ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ พรรษา ”             ผลการค้นหาพบ  10  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 10
จำนำพรรษา ดู ผ้าจำนำพรรษา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 10
จำพรรษา อยู่ประจำวัด ๓ เดือนในฤดูฝน คือ
       ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (อย่างนี้เรียก ปุริมพรรษา แปลว่า “พรรษาต้น”) หรือ
       ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (อย่างนี้เรียก ปัจฉิมพรรษา แปลว่า “พรรษาหลัง”);
       วันเข้าพรรษาต้น คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า ปุริมิกา วัสสูปนายิกา,
       วันเข้าพรรษาหลัง คือ แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ เรียกว่า ปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา ;
       คำอธิษฐานพรรษา ว่า
           “อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ;
           ทุติยมฺปี อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ;
           ตติยมฺปิ อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ”
       แปลว่า “ข้าพเจ้าเข้าอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนในวัดนี้” (วิหาเร จะเปลี่ยนเป็น อาวาเส ก็ได้);
       อานิสงส์การจำพรรษามี ๕ อย่าง คือ
           ๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา
           ๒. จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ
           ๓. ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้
           ๔. เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา
           ๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ
       อานิสงส์ทั้ง ๕ นี้ได้ชั่วเวลาเดือนหนึ่ง นับแต่ออกพรรษาแล้ว คือ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒
       นอกจากนั้นยังได้สิทธิที่จะกรานกฐิน และได้รับอานิสงส์ ๕ นั้น ต่อออกไปอีก ๔ เดือน
       (ภิกษุผู้เข้าพรรษาแล้วหลัง ไม่ได้อานิสงส์หรือสิทธิพิเศษเหล่านี้)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 10
ปัจฉิมพรรษา ดู ปัจฉิมิกา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 10
ปุริมพรรษา ดู ปุริมิกา

ปุริมิกา พรรษาต้น เริ่มแต่วันแรมค่ำหนึ่งเดือนแปด ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป เป็นเวลา ๓ เดือน คือ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑;
       เทียบ ปัจฉิมิกา, ปัจฉิมพรรษา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 10
ผ้าจำนำพรรษา ผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล;
       เรียกเป็นคำศัพท์ ผ้าวัสสาวาสิกา วัสสาวาสิกสาฏก หรือ วัสสาวาสิกสาฏิกา;
       ดู อัจเจกจีวร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 10
พรรษกาล ฤดูฝน
       (พจนานุกรมเขียน พรรษากาล)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 10
พรรษา ฤดูฝน, ปี, ปีของระยะเวลาที่บวช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 10
พรรษาธิษฐาน อธิษฐานพรรษา, กำหนดใจว่าจะจำพรรษา;
       ดู จำพรรษา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 10
พุทธกิจ ๔๕ พรรษา ในระหว่างเวลา ๔๕ ปีแห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ สถานที่ต่างๆ ซึ่งท่านได้ประมวลไว้ พร้อมทั้งเหตุการณ์สำคัญบางอย่างอันควรสังเกต ดังนี้
       พรรษาที่ ๑ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี (โปรดพระเบญจวัคคีย์)
       พ.๒-๓-๔ พระเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ (ระยะประดิษฐานพระศาสนา เริ่มแต่โปรดพระเจ้าพิมพิสาร ได้อัครสาวก ฯลฯ เสด็จนครกบิลพัสดุ์ครั้งแรก ฯลฯ อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นอุบาสกถวายพระเชตวัน พรรษาที่ ๓ น่าจะประทับที่พระเชตวัน นครสาวัตถี)
       พ.๕ กูฎาคารในป่ามหาวัน นครเวสาลี (โปรดพุทธบิดาปรินิพพานที่กรุงกบิลพัสดุ์ โปรดพระญาติที่วิวาทเรื่องแม่น้ำโรหิณี มหาปชาบดีผนวช เกิดภิกษุณีสงฆ์)
       พ.๖ มกุลบรรพต (ภายหลังทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่นครสาวัตถี)
       พ.๗ ดาวดึงสเทวโลก (แสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา)
       พ.๘ เภสกลาวัน ใกล้เมืองสุงสุมาคีรี แคว้นภัคคะ (พบนกุลบิดาและนกุลมารดา)
       พ.๙ โฆสิตาราม เมืองโกสัมพี
       พ.๑๐ ป่าตำบลปาริเลยยกะ ใกล้เมืองโกสัมพี (ในคราวที่ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะกัน)
       พ.๑๑ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลา
       พ.๑๒ เมืองเวรัญชา
       พ.๑๓ จาลิยบรรพต
       พ.๑๔ พระเชตวัน (พระราหุลอุปสมบทคราวนี้)
       พ.๑๕ นิโครธาราม นครกบิลพัสดุ์
       พ.๑๖ เมืองอาฬวี (ทรมานอาฬวกยักษ์)
       พ.๑๗ พระเวฬุวัน นครราชคฤห์
       พ.๑๘-๑๙ จาลิยบรรพต
       พ.๒๐ พระเวฬุวัน นครราชคฤห์ โปรดมหาโจรองคุลิมาล, พระอานนท์ได้รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำ)
       พ.๒๑-๔๔ ประทับสลับไปมา ณ พระเชตวันกับบุพพาราม พระนครสาวัตถี (รวมทั้งคราวก่อนนี้ด้วย อรรถกถาว่าพระพุทธเจ้าประทับที่เชตวนาราม ๑๙ พรรษา ณ บุพพาราม ๖ พรรษา)
       พ.๔๕ เวฬุวคาม ใกล้นครเวสาลี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 10
อธิษฐานพรรษา ความตั้งใจกำหนดลงไปว่าจะอยู่จำพรรษา ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดไตรมาส (๓ เดือน);
       ดู จำพรรษา


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พรรษา
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BE%C3%C3%C9%D2


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]