ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ าน 2 ”             ผลการค้นหาพบ  6  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 6
[7] ฌาน 2 (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ - meditation; scrutiny; examination)
       1. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 - object-scrutinizing Jhana)
       2. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล - characteristic-examining Jhana)

       วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
       มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
       ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
       ฌานที่แบ่งเป็น 2 อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา.

       ดู [8] [9] [10] ฌาน ต่างๆ และ [47] สมาธิ 3

AA. II. 41;
PsA.281;
DhsA. 167.
องฺ.อ. 1/536;
ปฏิสํ.อ. 221;
สงฺคณี.อ. 273

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 6
[8] ฌาน 2 ประเภท (ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ - absorption)
       1. รูปฌาน 4 (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นรูปาวจร - Jhanas of the Fine-Material Sphere)
       2. อรูปฌาน 4 (ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นอรูปาวจร - Jhanas of the Immaterial Sphere)

       คำว่า รูปฌาน ก็ดี อรูปฌาน ก็ดี เป็นคำสมัยหลัง เดิมเรียกเพียงว่า ฌาน และ อารุปป์.

D.III. 222;
Dhs. 56.
ที.ปา. 11/232/233;
อภิ.สํ. 34/192/78.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 6
[11] ทาน 2 (การให้, การเสียสละ, การบริจาค - gift; giving; charity; liberality)
       1. อามิสทาน (การให้สิ่งของ - material gift; carnal gift)
       2. ธรรมทาน (การให้ธรรม, การให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน - gift of Truth; spiritual gift)

       ใน 2 อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ อามิสทานช่วยค้ำจุนชีวิตทำให้เขามีที่พึ่งอาศัย แต่ธรรมทานช่วยให้เขารู้จักพึ่งตนเองได้ต่อไป เมื่อให้อามิสทาน พึงให้ธรรมทานด้วย.

A.I.90. องฺ.ทุก. 20/386/114.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 6
[12] ทาน 2 (การให้ - gift; giving; alms-giving; offering; charity; liberality; generosity; benevolence; donation; benefaction)
       1. ปาฏิบุคลิกทาน (การให้จำเพาะบุคคล, ทานที่ให้เจาะจงตัวบุคคลหรือให้เฉพาะแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง - offering to a particular person; a gift designated to a particular person)
       2. สังฆทาน (การให้แก่สงฆ์, ทานที่ถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม หรือให้แก่บุคคล เช่น พระภิกษุหรือภิกษุณีอย่างเป็นกลางๆ ในฐานะเป็นตัวแทนของสงฆ์ โดยอุทิศต่อสงฆ์ ไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง - offering to the Sangha; a gift dedicated to the Order or to the community of monks as a whole)

       ในบาลีเดิม เรียก ปาฏิบุคลิกทาน ว่า “ปาฏิปุคฺคลิกา ทกฺขิณา” (ขอถวายหรือของให้ที่จำเพาะบุคคล) และเรียกสังฆทาน ว่า “สงฺฆคตา ทกฺขิณา” (ขอถวายหรือของให้ที่ถึงในสงฆ์)
       ในทาน 2 อย่างนี้ พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญสังฆทานว่าเป็นเลิศ มีผลมากที่สุด ดังพุทธพจน์ว่า “เราไม่กล่าวว่า ปาฏิบุคลิกทานมีผลมากกว่าของที่ให้แก่สงฆ์ไม่ว่าโดยปริยายใดๆ” และได้ตรัสชักชวนให้ให้สังฆทาน

M.III. 254-6;
A.III. 392
ม.อุ. 14/710-713/459-461;
อ้างใน มงฺคล. 2/16;
องฺ.ฉกฺก. 22/330/439

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 6
[27] นิพพาน 2 (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ - Nirvana; Nibbana)
       1. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ - Nibbana with the substratum of life remaining)
       2. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ - Nibbana without any substratum of life remaining)

       หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า
       1. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน - extinction of the defilements)
       2. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน - extinction of the Aggregates)
หรือ
       1. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ 5 รับรู้สุขทุกข์อยู่
       2. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว

It.38. ขุ.อิติ. 25/222/258.

       อีกนัยหนึ่งกล่าวถึงบุคคลว่า
       1. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ
       2. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ

A.IV.379. องฺ.นวก. 23/216/394.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 6
[32] ปธาน 2 (ความเพียร หมายเอาความเพียรที่ทำได้ยาก - hard struggles; painstaking endeavors)
       1. ความเพียรของคฤหัสถ์ ที่จะอำนวยปัจจัย 4 (แก่บรรพชิต เป็นต้น) - struggle of householders to provide the four requisites.
       2. ความเพียรของบรรพชิตที่จะไถ่ถอนกองกิเลส - struggle of the homeless to renounce all substrates of rebirth.

A.I.49; Netti 159. องฺ.ทุก. 20/248/63.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=าน_2
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%D2%B9_2


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]