ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ าจ ”             ผลการค้นหาพบ  78  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 78
กรรมวาจา คำประกาศกิจในท่ามกลางสงฆ์, การสวดประกาศ แบ่งเป็น ๒ คือ ญัตติ ๑ อนุสาวนา ๑

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 78
กรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ผู้สวดกรรมวาจาประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ในการอุปสมบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 78
กรรมวาจาวิบัติ เสียเพราะกรรมวาจา, กรรมวาจาบกพร่องใช้ไม่ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 78
กรรมวาจาสมบัติ ความสมบูรณ์แห่งกรรมวาจา, คำสวดประกาศถูกต้อง ใช้ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 78
กาจ ร้าย, กล้า, เก่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 78
กาเมสุมิจฉาจาร ความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, ความผิดประเวณี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 78
กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม, เว้นการล่วงประเวณี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 78
กายสมาจาร ความประพฤติทางกาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 78
คณาจารย์ อาจารย์ของหมู่คณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 78
คันถรจนาจารย์ อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 78
เฉทนกปาจิตตีย์ อาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องตัดสิ่งของที่เป็นเหตุให้ต้องอาบัติเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก
       ได้แก่ สิกขาบทที่ ๕-๗-๘-๙-๑๐ แห่งรตนวรรค
       (ปาจิตตีย์ข้อ ๘๗, ๘๙, ๙๐, ๙๑, ๙๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 78
ชาวปาจีน คำเรียกภิกษุชาววัชชีบุตร อีกชื่อหนึ่ง หมายถึงอยู่ด้านทิศตะวันออก, ชาวเมืองตะวันออก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 78
เตวาจิก มีวาจาครบ ๓
       หมายถึง ผู้กล่าวว่าจาถึงสรณะครบทั้งสามอย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
       บิดาพระยสะเป็นคนแรก ที่ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต;
       เทียบ เทฺววาจิก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 78
ทุฏฐุลลวาจา วาจาชั่วหยาบ เป็นชื่ออาบัติสังฆาทิเสสข้อที่ ๓ ที่ว่าภิกษุผู้มีความกำหนัด พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ คือ พูดเกี้ยวหญิง กล่าววาจาหยาบโลมพาดพิงเมถุน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 78
เทฺววาจิก “มีวาจาสอง”
       หมายถึง ผู้กล่าววาจาถึงสรณะสอง คือ พระพุทธและพระธรรม ในสมัยที่ยังไม่มีพระสงฆ์
       ได้แก่ พาณิช ๒ คือ ตปุสสะ และภัลลิกะ;
       เทียบ เตวาจิก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 78
ธรรมสังคาหกะ พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ผู้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัยในคราวปฐมสังคายนา

ธรรมสังคาหกาจารย์ อาจารย์ผู้ร้อยกรองธรรม;
       ดู ธรรมสังคาหกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 78
นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้นิสัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 78
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ อาบัติปาจิตตีย์อันทำให้ต้องสละสิ่งของ ภิกษุต้องอาบัติประเภทนี้ต้องสละสิ่งของที่ทำให้ต้องอาบัติก่อนจึงจะปลงอาบัติตก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 78
บุพพาจารย์
       1. อาจารย์ก่อนๆ, อาจารย์รุ่นก่อน, อาจารปางก่อน
       2. อาจารย์ต้น, อาจารย์แรก คือ มารดาบิดา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 78
บุรพาจารย์ ดู บุพพาจารย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 78
ปฏาจารา พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง
       เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถีได้รับวิปโยคทุกข์อย่างหนักเพราะสามีตาย ลูกตาย พ่อแม่พี่น้องตายหมด ในเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นฉับพลันทันทีและติดต่อกัน ถึงกับเสียสติ ปล่อยผ้านุ่งผ้าห่มหลุดลุ่ย เดินบ่นเพ้อไปในที่ต่างๆ จนถึงพระเชตวัน
       พระศาสดาทรงแผ่พระเมตตา เปล่งพระวาจาให้นางกลับได้สติ แล้วแสดงพระธรรมเทศนา นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชเป็นพระภิกษุณี ไม่ช้าได้สำเร็จพระอรหัต
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางทรงพระวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 78
ปัจฉิมวาจา ดู ปัจฉิมโอวาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 78
ปัญญาจักขุ, ปัญญาจักขุ จักษุคือปัญญา, ตาปัญญา;
       เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยปัญญาจักขุ
       (ข้อ ๓ ในจักขุ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 78
ปัพพชาจารย์ อาจารย์ผู้ให้บรรพชา;
       เขียนเต็มรูปเป็น ปัพพัชชาจารย์ จะเขียน บรรพชาจารย์ ก็ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 78
ปาจิตติยุทเทส หมวดแห่งปาจิตติยสิกขาบท ที่ยกขึ้นแสดง คือ ที่สวดในปาฏิโมกข์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 78
ปาจิตตีย์ “การละเมิดอันยังกุศลให้ตก”, ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งจัดไว้ในจำพวกอาบัติเบาเรียกลหุกาบัติ พ้นด้วยการแสดง;
       เป็นชื่อสิกขาบท ได้แก่
           นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ และ
           สุทธิกปาจิตตีย์ ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่า ปาจิตตีย์ อีก ๙๒
       ภิกษุล่วงละเมิดสิกขาบท ๑๒๒ ข้อเหล่านี้ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์
       เช่น ภิกษุพูดปด ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน ว่ายน้ำเล่น เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ดู อาบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 78
ปาจีน ทางทิศตะวันออก, ชาวตะวันออก; ดู ชาวปาจีน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 78
ปาจีนทิศ ทิศตะวันออก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 78
ปาปสมาจาร ความประพฤติเหลวไหลเลวทราม ชอบสมคบกับคฤหัสถ์ด้วยการอันมิชอบ ที่เรียกว่าประทุษร้ายสกุล;
       ดู กุลทูสก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 78
ปิยวาจา วาจาเป็นที่รัก, พูดจาน่ารัก น่านิยมนับถือ, วาจาน่ารัก, วาจาที่กล่าวด้วยจิตเมตตา,
       คำที่พูดด้วยความรักความปรารถนาดี
       เช่น คำพูดสุภาพอ่อนโยน คำแนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี
       (ข้อ ๒ ในสังคหวัตถุ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 78
ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากการพูดส่อเสียด, เว้นจากพูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน
       (ข้อ ๕ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 78
ปิสุณาวาจา วาจาส่อเสียด, พูดส่อเสียด, พูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน
       (ข้อ ๕ ใน อกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 78
ผรุสวาจา วาจาหยาบ, คำพูดเผ็ดร้อน, คำหยาบคาย
       (ข้อ ๖ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 78
ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ
       (ข้อ ๖ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 78
ผ้าจำนำพรรษา ผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล;
       เรียกเป็นคำศัพท์ ผ้าวัสสาวาสิกา วัสสาวาสิกสาฏก หรือ วัสสาวาสิกสาฏิกา;
       ดู อัจเจกจีวร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 78
พหุลกรรม กรรมทำมาก หรือกรรมชิน
       ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำบ่อยๆ จนเคยชิน ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่น เว้นครุกรรม
       เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาจิณณกรรม (ข้อ ๑๐ ในกรรม ๑๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 78
พุทธโฆษาจารย์ ดู วิสุทธิมรรค;
       พุทธโฆสาจารย์ ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 78
ภิกขาจาร เที่ยวไปเพื่อภิกษา, เที่ยวไปเพื่อขอ, เที่ยวบิณฑบาต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 78
ภิกษาจารกาล เวลาเป็นที่เที่ยวไปเพื่อภิกษา, เวลาบิณฑบาต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 78
เภทนกปาจิตตีย์ อาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องทำลายสิ่งของที่เป็นเหตุให้ต้องอาบัติเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้
       ได้แก่ สิกขาบทที่ ๔ แห่งรตนวรรคที่ ๙ แห่งปาจิตติยกัณฑ์
       (ปาจิตตีย์ ข้อที่ ๘๖ ทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือ เขาสัตว์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 78
มัชฌิมภาณกาจารย์ อาจารย์ผู้สาธยายคัมภีร์มัชฌิมนิกาย
       คือ ผู้ได้ศึกษาทรงจำและชำนาญในมัชฌิมนิกาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 78
มิจฉาจริยา, มิจฉาจาร ความประพฤติผิด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 78
มิจฉาวาจา วาจาผิด, เจรจาผิด ได้แก่
       ๑. มุสาวาท พูดปด
       ๒. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
       ๓. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
       ๔. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
       (ข้อ ๓ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 78
เมตตาจิต จิตประกอบด้วยเมตตา, ใจมีเมตตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 78
ยาจก ผู้ขอ, คนขอทาน, คนขอทานโดยไม่มีอะไรแลกเปลี่ยน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 78
โลกุตตมาจารย์ อาจารย์ผู้สูงสุดของโลก, อาจารย์ยอดเยี่ยมของโลก หมายถึงพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 78
วจีสมาจาร ความประพฤติทางวาจา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 78
วาจา คำพูด, ถ้อยคำ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 78
วาจาชอบ ดู สัมมาวาจา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 78
วาจาชั่วหยาบ ในวินัยหมายถึง ถ้อยคำพาดพิงทวารหนักทวารเบาและเมถุน;
       ดู ทุฏฐุลลวาจา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 78
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ประกอบด้วยวิชชา ๓ หรือวิชชา ๘ และจรณะ ๑๕ อันเป็นปฏิปทาเครื่องบรรลุวิชชานั้น, มีความรู้ประเสริฐ ความประพฤติประเสริฐ
       (ข้อ ๓ ในพุทธคุณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 78
ศีลาจาร ศีลและอาจาระ, การปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัติ และมารยาททั่วไป;
       นัยหนึ่งว่า
           ศีล คือ ไม่ต้องอาบัติปาราชิกและสังฆาทิเสส
           อาจาระ คือ ไม่ต้องอาบัติเบาตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 78
สมาจาร ความประพฤติที่ดี;
       มักใช้ในความหมายที่เป็นกลางๆ ว่า ความประพฤติ โดยมีคำอื่นประกอบขยายความ
       เช่น กายสมาจาร วจีสมาจาร ปาปสมาจาร เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 78
สมานาจริยกะ ภิกษุผู้ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 78
สัทธาจริต พื้นนิสัยหนักในสัทธา เชื่อง่าย พึงแก้ด้วยปสาทนียกถา คือถ้อยคำที่นำให้เกิดความเลื่อมใสในทางที่ถูกที่ควร และด้วยความเชื่อที่มีเหตุผล
       (ข้อ ๔ ในจริต ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 78
สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเว้นจาก วจีทุจริต ๔
       (ข้อ ๓ ในมรรค)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 78
สุทธิกปาจิตติยะ อาบัติปาจิตตีย์ล้วน คืออาบัติปาจิตตีย์ ที่ไม่ต้องให้เสียสละสิ่งของ มี ๙๒ สิกขาบท
       ตามปกติเรียกกันเพียงว่า ปาจิตติยะหรือปาจิตตีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 78
อนาจาร ความประพฤติไม่ดีไม่งาม ไม่เหมาะสมแก่บรรพชิต แยกเป็น ๓ ประเภท คือ
       ๑. การเล่นต่างๆ เช่น เล่นอย่างเด็ก
       ๒. การร้อยดอกไม้
       ๓. การเรียนดิรัจฉานวิชา เช่น ทายหวย ทำเสน่ห์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 78
อภิสมาจาร ความประพฤติดีงามที่ประณีตยิ่งขึ้นไป, ขนบธรรมเนียมเพื่อความประพฤติดีงามยิ่งขึ้นไปของพระภิกษุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 78
อภิสมาจาริกวัตร วัตรเกี่ยวด้วยความประพฤติอันดี, ธรรมเนียมเกี่ยวกับมรรยาทและความเป็นอยู่ที่ดีงาม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 78
อภิสมาจาริกาสิกขา หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายขนบธรรมเนียมที่จะชักนำความประพฤติ ความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ให้ดีงามมีคุณยิ่งขึ้นไป,
       สิกขาฝ่ายอภิสมาจาร;
       เทียบ อาทิพรหมจริยกาสิกขา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 78
อรรถกถาจารย์ อาจารย์ผู้แต่งอรรถกถา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 78
อัชฌาจาร ความประพฤติชั่ว, การละเมิดศีล, การล่วงมรรยาท, การละเมิดประเพณี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 78
อัธยาจาร ดู อัชฌาจาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 78
อาจริยมัตต์ ภิกษุผู้มีพรรษาพอที่จะเป็นอาจารย์ให้นิสสัยแก่ภิกษุอื่นได้,
       พระปูนอาจารย์ คือ มีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป หรือแก่กว่าราว ๖ พรรษา;
       อาจริยมัต ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 78
อาจริยวัตร กิจที่อันเตวาสิกควรประพฤติปฏิบัติต่ออาจารย์
       (เช่นเดียวกับ อุปัชฌายวัตร ที่สัทธิวิหาริกพึงปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 78
อาจริยวาท วาทะของพระอาจารย์, มติของพระอาจารย์;
       บางที ใช้เป็นคำเรียกพุทธศาสนานิกายฝ่ายเหนือ คือ มหายาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 78
อาจาระ ความประพฤติดี, มรรยาทดีงาม, จรรยา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 78
อาจารย์ ผู้สั่งสอนวิชาความรู้, ผู้ฝึกหัดอบรมมรรยาท,
       อาจารย์ ๔ คือ
           ๑. บัพพชาจารย์ หรือ บรรพชาจารย์ อาจารย์ในบรรพชา
           ๒. อุปสัมปทาจารย์ อาจารย์ในอุปสมบท
           ๓. นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้นิสสัย
           ๔. อุทเทศาจารย์ หรือ ธรรมาจารย์ อาจารย์ผู้สอนธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 78
อาจารวิบัติ เสียอาจาระ, เสียจรรยา, มรรยาทเสียหาย,
       ประพฤติย่อหย่อนรุ่มร่าม มักต้องอาบัติเล็กน้อย ตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมาถึงทุพภาษิต
       (ข้อ ๒ ในวิบัติ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 78
อาจิณ เคยประพฤติมา, เป็นนิสัย, ทำเสมอๆ, ทำจนชิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 78
อาจิณณจริยา ความประพฤติเนืองๆ, ความประพฤติประจำ, ความประพฤติที่เคยชิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 78
อาจิณณวัตร การปฏิบัติประจำ, การปฏิบัติเสมอๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 78
อาณาจักร เขตแดนที่อยู่ในอำนาจปกครองของรัฐบาลหนึ่ง, อำนาจปกครองทางบ้านเมือง
       ใช้คู่กับพุทธจักร ซึ่งหมายความว่า ขอบเขตการปกครองในพุทธศาสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 78
อายาจนะ การขอร้อง, การวิงวอน, การเชื้อเชิญ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 78
อาสภิวาจา วาจาแสดงความเป็นผู้องอาจ,
       วาจาองอาจ คือ คำประกาศพระองค์ว่า เป็นเอกในโลก
       ตามเรื่องว่า พระมหาบุรุษเมื่อประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ย่างพระบาทไป ๗ ก้าวแล้วหยุดยืนตรัสอาสภิวาจาว่า “อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส” ดังนี้เป็นต้น
       แปลว่า “เราเป็นอัครบุคคลของโลก ฯลฯ”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 78
อุทเทศาจารย์ อาจารย์ผู้บอกธรรม, อาจารย์สอนธรรม
       (ข้อ ๔ ในอาจารย์ ๔);
       คู่กับ ธรรมันเตวาสิก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 78
อุปัชฌายาจารย์ อุปัชฌาย์และอาจารย์


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=าจ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D2%A8


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]