิต — destiny; course of existence) ว่ามี 5 คือ นิรยะ ติรัจฉานโยนิ เปตติวิสัย มนุษย์ และเทพ (พวกเทพ — heavenly world ได้แก่ภูมิ 26 ตั้งแต่จาตุมหาราชิกาขึ้นไปทั้งหมด) จะเห็นว่าภูมิ 31 สงเคราะห์ลงได้ในคติ 5 ทั้งหมด ขาดแต่อสุรกาย อย่างไรก็ดีในอรรถกถาแห่งอิติวุตตกะ** ท่านกล่าวว่า อสูร สงเคราะห์ลงในเปตตวิสัยด้วย จึงเป็นอันสงเคราะห์ลงได้บริบูรณ์ และในคติ 5 นั้น 3 คติแรกจัดเป็นทุคติ (woeful courses) 2 คติหลังเป็นสุคติ (happy courses).
* ที.ปา. 11/281/246; ม.มู 12/170/148; องฺ.นวก. 23/272/450 (D.III.234; M.I.73; A.IV.459)
** อุ.อ. 174; อิติ.อ. 168 (approx., UdA.140; ItA.101)

       อนึ่ง พึงเทียบภูมิ 4 หรือ ภูมิ 31 ข้อนี้ กับ [162] ภูมิ 4 ที่มาในพระบาลีด้วย กล่าวคือ ภูมิ 4 หรือ 31 ชุดนี้ จัดเข้าในภูมิ 3 ข้อต้นใน [162] ภูมิ 4 ดังนี้ อบายภูมิ 4 และกามสุคติภูมิ 7 รวมเข้าเป็นกามาวจรภูมิ (11) ส่วนรูปาวจรภูมิ (16) และ อรูปาวจรภูมิ (4) ตรงกัน รวมภูมิทั้งหมด 31 นี้ เป็นโลกียภูมิ พ้นจากนี้ไปเป็นโลกุตตรภูมิ

       ดู [162] ภูมิ 4; [198] อบาย 4; [207] อรูป 4; [270] สวรรค์ 6.

Comp.137. สงฺคห. 25.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=รูป
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%C3%D9%BB


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]