ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ัง ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กังขาเรวตะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นบุตรของตระกูลที่มั่งคั่ง ชาวพระนครสาวัตถี
       ได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดง มีความเลื่อมใสขอบวช ต่อมาได้สำเร็จพระอรหัต
       ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้ยินดีในฌานสมาบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยหมดสงสัยในนามรูป คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้ว่า เพราะอะไรเกิดนามรูปจึงเกิด เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กังสดาล ระฆังวงเดือน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กัสสปสังยุตต์ ชื่อเรียกพระสูตรหมวดหนึ่ง ในคัมภีร์สังยุตตนิกาย รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับพระมหากัสสปไว้เป็นหมวดหมู่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
กามสังวร ความสำรวมในกาม, การรู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ ไม่ให้หลงใหลหมกมุ่นใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส
       (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
กายสังขาร
       1. ปัจจัยปรุงแต่งกาย ได้แก่ลมหายใจเข้า หายใจออก
       2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา หรือความจงใจทางกาย ซึ่งทำให้เกิดกายกรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
กายสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องด้วยกาย, การเคล้าคลึงร่างกาย,
       เป็นชื่ออาบัติสังฆาทิเสสข้อที่ ๒ ที่ว่าภิกษุมีความกำหนัดถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม, การจับต้องกายหญิงโดยมีจิตกำหนัด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
กำลังของพระมหากษัตริย์ ดู พละ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
กุฏฐัง โรคเรื้อน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
โกลังโกละ “ผู้ไปจากตระกูลสู่ตระกูล” หมายถึงพระโสดาบัน ซึ่งจะต้องไปเกิดอีก ๒-๓ ภพ แล้วจึงบรรลุพระอรหัต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
ขลุปัจฉาภัตติกังคะ องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง คือ เมื่อลงมือฉันแล้วมีผู้นำอาหารมาถวายอีก ก็ไม่รับ
       (ข้อ ๗ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
ขัดบัลลังก์ ดู บัลลังก์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
คู้บัลลังก์ ดู บัลลังก์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
จังหัน ข้าว, อาหาร (ใช้แก่พระสงฆ์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
จิตตสังขาร
       1. ปัจจัยปรุงแต่งจิต ได้แก่ สัญญาและเวทนา
       2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม
           ดู สังขาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
จูฬสังคาม ชื่อตอนหนึ่งในคัมภีร์บริวารแห่งพระวินัยปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
เจ้าสังกัด ผู้มีอำนาจในหมู่คนที่ขึ้นอยู่กับตน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
เจ้าอธิการแห่งคลัง ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับคลังเก็บพัสดุของสงฆ์ มี ๒ อย่างคือ
       ผู้รักษาคลังที่เก็บพัสดุของสงฆ์ (ภัณฑาคาริก) และ
       ผู้จ่ายของเล็กน้อยให้แก่ภิกษุทั้งหลาย (อัปปมัตตวิสัชชกะ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
ฉัพพรรณรังสี รัศมี ๖ ประการ ซึ่งเปล่งออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า คือ
       ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน
       ๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง
       ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน
       ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน
       ๕. มัญเชฐ สีหงสบาท เหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่
       ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชากำหนดรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และการออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ตามความเป็นจริง
       (ข้อ ๗ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ
       (ข้อ ๓ ในสังวร ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
ตทังคนิพพาน “นิพพานด้วยองค์นั้น”,
       นิพพานด้วยองค์ธรรมจำเพาะ เช่น มองเห็นขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์แล้วหายทุกข์ร้อน ใจสงบสบายมีความสุขอยู่ตลอดชั่วคราวนั้นๆ,
       นิพพานเฉพาะกรณี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
ตทังคปหาน “การละด้วยองค์นั้น”,
       การละกิเลสด้วยองค์ธรรมที่จำเพาะกันนั้น คือละกิเลสด้วยองค์ธรรมจำเพาะที่เป็นคู่ปรับกัน
       แปลง่ายๆ ว่า “การละกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ” เช่น ละโกรธด้วยเมตตา
       (แปลกันมาว่า “การละกิเลสได้ชั่วคราว”)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
ตทังควิมุตติ “พ้นด้วยองค์นั้นๆ”
       หมายความว่า พ้นจากกิเลสด้วยอาศัยธรรมตรงกันข้ามที่เป็นคู่ปรับกัน เช่น เกิดเมตตา หายโกรธ เกิดสังเวช หายกำหนัด เป็นต้น
       เป็นการหลุดพ้นชั่วคราว และเป็นโลกิยวิมุตติ
       ดู วิมุตติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
ต่อหนังสือค่ำ วิธีที่ใช้สอนให้จำ ในยุคที่ยังไม่ได้ใช้หนังสือ
       โดยอาจารย์สอนให้ว่าทีละคำหรือทีละวรรค ศิษย์ก็ว่าตามว่าซ้ำหลายๆ ครั้งเพื่อให้จำได้ เมื่อศิษย์จำได้แล้ว อาจารย์ก็สอนต่อไปทุกๆ วัน วันละมากหรือน้อยแล้วแต่ความสามารถของศิษย์ นี่เรียกว่า ต่อหนังสือ และมักต่อในเวลาค่ำ จึงเรียกว่าต่อหนังสือค่ำ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
เตจีวริกังคะ องค์แห่งภิกษุผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร คือถือเพียงผ้าสามผืน ได้แก่ จีวร สบง สังฆาฏิอย่างละผืนเท่านั้น ไม่ใช้จีวรนอกจากผ้าสามผืนนั้น
       (ข้อ ๒ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
ถือบังสุกุล ใช้ผ้าเฉพาะที่ได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อ
       คือ ผ้าที่เขาทิ้งแล้วมาทำเครื่องนุ่งห่ม ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย;
       ดู ปังสุกูลิกังคะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
เถยยสังวาส ลักเพศ, มิใช่ภิกษุ แต่ปลอมเพศเป็นภิกษุ
       (พจนานุกรมเขียน เถยสังวาส, เขียนอย่างบาลีเป็น เถยยสังวาสก์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์สุขสามัญที่มองเห็นกันในชาตินี้ ที่คนทั่วไปปรารถนา มีทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี เป็นต้น อันจะสำเร็จด้วยธรรม ๔ ประการ คือ
       ๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น
       ๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา
       ๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี
       ๔. สมชีวิตา การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้;
           มักเรียกคล่องปากว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
ทุติยสังคายนา การร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒ ราว ๑๐๐ ปี แต่พุทธปรินิพพาน;
       ดู สังคายนา ครั้งที่ ๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
ทุติยสังคีติ การสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
ธรรมเทศนาปฏิสังยุต ธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการแสดงธรรม (หมวดที่ ๓ แห่งเสขิยวัตร มี ๑๖ สิกขาบท)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
ธรรมสังคาหกะ พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ผู้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัยในคราวปฐมสังคายนา

ธรรมสังคาหกาจารย์ อาจารย์ผู้ร้อยกรองธรรม;
       ดู ธรรมสังคาหกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
ธรรมสังคีติ การสังคายนาธรรม, การร้อยกรองธรรม, การจัดสรรธรรม เป็นหมวดหมู่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
ธรรมสังเวช ความสังเวชโดยธรรมเมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์);
       ดู สังเวช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
นวังคสัตถุศาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง,
       ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ
           ๑. สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส)
           ๒. เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด)
           ๓. เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น)
           ๔. คาถา (ความร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา เป็นต้น)
           ๕. อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร)
           ๖. อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร)
           ๗. ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง)
           ๘. อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ)
           ๙. เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น);
       เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์;
       ดู ไตรปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
นานาสังวาส
       มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วม (คืออุโบสถและสังฆกรรมเป็นต้น) ที่ต่างกัน,
       สงฆ์ผู้ไม่ร่วมสังวาส คือไม่ร่วมอุโบสถและสังฆกรรมด้วยกัน เรียกว่าเป็นนานาสังวาสของกันและกัน
       เหตุที่ทำให้เป็นนานาสังวาสมี ๒ คือ
           ภิกษุทำตนให้เป็นนานาสังวาสเอง เช่น อยู่ในนิกายหนึ่งไปขอเข้านิกายอื่น หรือแตกจากพวกเพราะเหตุวิวาทาธิกรณ์อย่างหนึ่ง
           อีกอย่างหนึ่งถูกสงฆ์พร้อมกันยกออกจากสังวาส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
เนสัชชิกังคะ องค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือ ถือ นั่ง ยืน เดิน เท่านั้น ไม่นอน
       (ข้อ ๑๓ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
บังคม ไหว้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
บังสุกุล ผ้าบังสุกุล หรือ บังสุกุลจีวร;
       ในภาษาไทยปัจจุบัน มักใช้เป็นคำกริยา หมายถึงการที่พระสงฆ์ชักเอาผ้าซึ่งเขาทอดวางไว้ที่ศพ ที่หีบศพหรือที่สายโยงศพ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
บังสุกุลจีวร ผ้าที่เกลือกกลั้วด้วยฝุ่น, ผ้าที่ได้มาจากกองฝุ่น, กองหยากเยื่อ ซึ่งเขาทิ้งแล้ว ตลอดถึงผ้าห่อคลุมศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ไม่ใช่ผ้าที่ชาวบ้านถวาย,
       ปัจจุบันมักหมายถึง ผ้าที่พระชักจากศพโดยตรงก็ตาม จากสายโยงศพก็ตาม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
บัลลังก์ ในคำว่า “นั่งขัดบัลลังก์” หรือ “นั่งคู้บัลลังก์” คือ นั่งขัดสมาธิ ;
       ความหมายทั่วไปว่า แท่น, พระแท่น, ที่นั่งผู้พิพากษาเมื่อพิจารณาคดีในศาล,
       ส่วนของสถูปเจดีย์บางแบบ มีรูปเป็นแท่นเหนือคอระฆัง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
บุญญาภิสังขาร ดู ปุญญาภิสังขาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
เบียดบัง การถือเอาเศษ เช่นท่านให้เก็บเงินค่าเช่าต่างๆ เก็บได้มากแต่ให้ท่านแต่น้อย ให้ไม่ครบจำนวนที่เก็บได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
ปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซมทำให้กลับดีเหมือนเดิม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง,
       ปรีชาคำนึงพิจารณาสังขาร เพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย;
       ดู วิปัสสนาญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
ปฐมสังคายนา การสังคายนาครั้งที่ ๑; ดู สังคายนาครั้งที่ ๑

ปฐมสังคีติ การสังคายนาครั้งแรก; ดู สังคายนาครั้งที่ ๑

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
ปลงพระชนมายุสังขาร ดู ปลงอายุสังขาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
ปลงสังขาร ทอดอาลัยในกายของตน ว่าจะตายเป็นแน่แท้แล้ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
ปลงอายุสังขาร “สลัดลงซึ่งปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอายุ”,
       ตกลงใจกำหนดการสิ้นสุดอายุ,
       ตกลงพระทัยว่าจะปรินิพพาน,
       กำหนดพระทัยเกี่ยวกับการที่จะปรินิพพาน (ก่อนปรินิพพาน ๓ เดือน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
ปวัตตมังสะ เนื้อที่มีอยู่แล้ว คือเนื้อสัตว์ที่เขาขายอยู่ตามปกติสำหรับคนทั่วๆ ไป ไม่ใช่ฆ่าเพื่อเอาเนื้อมาถวายพระ;
       ตรงข้ามกับ อุทิสสมังสะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
ปังสุกูลิกังคะ องค์แห่งผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ใช้เฉพาะแต่ผ้าบังสุกุล คือ ไม่รับจีวรจากทายก เที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลมาเย็บย้อมทำจีวรเอง;
       (ข้อ ๑ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน,
       ปรีชากำหนดรู้เหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่ รู้ว่าควรทำอย่างไร ในเมื่อมีเหตุหรือผลเกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นต้น
       (ข้อ ๓ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
ปัญจังคะ เก้าอี้มีพนักด้านเดียว, เก้าอี้ไม่มีแขน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
ปัตตปิณฑิกังคะ องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือ ถือการฉันเฉพาะในบาตร ไม่ใช้ภาชนะอื่น
       (ข้อ ๖ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์อนุญาต
       (ข้อ ๑ ในปาริสุทธิศีล ๔, ข้อ ๑ ในสังวร ๕, ข้อ ๑ ในองค์แห่งภิกษุใหม่ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
ปิณฑปาติกธุดงค์ องค์คุณเครื่องขจัดกิเลสแห่งภิกษุเป็นต้น ผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
       หมายถึง ปิณฑปาติกังคะ นั่นเอง

ปิณฑปาติกังคะ องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คือ ไม่รับนิมนต์หรือลาภพิเศษอย่างอื่นใด ฉันเฉพาะอาหารที่บิณฑบาตมาได้
       (ข้อ ๓ ใน ธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี
       ได้แก่กุศลเจตนา (เฉพาะที่เป็นกามาวจรและรูปวจร)
       (ข้อ ๑ ในอภิสังขาร ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
ผ้าบังสุกุล ดู บังสุกุล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
ภพหลัง โลกที่สัตว์เกิดมาแล้วในชาติที่ผ่านมา, ภพก่อน, ชาติก่อน;
       ตรงข้ามกับภพหน้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
ภวังค์ ดู ภวังคจิต

ภวังคจิต จิตที่เป็นองค์แห่งภพ,
       ตามหลักอภิธรรมว่า จิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิและจุติ คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ในเวลาที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น
       แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์ เช่น เกิดการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ก็เกิดเป็นวิถีจิตแทนภวังคจิต เมื่อวิถีจิตดับหมดไป ก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นอย่างเดิม
       ภวังคจิต นี้ คือมโน ที่เป็นอายตนะที่ ๖ หรือมโนทวาร อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพ หรือตามปกติของมัน ยังไม่ขึ้นสู่วิถีรับรู้อารมณ์ (เป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ)
       พุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา” มีความหมายว่า จิตนี้โดยธรรมชาติของมันเอง มิใช่เป็นสภาวะที่แปดเปื้อนสกปรก หรือมีสิ่งเศร้าหมองเจือปนอยู่ แต่สภาพเศร้าหมองนั้นเป็นของแปลกปลอมเข้ามา ฉะนั้น การชำระจิตให้สะอาดหมดจดจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้;
       จิตที่ประภัสสรนี้ พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ได้แก่ภวังคจิต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
ภังคะ ผ้าทำด้วยของเจือกัน คือ ผ้าทำด้วยเปลือกไม้ ฝ้าย ไหม ขนสัตว์ เปลือกป่าน ๕ อย่างนี้ อย่างใดก็ได้ปนกัน เช่น ผ้าด้ายแกมไหม เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
ภังคญาณ ปัญญาหยั่งเห็นความย่อยยับ คือ เห็นความดับแห่งสังขาร
       ภังคานุปัสสนาญาณ ก็เรียก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความสลาย, ปรีชาหยั่งเห็นเฉพาะความดับของสังขารเด่นชัดขึ้นมาว่า สังขารทั้งปวงล้วนจะต้องแตกสลายไปทั้งหมด
       (ข้อ ๒ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
ภิกขุนีวิภังค์ คัมภีร์ที่จำแนกความแห่งสิกขาบททั้งหลายในภิกขุนีปาฏิโมกข์ อยู่ในพระวินัยปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
ภิกขุวิภังค์ คัมภีร์จำแนกความแห่งสิกขาบทในภิกขุปาฏิโมกข์ อยู่ในพระวินัยปิฎก
       มักเรียกว่า มหาวิภังค์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
โภชนปฏิสังยุต ธรรมเนียมที่เกี่ยวกับโภชนะ,
       ข้อที่ภิกษุสามเณรควรประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับการรับบิณฑบาตและฉันอาหาร,
       เป็นหมวดที่ ๒ แห่งเสขิยวัตร มี ๓๐ สิกขาบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
โภชนะทีหลัง ดู ปรัมปรโภชน์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
มหาสังคาม ชื่อตอนหนึ่งในคัมภีร์บริวาร พระวินัยปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
มังคลัตถทีปนี ชื่อคัมภีร์อธิบายมงคล ๓๘ ประการ ในมงคลสูตร
       พระสิริมังคลาจารย์แห่งลานนาไทย รจนาขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๗ โดยรวบรวมคำอธิบายจากอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกาต่างๆ เป็นอันมาก พร้อมทั้งคำบรรยายของท่านเอง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
มังสะ เนื้อ, ชิ้นเนื้อ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
มังสจักขุ จักษุคือดวงตา เป็นคุณพิเศษของพระพุทธเจ้า คือ มีพระเนตรที่งาม แจ่มใส ไว และเห็นได้ชัดเจน แม้ในระยะไกล
       (ข้อ ๑ ในจักขุ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
มังสวิรัติ การงดเว้นกินเนื้อสัตว์ (เป็นคำบัญญัติภายหลัง)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
มิจฉาสังกัปปะ ดำริผิด ได้แก่ ดำริแส่ไปในกาม ดำริพยาบาท ดำริเบียดเบียนเขา
       (ข้อ ๒ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
เมถุนสังโยค อาการพัวพันเมถุน, ความประพฤติที่ยังเกี่ยวเนื่องกับเมถุน มี ๗ ข้อ
       โดยใจความคือ สมณะบางเหล่าไม่เสพเมถุน แต่ยังยินดีในเมถุนสังโยค คือ
           ชอบการลูบไล้และการนวดของหญิง,
           ชอบซิกซี้ เล่นหัวสัพยอกกับหญิง,
           ชอบจ้องดูตากับหญิง,
           ชอบฟังเสียงหัวเราะขับร้องของหญิง,
           ชอบนึกถึงการเก่าที่เคยหัวเราะพูดเล่นกับหญิง,
           เห็นชาวบ้านเขาบำรุงบำเรอกันด้วยกามคุณแล้วปลื้มใจ,
           หรือแม้แต่ประพฤติพรหมจรรย์ โดยตั้งความปรารถนาที่จะเป็นเทพเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
ไม่มีสังวาส ไม่มีธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย, ขาดสิทธิอันชอบธรรม ที่จะถือเอาประโยชน์แห่งความเป็นภิกษุ, ขาดจากความเป็นภิกษุ, อยู่ร่วมกับสงฆ์ไม่ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
ยถาสันถติกังคะ องค์แห่งผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามแต่เขาจัดให้ ไม่เลือกเสนาสนะเอาตามพอใจตัวเอง
       (ข้อ ๑๒ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
รังสฤษฏ์ สร้าง, แต่งตั้ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
รังสี แสง, แสงสว่าง, รัศมี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
รัตนบัลลังก์ บัลลังก์ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้, ที่ประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ัง
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D1%A7


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]