ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ิก ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กติกา (ในคำว่า “ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์”) ข้อตกลง, ข้อบังคับ,
       กติกาของสงฆ์ในกรณีนี้ คือข้อที่สงฆ์ ๒ อาวาส มีข้อตกลงกันไว้ว่า
           ลาภเกิดในอาวาสหนึ่ง สงฆ์อีกอาวาสหนึ่งมีส่วนได้รับแจกด้วย
       ทายกกล่าวคำถวายว่า “ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์”
           ลาภที่ทายกถวายนั้น ย่อมตกเป็นของภิกษุผู้อยู่ในอาวาสที่ทำกติกากันไว้ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กสิกรรม การทำนา, การเพาะปลูก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กัตติกมาส เดือน ๑๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กัตติกา
       1. ดาวลูกไก่
       2. เดือน ๑๒ ตามจันทรคติ ตกในราวปลายเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
กัปปาสิกะ ผ้าทำด้วยฝ้าย คือผ้าสามัญ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให้พัวพันหมกมุ่นอยู่ในกามสุข เป็นที่สุดอย่างหนึ่ง ในบรรดาที่สุด ๒ คือ
       กามสุขัลลิกานุโยค ๑
       อัตตกิลมถานุโยค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
กายิกสุข สุขทางกาย เช่น ได้ยินเสียงไพเราะ ลิ้มรสอร่อย ถูกต้องสิ่งที่อ่อนนุ่ม เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
กาลิก เนื่องด้วยกาล, ขึ้นกับกาล, ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ
       ๑. ยาวกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้น
           เช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่างๆ
       ๒. ยามกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวันใหม่
           ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต
       ๓. สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน
           ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕
       ๔. ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา
           ได้แก่ ของที่ใช้ปรุงเป็นยา นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น
           (ความจริงยาวชีวิก ไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าด้วยโดยปริยาย เพราะเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
กิจจาธิกรณ์ การงานเป็นอธิกรณ์ คือ เรื่องที่เกิดขึ้นอันสงฆ์ต้องจัดต้องทำ หรือกิจธุระที่สงฆ์จะพึงทำ;
       อรรถกถาพระวินัยว่า หมายถึงกิจอันจะพึงทำด้วยประชุมสงฆ์ ได้แก่ สังฆกรรม ทั้ง ๔ คือ
       อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
เกินพิกัด เกินกำหนดที่จะต้องเสียภาษีอากร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
โกสัมพิกขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๑๐ (สุดท้าย) แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะวิวาทกัน จนเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาในป่ารักขิตวัน ตำบลปาริไลยกะ
       ในที่สุด พระภิกษุเหล่านั้นถูกมหาชนบีบคั้นให้ต้องกลับปรองดองกัน บังเกิดสังฆสามัคคีอีกครั้งหนึ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ, สมาธิขั้นต้นพอสำหรับใช้ในการเล่าเรียนทำการงานให้ได้ผลดี ให้จิตใจสงบสบายได้ พักชั่วคราว และใช้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนาได้
       (ขั้นต่อไป คือ อุปจารสมาธิ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
ขณิกาปีติ ความอิ่มใจชั่วขณะ เมื่อเกิดขึ้นทำให้รู้สึกเสียวแปลบๆ เป็นขณะๆ เหมือนฟ้าแลบ
       (ข้อ ๒ ในปีติ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
ขลุปัจฉาภัตติกังคะ องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง คือ เมื่อลงมือฉันแล้วมีผู้นำอาหารมาถวายอีก ก็ไม่รับ
       (ข้อ ๗ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
ของต้องพิกัด ของเข้ากำหนดที่จะต้องเสียภาษี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
คณญัตติกรรม การประกาศให้สงฆ์ทราบแทนคณะคือพวกฝ่ายตน ได้แก่
       การที่ภิกษุรูปหนึ่งในนามแห่งภิกษุฝ่ายหนึ่ง สวดประกาศขออนุมัติเป็นผู้แสดงแทนซึ่งอาบัติของฝ่ายตนและของตนเองด้วยติณวัตถารกวิธี (อีกฝ่ายหนึ่งก็พึงทำเหมือนกันอย่างนั้น) ;
       เป็นขั้นตอนหนึ่งแห่งการระงับอธิกรณ์ ด้วยติณวัตถารกวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
คณะมหานิกาย คณะสงฆ์ไทยเดิมทีสืบมาแต่สมัยสุโขทัย,
       เป็นชื่อที่ใช้เรียกในเมื่อได้เกิดมีคณะธรรมยุตขึ้นแล้ว;
       สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า “พระสงฆ์อันมีเป็นพื้นเมือง [ของประเทศไทย-ผู้เขียน] ก่อนเกิดธรรมยุติกนิกาย” (การคณะสงฆ์ น.๙๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
คณิกา หญิงแพศยา, หญิงงามเมือง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
คมิยภัต ภัตเพื่อผู้ไป, อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้จะเดินทางไปอยู่ที่อื่น ;
       คมิกภัต ก็ว่า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
คหปติกา “เรือนของคฤหบดี” คือ เรือนอันชาวบ้านสร้างถวายเป็นกัปปิยกุฎี
       ดู กัปปิยภูมิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
คัคคภิกษุ ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล เคยเป็นบ้า และได้ต้องอาบัติหลายอย่างในระหว่างเวลานั้น ภายหลังหายเป็นบ้าแล้ว ได้มีผู้โจทว่า เธอต้องอาบัตินั้นๆ ในคราวที่เป็นบ้าไม่รู้จบ
       พระพุทธองค์จึงได้ทรงมีพุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วย อมูฬหวินัย เป็นครั้งแรก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
โคนิสาทิกา “กัปปิยภูมิอันดุจเป็นที่โคจ่อม” คือเรือนครัวน้อยๆ ที่ไม่ได้ปักเสา ตั้งอยู่กับที่ ตั้งฝาบนคาน ยกเลื่อนไปจากที่ได้
       ดู กัปปิยภูมิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
ฆฏิการพรหม พระพรหมผู้นำสมณบริขารมีบาตรและจีวร เป็นต้น มาถวายแด่พระโพธิสัตว์เมื่อคราวเสด็จออกบรรพชา (มติของพระอรรถกถาจารย์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
โฆสัปปมาณิกา คนพวกที่ถือเสียงเป็นประมาณ, คนที่นิยมเสียง เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเพราะเสียง ชอบฟังเสียงไพเราะ เช่น เสียงสวดสรภัญญะ เทศน์มหาชาติเป็นทำนอง เสียงประโคม เป็นต้น;
       อีกนัยหนึ่งว่า ผู้ถือชื่อเสียงกิตติศัพท์ หรือความโด่งดังเป็นประมาณ เห็นใครมีชื่อเสียงก็ตื่นไปตาม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
จาตุมหาราชิกา สวรรค์ชั้นที่ ๑ มีมหาราช ๔ องค์ เป็นประธาน ปกครองประจำทิศทั้ง ๔
       ดู จาตุมหาราช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
จาริก เที่ยวไป, เดินทางเพื่อศาสนกิจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
จิตตสิกขา ดู อธิจิตตสิกขา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๒ อย่าง จัดเป็น
       อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
       อกุศลเจตสิก ๑๔
       โสภณเจตสิก ๒๕

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
เจตสิกสุข สุขทางใจ, ความสบายใจ แช่มชื่นใจ
       ดู สุข

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
เจ้าอธิการแห่งคลัง ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับคลังเก็บพัสดุของสงฆ์ มี ๒ อย่างคือ
       ผู้รักษาคลังที่เก็บพัสดุของสงฆ์ (ภัณฑาคาริก) และ
       ผู้จ่ายของเล็กน้อยให้แก่ภิกษุทั้งหลาย (อัปปมัตตวิสัชชกะ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
เจ้าอธิการแห่งจีวร คือ ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับจีวร ๓ อย่างคือ
       ผู้รับจีวร (จีวรปฏิคาหก)
       ผู้เก็บจีวร (จีวรนิทหก)
       ผู้แจกจีวร (จีวรภาชก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับเสนาสนะ แยกเป็น ๒ คือ
       ผู้แจกเสนาสนะให้ภิกษุถือ (เสนาสนคาหาปก) และ
       ผู้แต่งตั้งเสนาสนะ (เสนาสนปัญญาปก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
เจ้าอธิการแห่งอาราม ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับงานวัด แยกเป็น ๓ คือ
       ผู้ใช้คนงานวัด (อารามิกเปสก)
       ผู้ใช้สามเณร (สามเณรเปสก) และ
       ผู้ดูแลปลูกสร้าง (นวกัมมิกะ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
เจ้าอธิการแห่งอาหาร ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับอาหาร มี ๔ อย่าง คือ
       ผู้จัดแจกภัต (ภัตตุเทสก์)
       ผู้แจกยาคู (ยาคุภาชก)
       ผู้แจกผลไม้ (ผลภาชก) และ
       ผู้แจกของเคี้ยว (ขัชชภาชก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
ฉายาปาราชิก “เงาแห่งปาราชิก”
       คือ ประพฤติตนในฐานะที่ล่อแหลมต่อปาราชิก อาจเป็นปาราชิกได้ แต่จับไม่ถนัด เรียกว่า ฉายาปาราชิก เป็นผู้ที่สงฆ์รังเกียจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
ญัตติกรรม กรรมอันกระทำด้วยตั้งญัตติไม่ต้องสวดอนุสาวนา คือ ประกาศให้สงฆ์ทราบ เพื่อทำกิจร่วมกัน เรียกว่าเผดียงสงฆ์อย่างเดียว ไม่ต้องขอมติ เช่น อุโบสถ และปวารณา เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
ตัสสปาปิยสิกากรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำเพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้เลวทราม,
       กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้เป็นจำเลยในอนุวาทาธิกรณ์ ให้การกลับไปกลับมา เดี๋ยวปฏิเสธ เดี๋ยวสารภาพ พูดถลากไถล พูดกลบเกลื่อนข้อที่ถูกซัก พูดมุสาซึ่งหน้า สงฆ์ทำกรรมนี้แก่เธอเป็นการลงโทษตามความผิดแม้ว่าเธอจะไม่รับ หรือเพื่อเพิ่มโทษจากอาบัติที่ต้อง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
ติกะ หมวด ๓

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
เตจีวริกังคะ องค์แห่งภิกษุผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร คือถือเพียงผ้าสามผืน ได้แก่ จีวร สบง สังฆาฏิอย่างละผืนเท่านั้น ไม่ใช้จีวรนอกจากผ้าสามผืนนั้น
       (ข้อ ๒ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
เตวาจิก มีวาจาครบ ๓
       หมายถึง ผู้กล่าวว่าจาถึงสรณะครบทั้งสามอย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
       บิดาพระยสะเป็นคนแรก ที่ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต;
       เทียบ เทฺววาจิก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
ไตรสิกขา สิกขาสาม,
       ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษา ๓ อย่าง คือ
           อธิศีลสิกขา
           อธิจิตตสิกขา
           อธิปัญญาสิกขา
       เรียกกันง่ายๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
ทักษิณนิกาย นิกายพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่พวกอุตรนิกายตั้งชื่อให้ว่า หีนยาน ใช้บาลีมคธ
       บัดนี้ นิยมเรียกว่า เถรวาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
ทายิกา (หญิง) ผู้ให้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์สุขสามัญที่มองเห็นกันในชาตินี้ ที่คนทั่วไปปรารถนา มีทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี เป็นต้น อันจะสำเร็จด้วยธรรม ๔ ประการ คือ
       ๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น
       ๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา
       ๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี
       ๔. สมชีวิตา การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้;
           มักเรียกคล่องปากว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
ทิฏฐาวิกัมม์ การทำความเห็นให้แจ้ง
       ได้แก่ แสดงความเห็นแย้ง คือ ภิกษุผู้เข้าประชุมในสงฆ์บางรูปไม่เห็นร่วมด้วยคำวินิจฉัยอันสงฆ์รับรองแล้วก็ให้แสดงความเห็นแย้งได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
ทีฆนิกาย นิกายที่หนึ่งแห่งพระสุตตันตปิฎก;
       ดู ไตรปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
ทูต ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนทางราชการแผ่นดิน, ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ไปเจรจาแทน

ทูตานุทูต ทูตน้อยใหญ่, พวกทูต

ทูตานุทูตนิกร หมู่พวกทูต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
เทฺววาจิก “มีวาจาสอง”
       หมายถึง ผู้กล่าววาจาถึงสรณะสอง คือ พระพุทธและพระธรรม ในสมัยที่ยังไม่มีพระสงฆ์
       ได้แก่ พาณิช ๒ คือ ตปุสสะ และภัลลิกะ;
       เทียบ เตวาจิก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
ธรรมเทศนาสิกขาบท สิกขาบทปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แสดงธรรมแก่มาตุคาม เกินกว่า ๕-๖ คำ เว้นแต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย
       (สิกขาบทที่ ๗ ในมุสาวาทวรรคแห่งปาจิตตีย์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
ธรรมยุต, ธรรมยุติกนิกาย ดู คณะธรรมยุต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
ธรรมันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้เรียนธรรมวินัย, ศิษย์ผู้เรียนธรรมวินัย;
       คู่กับ อุทเทศาจารย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
ธรรมิกอุบาย อุบายที่ประกอบด้วยธรรม, อุบายที่ชอบธรรม, วิธีที่ถูกธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
ธัมมัปปมาณิกา ถือธรรมเป็นประมาณ, ผู้เลื่อมใสเพราะพอใจในเนื้อหาธรรมและการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เช่น ชอบฟังธรรม ชอบเห็นภิกษุรักษามารยาทเรียบร้อยสำรวมอินทรีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
นวกัมมิกะ ผู้ดูแลนวกรรม, ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ ให้ทำหน้าที่ดูแลการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ในอาราม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี
       เช่น เห็นว่า ผลบุญผลบาปไม่มี บิดามารดาไม่มี ความดีความชั่วไม่มี
       เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด ที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง;
       ดู ทิฏฐิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัยของสัตว์ ที่โน้มเอียง เชื่อถือ สนใจ พอใจต่างๆ กัน
       (ข้อ ๕ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
นานานิกาย นิกายต่างๆ คือหมู่แห่งสงฆ์ต่างคณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
นาสิก
       1. จมูก
       2. พยัญชนะที่ออกเสียงขึ้นจมูก ได้แก่ ง ญ ณ น ม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
นิกร หมู่, พวก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
นิกรสัตว์ หมู่สัตว์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
นิกาย พวก, หมวด, หมู่, ชุมนุม, กอง;
       1. หมวดตอนใหญ่แห่งพุทธพจน์ในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งแยกเป็นทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย;
               ดู ไตรปิฎก
       2. คณะนักบวช หรือศาสนิกชนในศาสนาเดียวกันที่แยกเป็นพวกๆ;
           ในพระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ที่เรียกได้ว่าเป็นนิกายพุทธศาสนาในปัจจุบัน ๒ นิกาย คือ
               มหายาน หรือนิกายฝ่ายเหนือ (อุตรนิกาย) พวกหนึ่ง และ
               เถรวาท หรือนิกายฝ่ายใต้ (ทักษิณนิกาย) ที่บางทีเรียก หีนยาน พวกหนึ่ง;
           ในประเทศไทยปัจจุบัน พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยกัน แยกออกเป็น ๒ นิกาย แต่เป็นเพียงนิกายสงฆ์ มิใช่ถึงกับเป็นนิกายพุทธศาสนา (คือแยกกันเฉพาะในหมู่นักบวช) ได้แก่ มหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย ซึ่งบางทีเรียกเพียงเป็นคณะว่า คณะมหานิกาย และคณะธรรมยุต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
นิยยานิกะ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกไปจากกองทุกข์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
เนสัชชิกังคะ องค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือ ถือ นั่ง ยืน เดิน เท่านั้น ไม่นอน
       (ข้อ ๑๓ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
บริกรรม
       1. (ในคำว่า “ถ้าผ้ากฐินนั้นมีบริกรรมสำเร็จด้วยดี”) การตระเตรียม, การทำความเรียบร้อยเบื้องต้น เช่น ซัก ย้อม กะ ตัด เย็บ เสร็จแล้ว
       2. สถานที่เขาลาดปูน ปูไม้ ขัดเงา หรือชักเงา โบกปูน ทาสี เขียนสี แต่งอย่างอื่น เรียกว่าที่ทำบริกรรม ห้ามภิกษุถ่มนำลาย หรือนั่งพิง
       3. การนวดฟั้น ประคบ หรือถูตัว
       4. การกระทำขั้นต้นในการเจริญสมถกรรมฐาน คือ กำหนดใจโดยเพ่งวัตถุ หรือนึกถึงอารมณ์ที่กำหนดนั้น ว่าซ้ำๆ อยู่ในใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำใจให้สงบ
       5. เลือนมาเป็นความหมายในภาษาไทย หมายถึงท่องบ่น, เสกเป่า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นต้นหรือขั้นตระเตรียม คือ กำหนดใจ โดยเพ่งดูวัตถุ หรือนึกว่าพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
บิณฑจาริกวัตร วัตรของผู้เที่ยวบิณฑบาต,
       ธรรมเนียมหรือข้อควรปฏิบัติสำหรับภิกษุที่จะไปรับบิณฑบาต เช่น
           นุ่งห่มให้เรียบร้อย
           สำรวมกิริยาอาการ
           ถือบาตรภายในจีวรเอาออกเฉพาะเมื่อจะรับบิณฑบาต
           กำหนดทางเข้าออกแห่งบ้านและอาการของชาวบ้านที่จะให้ภิกขาหรือไม่
           รับบิณฑบาตด้วยอาการสำรวม
           รูปที่กลับมาก่อน จัดที่ฉัน รูปที่มาทีหลัง ฉันแล้วเก็บกวาด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
บุคลิก เนื่องด้วยบุคคล, จำเพาะคน (= ปุคคลิก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
บุณฑริก บัวขาว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
บุปผวิกัติ ดอกไม้ที่ทำให้แปลก, ดอกไม้ที่ทำให้วิจิตรประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
บุพพสิกขาวัณณนา หนังสืออธิบายพระวินัย
       พระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) วัดบรมนิวาส เป็นผู้แต่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
ปกตัตตะ
       ผู้เป็นภิกษุโดยปกติ,
       ภิกษุผู้มีศีลและอาจาระเสมอกับภิกษุทั้งหลายตามปกติ คือ
           ไม่ต้องอาบัติปาราชิก หรือ
           ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
       รวมทั้งมิใช่
           ภิกษุผู้กำลังประพฤติวุฏฐานวิธีเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสส และ
           ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงนิคหกรรมอื่นๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
ปฏลิกา เครื่องลาดทำด้วยขนแกะที่มีสัณฐานเป็นพวงดอกไม้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
ปฏิกโกสนา การกล่าวคัดค้านจังๆ
       (ต่างจากทิฏฐาวิกัมม์ ซึ่งเป็นการแสดงความเห็นแย้ง ชี้แจงความเห็นที่ไม่ร่วมด้วยเป็นส่วนตัว แต่ไม่ได้คัดค้าน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
ปฏิกัสสนา กิริยาชักเข้าหาอาบัติเดิม,
       เป็นชื่อวุฏฐานวิธีสำหรับอันตราบัติ คือระเบียบปฏิบัติในการออกจากอาบัติสังฆาทิเสสสำหรับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสขึ้นใหม่อีก ในเวลาใดเวลาหนึ่งตั้งแต่เริ่มอยู่ปริวาสไปจนถึงก่อนอัพภาน ทำให้เธอต้องกลับอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตตั้งแต่เริ่มต้นไปใหม่;
       สงฆ์จตุวรรคให้ปฏิกัสสนาได้;
       ดู อันตราบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
ปฏิกา เครื่องลาดทำด้วยขนแกะที่มีสีขาวล้วน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
ปฏิการ การตอบแทน, การสนองคุณผู้อื่น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
ปฏิกูล น่าเกลียด, น่ารังเกียจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
ปฐมโพธิกาล เวลาแรกตรัสรู้,
       ระยะเวลาช่วงแรกหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว คือระยะประดิษฐานพระพุทธศาสนา นับคร่าวๆ ตั้งแต่ตรัสรู้ถึงได้พระอัครสาวก;
       ดู พุทธประวัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
ปฐมสมโพธิกถา ชื่อคัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต เทวดาอัญเชิญให้มาอุบัติในมนุษยโลก แล้วออกบวชตรัสรู้ประกาศพระศาสนา ปรินิพพาน จนถึงแจกพระธาตุ ต่อท้ายด้วยเรื่องพระเจ้าอโศกยกย่องพระศาสนา และการอันตรธานแห่งพระศาสนาในที่สุด
       ปฐมสมโพธิกถาที่รู้จักกันมากและใช้ศึกษาอย่างเป็นวรรณคดีสำคัญนั้น คือฉบับที่เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพน ทรงรจนาถวายฉลองพระราชศรัทธาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงอาราธนา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ ฉบับที่ทรงรจนานี้ ทรงชำระปฐมสมโพธิกถาฉบับของเก่า ทรงตัดและเติม ขยายความสำคัญบางตอน
       เนื้อหามีคติทั้งทางมหายานและเถรวาทปนกันมาแต่เดิม และทรงจัดเป็นบทตอนเพิ่มขึ้น รวมมี ๒๙ ปริจเฉท มีทั้งฉบับภาษาบาลีและฉบับแปลเป็นภาษาไทย (ฉบับภาษาบาลีแบ่งเป็น ๓๐ ปริจเฉท โดยแบ่งปริจเฉทที่ ๑ เป็น ๒ ตอน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
ปฐมอุบาสิกา อุบาสิกาคนแรก หมายถึงมารดาและภรรยาเก่าของพระยสะ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ิก
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D4%A1


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]