ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ าช ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
โกลิตปริพาชก พระมหาโมคคัลลานะเมื่อเข้าไปบวชเป็นปริพาชกในสำนักของสัญชัย มีชื่อเรียกว่า โกลิตปริพาชก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
โกสิยเทวราช พระอินทร์, จอมเทพในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
       เรียกท้าวโกสีย์บ้าง ท้าวสักกเทวราชบ้าง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
ขัชชภาชกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่แจกของเคี้ยว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
จักรพรรดิราชสมบัติ สมบัติ คือความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
จาตุมหาราช ท้าวมหาราช ๔, เทวดาผู้รักษาโลกใน ๔ ทิศ, ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ คือ
       ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ์ ครองทิศตะวันออก
       ๒. ท้าววิรุฬหก จอมกุมภัณฑ์ ครองทิศใต้
       ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค ครองทิศตะวันตก
       ๔. ท้าวกุเวร หรือ เวสสวัณ จอมยักษ์ ครองทิศเหนือ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
จาตุมหาราชิกา สวรรค์ชั้นที่ ๑ มีมหาราช ๔ องค์ เป็นประธาน ปกครองประจำทิศทั้ง ๔
       ดู จาตุมหาราช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
จีวรภาชก ผู้แจกจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร,
       เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
จุลศักราช ศักราชน้อย ตั้งขึ้นโดยกษัตริย์พม่าองค์หนึ่งใน พ.ศ. ๑๑๘๒ ภายหลังมหาศักราช,
       เป็นศักราชที่เราใช้กันมาก่อนใช้รัตนโกสินทรศก,
       นับรอบปีตั้งแต่ ๑๖ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน เขียนย่อว่า จ.ศ.
       (พ.ศ. ๒๕๒๒ ตรงกับ จ.ศ.๑๓๔๐-๑๓๔๑)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
ฉายาปาราชิก “เงาแห่งปาราชิก”
       คือ ประพฤติตนในฐานะที่ล่อแหลมต่อปาราชิก อาจเป็นปาราชิกได้ แต่จับไม่ถนัด เรียกว่า ฉายาปาราชิก เป็นผู้ที่สงฆ์รังเกียจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
ทศพิธราชธรรม ดู ราชธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
ธรรมราชา พระราชาแห่งธรรม,
       พระราชาโดยธรรม หมายถึงพระพุทธเจ้า
       และบางแห่งหมายถึง พระเจ้าจักรพรรดิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
นักปราชญ์ ผู้รู้, ผู้มีปัญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
บทภาชนะ บทไขความ, บทขยายความ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
บทภาชนีย์ บทที่ตั้งไว้เพื่อขยายความ, บทที่ต้องอธิบาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
บอกศักราช เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ไทยแต่โบราณ มีการบอกกาลเวลา เรียกว่าบอกศักราช ตอนท้ายสวดมนต์ และก่อนจะแสดงพระธรรมเทศนา (หลังจากให้ศีลจบแล้ว) ว่าทั้งภาษาบาลีและคำแปลภาษาไทย
       การบอกอย่างเก่า บอกปี ฤดู เดือน วัน ทั้งที่เป็นปัจจุบัน อดีต และอนาคต
       คือ บอกว่าล่วงไปแล้วเท่าใด และยังจะมีมาอีกเท่าใด จึงจะครบจำนวนอายุพระพุทธศาสนา ๕ พันปี
       แต่ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่รัฐบาลประกาศใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้นมา ได้มีวิธีบอกศักราชอย่างใหม่ขึ้นใช้แทน บอกเฉพาะปี พ.ศ. เดือน วันที่ และวันในปัจจุบัน ทั้งบาลีและคำแปล
       บัดนี้ไม่นิยมกันแล้ว คงเป็นเพราะมีปฏิทินและเครื่องบอกเวลาอย่างอื่น ใช้กันดื่นทั่วไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
ประเทศราช เมืองอิสระที่สังกัดประเทศอื่น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
ปราชญ์ ผู้รู้, ผู้มีปัญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
ปริพาชก นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนาพวกหนึ่งในชมพูทวีปชอบสัญจร ไปในที่ต่างๆ สำแดงทรรศนะทางศาสนาปรัชญาของตน
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น ปริพพาชิก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
ปริพาชิกา ปริพาชกเพศหญิง
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น ปริพพาชิกา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
ปัพพาชนียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันพึงจะไล่เสีย, การขับออกจากหมู่, การไล่ออกจากวัด,
       กรรมนี้สงฆ์ทำแก่
           ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลและประพฤติเลวทรามเป็นข่าวเซ็งแซ่ หรือแก่
           ภิกษุผู้เล่นคะนอง ๑ อนาจาร ๑ ลบล้างพระบัญญัติ ๑ มิจฉาชีพ ๑
       (ข้อ ๓ ในนิคหกรรม ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
ปาราชิก เป็นชื่ออาบัติหนักที่ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ,
       เป็นชื่อบุคคลผู้ที่พ่ายแพ้ คือ ต้องอาบัติปาราชิกที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ,
       เป็นชื่อสิกขาบท ที่ปรับอาบัติหนักขั้นขาดจากความเป็นภิกษุ
       มี ๔ อย่าง คือ เสพเมถุน ลักของเขา ฆ่ามนุษย์ อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
ปิณโฑลภารทวาชะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง
       เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลภารทวาชโคตร ในพระนครราชคฤห์ เรียนจบไตรเพท ออกบวชในพระพุทธศาสนา ได้สำเร็จพระอรหัต
       เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสติ สมาธิ ปัญญา มักเปล่งวาจาว่า
           “ผู้ใดมีความเคลือบแคลงสงสัยในมรรคก็ดี ผลก็ดี ขอผู้นั้นจงมาถามข้าพเจ้าเถิด”
       พระศาสดาทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางบันลือสีหนาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
ผลภาชกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นผู้มีหน้าที่แจกผลไม้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
พุทธศักราช ปีนับแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
โพธิราชกุมาร เจ้าชายโพธิ พระราชโอรสของพระเจ้าอุเทน พระเจ้าแผ่นดินแคว้นวังสะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
ภาชกะ ผู้แจก, ผู้จัดแบ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
ภารทวาชโคตร ตระกูลภารทวารชะ เป็นตระกูลพราหมณ์เก่าแก่ ปรากฏตั้งแต่สมัยร้อยกรองพระเวท แต่ในพุทธกาลปรากฏตามคัมภีร์วินัยปิฎก ว่าเป็นตระกูลต่ำ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
มคธราช ราชาผู้ครองแคว้นมคธ, หมายถึงพระเจ้าพิมพิสาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
มฤตยุราช ยมราช, พญายม, ความตาย
       (พจนานุกรมเขียน มฤตยูราช)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
มหาชนบท แคว้นใหญ่, ประเทศใหญ่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
มัจจุ, มัจจุราช ความตาย

มัจจุมาร ความตายเป็นมาร เพราะตัดโอกาสที่จะทำความดีเสียทั้งหมด
       (ข้อ ๕ ในมาร ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
มิจฉาชีพ การหาเลี้ยงชีพในทางผิด;
       ดู มิจฉาอาชีวะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพผิด ได้แก่ หาเลี้ยงชีพในทางทุจริตผิดวินัยหรือผิดศีลธรรม เช่น หลอกลวงเขา เป็นต้น
       (ข้อ ๕ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
โมฆราชมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์ ได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้วอุปสมบท
       เป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่ง และได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางทรงจีวรเศร้าหมอง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
ยาคุภาชกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ แต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นผู้มีหน้าที่แจกยาคู

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
ยุพราช พระราชกุมารที่ได้รับอภิเษก หรือแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่จะสืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
รัฏฐานุบาลโนบายราชธรรม ธรรมของพระราชา ซึ่งเป็นวิธีปกครองบ้านเมือง, หลักธรรมสำหรับพระราชาใช้เป็นแนวปกครองบ้านเมือง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
ราชการ กิจการงานของประเทศ หรือของพระเจ้าแผ่นดิน, หน้าที่หลั่งความยินดีแก่ประชาชน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
ราชกุมาร ลูกหลวง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
ราชคฤห์ นครหลวงของแคว้นมคธ
       เป็นนครที่มีความเจริญรุ่งเรือง เต็มไปด้วยคณาจารย์เจ้าลัทธิ
       พระพุทธเจ้าทรงเลือกเป็นภูมิที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นปฐม
       พระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ ครองราชสมบัติ ณ นครนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
ราชทัณฑ์ โทษหลวง, อาญาหลวง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
ราชเทวี พระมเหสี, นางกษัตริย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
ราชธรรม ธรรมสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน,
       คุณสมบัติของนักปกครองที่ดี สามารถปกครองแผ่นดินโดยธรรม และยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี
       มี ๑๐ ประการ (นิยมเรียกว่า ทศพิธราชธรรม) คือ
           ๑. ทาน การให้ทรัพย์สินสิ่งของ
           ๒. ศีล ประพฤติดีงาม
           ๓. ปริจจาคะ ความเสียสละ
           ๔. อาชชวะ ความซื่อตรง
           ๕. มัททวะ ความอ่อนโยน
           ๖. ตบะ ความทรงเผากิเลสตัณหา ไม่หมกมุ่นในความสุขสำราญ
           ๗. อักโกธะ ความไม่กริ้วโกรธ
           ๘. อวิหิงสา ความไม่ข่มเหงเบียดเบียน
           ๙. ขันติ ความอดทนเข็มแข็งไม่ท้อถอย
           ๑๐. อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
ราชธานี เมืองหลวง, นครหลวง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
ราชธิดา ลูกหญิงของพระเจ้าแผ่นดิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
ราชนิเวศน์ ที่อยู่ของพระเจ้าแผ่นดิน, พระราชวัง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
ราชบริวาร ผู้แวดล้อมพระราชา, ผู้ห้อมล้อมติดตามพระราชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
ราชบุตร ลูกชายของพระเจ้าแผ่นดิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
ราชบุตรี ลูกหญิงของพระเจ้าแผ่นดิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
ราชบุรุษ คนของพระเจ้าแผ่นดิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีเสียภาษีอากรเป็นต้น
       (ข้อ ๔ แห่งพลี ๕ ในโภคอาทิยะ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
ราชภฏี ราชภัฏหญิง, ข้าราชการหญิง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
ราชภัฏ ผู้อันพระราชาเลี้ยง คือ ข้าราชการ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
ราชวโรงการ คำสั่งของพระราชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
ราชสมบัติ สมบัติของพระราชา, สมบัติคือความเป็นพระราชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
ราชสังคหวัตถุ สังคหวัตถุของพระราชา, หลักการสงเคราะห์ประชาชนของนักปกครอง มี ๔ คือ
       ๑. สัสสเมธะ ฉลาดบำรุงธัญญาหาร
       ๒. ปุริสเมธะ ฉลาดบำรุงข้าราชการ
       ๓. สัมมาปาสะ ผูกผสานรวมใจประชา (ด้วยการส่งเสริมสัมมาอาชีพให้คนจนตั้งตัวได้)
       ๔. วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
ราชสาสน์ หนังสือทางราชการของพระราชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
ราชอาสน์ ที่นั่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
ราชา “ผู้ยังเหล่าชนให้อิ่มเอมใจ” หรือ “ผู้ทำให้คนอื่นมีความสุข”, พระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ปกครองประเทศ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
ราชาณัติ คำสั่งของพระราชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
ราชาธิราช พระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าพระราชาอื่นๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
ราชาภิเษก พระราชพิธีในการขึ้นสืบราชสมบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
ราชายตนะ ไม้เกต อยู่ทางทิศใต้แห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์
       ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ๗ วัน พ่อค้า ๒ คน คือ ตปุสสะกับภัลลิกะ ซึ่งมาจากอุกกลชนบท ได้พบพระพุทธเจ้าที่นี่;
       ดู วิมุตติสุข

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
ราชูปถัมภ์ การที่พระราชาทรงเกื้อกูล อุดหนุน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
ราชูปโภค เครื่องใช้สอยของพระราชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
ริบราชบาทว์ เอาเป็นของหลวงตามกฎหมาย เพราะเจ้าของต้องโทษแผ่นดิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
วาจาชอบ ดู สัมมาวาจา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
วาจาชั่วหยาบ ในวินัยหมายถึง ถ้อยคำพาดพิงทวารหนักทวารเบาและเมถุน;
       ดู ทุฏฐุลลวาจา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
วาชเปยะ, วาชไปยะ “วาจาดูดดื่มใจ”, “น้ำคำควรดื่ม”,
       ความรู้จักพูด คือ รู้จักทักทายปราศรัย มีถ้อยคำสุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผล มีประโยชน์ เป็นทางแห่งสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ
       (ข้อ ๔ ในราชสังคหวัตถุ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
ศากยราช กษัตริย์ศากยะ, พระเจ้าแผ่นดินวงศ์ศากยะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
สักยราช กษัตริย์วงศ์ศากยะ, พระราชาวงศ์ศากยะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
สังฆราชี ความร้าวรานแห่งสงฆ์ คือ จะแตกแยกกัน แต่ยังไม่ถึงกับแยกทำอุโบสถปวารณาและสังฆกรรมต่างหากกัน;
       เทียบ สังฆเภท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
สัญชัย ชื่อปริพาชกผู้เป็นอาจารย์ใหญ่คนหนึ่ง ในพุทธกาล
       ตั้งสำนักสอนลัทธิอยู่ในกรุงราชคฤห์ มีศิษย์มาก
       พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเคยบวชอยู่ในสำนักนี้
       ภายหลัง เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะพร้อมด้วยศิษย์ ๒๕๐ คนพากันไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า สัญชัยเสียใจเป็นลมและอาเจียนเป็นโลหิต;
       นิยมเรียกว่า สญชัยปริพาชก เป็นคนเดียวกับ สัญชัยเวลัฏฐบุตร
       คนหนึ่งใน ติตถกร หรือครูทั้ง ๖

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือเว้นจากเลี้ยงชีวิตโดยทางที่ผิด เช่น โกงเขาหลอกลวง สอพลอ บีบบังคับขู่เข็ญ ค้าคน ค้ายาเสพติด ค้ายาพิษ เป็นต้น
       (ข้อ ๕ ในมรรค)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
สาชีพ แบบแผนแห่งความประพฤติที่ทำให้ชีวิตร่วมเป็นอันเดียวกัน
       ได้แก่ สิกขาบททั้งปวงที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ในพระวินัย อันทำให้ภิกษุทั้งหลายผู้มาจากถิ่นฐานชาติตระกูลต่างๆกัน มามีความเป็นอยู่เสมอเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน;
       มาคู่กับ สิกขา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
สามันตราช พระราชแคว้นใกล้เคียง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
อโศกมหาราช พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชมพูทวีป และเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญยิ่ง
       เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์โมริยะ ครองราชสมบัติ ณ พระนครปาฎลีบุตร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๘ ถึง พ.ศ. ๒๖๐ (นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันส่วนมากว่า พ.ศ. ๒๗๐-๓๒๑)
       เมื่อครองราชย์ได้ ๘ พรรษา ทรงยกทัพไปปราบแคว้นกลิงคะที่เป็นชนชาติเข้มแข็งลงได้ ทำให้อาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ที่สุดในประวัติชาติอินเดีย แต่ในการสงครามนั้น มีผู้คนล้มตายและประสบภัยพิบัติมากมาย ทำให้พระองค์สลดพระทัย
       พอดีได้ทรงสดับคำสอนในพระพุทธศาสนา ทรงเลื่อมใส ได้ทรงเลิกการสงคราม หันมาทำนุบำรุงพระศาสนาและความรุ่งเรืองในทางสงบของประเทศ ทรงสร้างมหาวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓ และการส่งศาสนทูตออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ เช่น พระมหินถเถระ ไปยังลังกาทวีป และพระโสณะพระอุตตระมายังสุวรรณภูมิ เป็นต้น
       ชาวพุทธไทยมักเรียกพระองค์ว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
อัสสพาชี ม้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
อาชญา อำนาจ, โทษ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
อาชีวะ อาชีพ, การเลี้ยงชีพ, ความเพียรพยายามในการแสวงหาปัจจัยยังชีพ, การทำมาหากิน


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=าช
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D2%AA


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]