ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ าท ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กามาทีนพ โทษแห่งกาม, ข้อเสียของกาม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กามุปาทาน ความยึดติดถือมั่นในกาม ยึดถือว่าเป็นของเราหรือจะต้องเป็นของเรา จนเป็นเหตุให้เกิดริษยาหรือหวงแหน ลุ่มหลง เข้าใจผิด ทำผิด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กุลปสาทกะ ผู้ยังตระกูลให้เลื่อมใส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
ขาทนียะ ของควรเคี้ยว, ของขบของเคี้ยว ได้แก่ผลไม้ต่างๆ และเหง้าต่างๆ เช่น เผือกมัน เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
เข้าที่ นั่งภาวนากรรมฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
ควรทำความไม่ประมาท ในที่ ๔ สถาน ดู อัปปมาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
ความไม่ประมาท ดู อัปปมาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
โคนิสาทิกา “กัปปิยภูมิอันดุจเป็นที่โคจ่อม” คือเรือนครัวน้อยๆ ที่ไม่ได้ปักเสา ตั้งอยู่กับที่ ตั้งฝาบนคาน ยกเลื่อนไปจากที่ได้
       ดู กัปปิยภูมิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
เจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้ทำหน้าที่ต่างๆ เกี่ยวกับการของส่วนรวมในวัดตามพระวินัยแบ่งไว้เป็น ๕ ประเภทคือ
       ๑. เจ้าอธิการแห่งจีวร
       ๒. เจ้าอธิการแห่งอาหาร
       ๓. เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ
       ๔. เจ้าอธิการแห่งอาราม
       ๕. เจ้าอธิการแห่งคลัง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
ฉลองพระบาท รองเท้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชากำหนดรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และการออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ตามความเป็นจริง
       (ข้อ ๗ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
เถรวาท วาทะหรือลัทธิของพระเถระ,
       นิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวกได้วางหลักธรรมวินัยเป็นแบบแผนไว้ เมื่อครั้งปฐมสังคายนา ได้แก่ พระพุทธศาสนาอย่างที่นับถือแพร่หลายในประเทศไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา
       (อีกนิกายหนึ่ง คือ มหายาน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
ทายาท ผู้สืบสกุล, ผู้ควรรับมรดก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ, ความยึดติดฝังใจในลัทธิ ทฤษฎี และหลักความเชื่อต่างๆ
       (ข้อ ๒ ในอุปาทาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
ธรรมทายาท ทายาทแห่งธรรม, ผู้รับมรดกธรรม, ผู้รับเอาธรรมของพระพุทธเจ้ามาเป็นสมบัติด้วยการประพฤติปฏิบัติให้เข้าถึง;
       โดยตรง หมายถึง รับเอาโลกุตตรธรรม ๙ ไว้ได้ด้วยการบรรลุเอง
       โดยอ้อม หมายถึง รับปฏิบัติกุศลธรรม จะเป็นทาน ศีล หรือภาวนาก็ตาม ตลอดจนการบูชา ที่เป็นไปเพื่อบรรลุซึ่งโลกุตตรธรรมนั้น;
       เทียบ อามิสทายาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
ธรรมวาที “ผู้มีปกติกล่าวธรรม”, ผู้พูดเป็นธรรม, ผู้พูดตามธรรม, ผู้พูดตรงตามธรรมหรือพูดถูกต้องตามหลัก ไม่พูดผิดธรรม ไม่พูดนอกหลักธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
ธรรมสมาทาน การสมาทานหรือปฏิบัติธรรม,
       การทำกรรม จัดได้เป็น ๔ ประเภท คือ
           การทำกรรมบางอย่างให้ทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป,
           บางอย่างให้ทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป,
           บางอย่างให้สุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป,
           บางอย่างให้สุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
นวโกวาท คำสอนสำหรับผู้บวชใหม่, คำสอนสำหรับภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่, ชื่อหนังสือแบบเรียนนักธรรมชั้นตรี เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
บาทยุคล คู่แห่งบาท, พระบาททั้งสอง (เท้าสองข้าง)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
ปฏิจจสมุปบาท สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์คือหัวข้อ ๑๒ ดังนี้
       ๑. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา
            เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี
       ๒. สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ
            เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
       ๓. วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ
            เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
       ๔. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ
            เพราะนามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนจึงมี
       ๕. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส
            เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
       ๖. ผสฺสปจฺจยา เวทนา
            เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
       ๗. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา
            เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
       ๘. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ
            เพราะตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
       ๙. อุปาทานปจฺจยา ภโว
            เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมี
       ๑๐. ภวปจฺจยา ชาติ
            เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี
       ๑๑. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ
            เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
        โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
            โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงมีพร้อม
        เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
            ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
ปมาทะ ความประมาท, ความเลินเล่อ, ความเผลอ, ความขาดสติ, ความปล่อยปละละเลย;
       เทียบ อัปปมาทะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
ประมาท ดู ปมาทะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
ประสาท
       1. เครื่องนำความรู้สึกสำหรับคนและสัตว์ เรียกประสาทรูปก็ได้
       2. ความเลื่อมใส; ดู ปสาท
       3. ยินดีให้, โปรดให้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
ประสาทรูป รูปคือประสาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
ปรัปวาท [ปะ-รับ-ปะ-วาด] คำกล่าวของคนพวกอื่นหรือลัทธิอื่น, คำกล่าวโทษคัดค้านโต้แย้งของคนพวกอื่น, หลักการของฝ่ายอื่น, ลัทธิภายนอก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
ปราสาท เรือนหลวง, เรือนชั้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
ปสาทะ ความเลื่อมใส, ความชื่นบานผ่องใส, อาการที่จิตเกิดความแจ่มใส โปร่งโล่งเบิกบานปราศจากความอึดอัดขุ่นมัว ต่อบุคคลหรือสิ่งที่พบเห็น สดับฟังหรือระลึกถึง;
       มักใช้คู่กับ ศรัทธา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
ปัจฉิมโอวาท คำสอนครั้งสุดท้าย
       หมายถึง ปัจฉิมวาจา คือ พระดำรัสสุดท้ายของพระพุทธเจ้าก่อนจะปรินิพพานว่า
           “วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ”
       แปลว่า
           “สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจง (ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น) ให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
ปาทุกา รองเท้าประเภทหนึ่ง แปลกันมาว่า “เขียงเท้า”
       เป็นรองเท้าที่ต้องห้ามทางพระวินัย อันภิกษุไม่พึงใช้;
       ดู รองเท้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
ปาสาทิกสูตร ชื่อสูตรที่ ๖ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
เปสุญญวาท ถ้อยคำส่อเสียด; ดู ปิสุณาวาจา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
ผ้าทรงสะพัก ผ้าห่มเฉียงบ่า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
ผ้าทิพย์ ผ้าห้อยหน้าตักพระพุทธรูป (โดยมากเป็นปูนปั้นมีลายต่างๆ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
พยาบาท ความขัดแค้นเคืองใจ, ความเจ็บใจ, ความคิดร้าย;
       ตรงข้ามกับเมตตา;
       ในภาษาไทยหมายถึง ผูกใจเจ็บและคิดแก้แค้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
พยาบาทวิตก ความตริตรึกในทางคิดร้ายต่อผู้อื่น,
       ความคิดนึกในทางขัดเคืองชิงชัง ไม่ประกอบด้วยเมตตา
       (ข้อ ๒ ในอกุศลวิตก ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
พุทธบาท รอยเท้าของพระพุทธเจ้า
       อรรถกถาว่า ทรงประทับแห่งแรกที่บนหาดทรายฝั่งแม่น้ำนันมทา แห่งที่สองที่ภูเขาสัจจพันธคีรี
       นอกจากนี้ ตำนานสมัยต่อๆ มาว่ามีที่ภูเขาสุมนกูฏ (ลังกาทวีป) สุวรรณบรรพต (สระบุรี ประเทศไทย) และเมืองโยนก
       รวมเป็น ๕ สถาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
พุทธโอวาท คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีหลักใหญ่ ๓ ข้อ คือ
       ๑. สพฺพปาปสฺส อกรณํ ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
       ๒. กุสลสฺสูปสมฺปทา ทำความดีให้เพียบพร้อม
       ๓. สจิตฺตปริโยทปนํ ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
พุทธาทิบัณฑิต บัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น (พุทธ + อาทิ + บัณฑิต)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
พุทธุปบาทกาล กาลเป็นที่อุบัติของพระพุทธเจ้า, เวลาที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
โภคอาทิยะ ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์มี ๕ คือ
       ๑. เลี้ยงตัว มารดาบิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข
       ๒. เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข
       ๓. บำบัดป้องกันภยันตราย
       ๔. ทำ พลี ๕ อย่าง
       ๕. ทำทานในสมณพราหมณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
มารยาท กิริยา, กิริยาวาจาที่ถือว่าเรียบร้อย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด, ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม เช่นเห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
       (พจนานุกรมเขียน มิจฉาทิฐิ);
       (ข้อ ๑ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
มุสาวาท พูดเพ็จ, พูดโกหก, พูดไม่จริง
       (ข้อ ๔ ในกรรมกิเลส ๔, ข้อ ๗ ในมละ ๙, ข้อ ๔ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
มุสาวาทวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องพูดปดเป็นต้น เป็นวรรคที่ ๑ แห่ง ปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์ แห่งวินัยปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ, เว้นจากการพูดโกหก, เว้นจากพูดไม่จริง
       (ข้อ ๔ ในศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
ยุคลบาท, บาทยุคล เท้าทั้งสอง, เท้าทั้งคู่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
รัชทายาท ผู้จะสืบราชสมบัติ, ผู้จะได้ครองราชสมบัติสืบต่อไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
ราโชวาท คำสั่งสอนของพระราชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
ริบราชบาทว์ เอาเป็นของหลวงตามกฎหมาย เพราะเจ้าของต้องโทษแผ่นดิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อ;
       (ข้อ ๔ ในอนันตริยกรรม ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
วินยวาที ผู้มีปกติกล่าวพระวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
วิภัชชวาที “ผู้กล่าวจำแนก”, “ผู้แยกแยะพูด”,
       เป็นคุณบท คือคำแสดงคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า
       หมายความว่า ทรงแสดงธรรมแยกแยะแจกแจงออกไป ให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ มาประชุมกันเข้าอย่างไร เช่น
           แยกแยะกระจายนามรูปออกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น
           สิ่งทั้งหลายมีด้านที่เป็นคุณและด้านที่เป็นโทษอย่างไร
           เรื่องนั้นๆ มีข้อจริงข้อเท็จอะไรบ้าง
           การกระทำอย่างนั้นๆ มีแง่ถูกแง่ผิด แง่ที่ดีและแง่ไม่ดีประการใด เป็นต้น
       เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งนั้นเรื่องนั้นอย่างชัดเจน มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง เช่น มองเห็นความเป็นอนัตตา เป็นต้น ไม่มองอย่างตีคลุมหรือเห็นแต่ด้านเดียว แล้วยึดติดในทิฏฐิต่างๆ อันทำให้ไม่เข้าถึงความจริงแท้ตามสภาวะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
วิวาท การทะเลาะ, การโต้แย้งกัน, การกล่าวเกี่ยงแย่งกัน,
       กล่าวต่าง คือ ว่าไปคนละทาง ไม่ลงกันได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
วิวาทมูล รากเหง้าแห่งการเถียงกัน,
       เหตุที่ก่อให้เกิดวิวาท กลายเป็นวิวาทาธิกรณ์ขึ้น มี ๒ อย่าง คือ
           ๑. ก่อวิวาทขึ้นด้วยความปรารถนาดี เห็นแก่ธรรมวินัย มีจิตประกอบด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ
           ๒. ก่อวิวาทด้วยความปรารถนาเลว ทำด้วยทิฏฐิมานะ มีจิตประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
วิวาทมูลกทุกข์ ทุกข์มีวิวาทเป็นมูล, ทุกข์เกิดเพราะการทะเลาะกันเป็นเหตุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
วิวาทาธิกรณ์ วิวาทที่จัดเป็นอธิกรณ์,
       การวิวาทซึ่งเป็นเรื่องที่สงฆ์จะต้องเอาธุระดำเนินการพิจารณาระงับ ได้แก่การเถียงกันปรารภพระธรรมวินัย เช่นเถียงกันว่า สิ่งนี้เป็นธรรม เป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ข้อนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ข้อนี้ไม่ได้ตรัสไว้ ดังนี้เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
ศราทธ์ การทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
       (ต่างจาก สารท)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
ศราทธพรต พิธีทำบุญอุทิศแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว;
       ศราทธพรตคาถา หรือ คาถาศราทธพรต หมายถึง คาถาหมวดหนึ่ง (มีร้อยแก้วนำเล็กน้อย) ที่พระสงฆ์ใช้สวดรับเทศน์ ในงานพระราชพิธีเผาศพในประเทศไทย
       แต่บัดนี้ใช้กันกว้างขวางออกไป แม้ในพิธีราษฎร์ที่จะจัดให้เป็นการใหญ่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
สมันตปาสาทิกา ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระวินัยปิฎก
       พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐ โดยปรึกษาอรรถกถาภาษาสิงหฬที่มีอยู่ก่อน ชื่อ มหาปัจจริยะ และ กุรุนที

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
สมาทปนา การให้สมาทาน หรือชวนให้ปฏิบัติ คือ อธิบายให้เห็นว่าเป็นความจริง ดีจริงจนใจยอมรับที่จะนำไปปฏิบัติ;
       เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการสอนที่ดี
       (ข้อก่อนคือ สันทัสสนา, ข้อต่อไปคือ สมุตเตชนา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
สมาทาน การถือเอารับเอาเป็นข้อปฏิบัติ, การถือปฏิบัติ เช่น สมาทานศีล คือรับเอาศีลมาปฏิบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
สมาทานวัตร ดู ขึ้นวัตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
สมาทานวิรัติ การเว้นด้วยการสมาทาน คือ ได้สมาทานศีลไว้ก่อนแล้ว เมื่อประสบเหตุที่จะให้ทำความชั่ว ก็งดเว้นได้ตามที่สมาทานนั้น
       (ข้อ ๒ ในวิรัติ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ,
       ดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ คือ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่,
       นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ;
       เทียบ อนุปาทิเสสนิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
สอุปาทิเสสบุคคล บุคคลผู้ยังมีเชื้อกิเลสเหลืออยู่,
       ผู้ยังไม่สิ้นอุปาทาน ได้แก่ พระเสขะ คือ พระอริยบุคคลทั้งหมด ยกเว้นพระอรหันต์;
       เทียบ อนุปาทิเสสบุคคล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
สังฆาทิเสส ชื่อหมวดอาบัติหนักรองจากปาราชิก ต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้ คือเป็นครุกาบัติ (อาบัติหนัก) แต่ยังเป็นสเตกิจฉา (แก้ไขหรือเยียวยาได้);
       ตามศัพท์ สังฆาทิเสส แปลว่า “หมวดอาบัติอันจำปรารถนาสงฆ์ในกรรมเบื้องต้นและกรรมที่เหลือ”,
       หมายความว่า วิธีการที่จะออกจากอาบัตินี้ ต้องอาศัยสงฆ์ ตั้งแต่ต้นไปจนตลอด
       กล่าวคือ เริ่มต้นจะอยู่ปริวาส ก็ต้องขอปริวาสจากสงฆ์ ต่อจากนั้น จะประพฤติมานัตก็ต้องอาศัยสงฆ์เป็นผู้ให้ ถ้ามีมูลายปฏิกัสสนาก็ต้องสำเร็จด้วยสงฆ์อีก และท้ายที่สุดก็ต้องขออัพภานจากสงฆ์;
       สิกขาบทที่ภิกษุละเมิดแล้ว จะต้องอาบัติสังฆาทิเสส ใช้เป็นชื่อเรียกสิกขาบท ๑๓ ข้อนี้ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
สังฆาทิเสสกัณฑ์ ตอนอันว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส,
       ในพระวินัยปิฎก ท่านเรียกว่าเตรสกัณฑ์ (ตอนว่าด้วยสิกขาบท ๑๓) อยู่ในคัมภีร์มหาวิภังค์เล่มแรก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
สัมปชานมุสาวาท รู้ตัวอยู่กล่าวเท็จ,
       การพูดเท็จทั้งที่รู้ คือรู้ความจริง แต่จงใจพูดให้คลาดจากความจริง เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจเป็นอย่างอื่นจากความจริง
       (สิกขาบทที่ ๑ แห่งมุสาวาทวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจจ์ ๔,
       เห็นชอบตามคลองธรรมว่า
           ทำดีมีผลดี
           ทำชั่วมีผลชั่ว
           มารดาบิดามี (คือมีคุณความดีควรแก่ฐานะหนึ่งที่เรียกว่ามารดาบิดา)
           ฯลฯ,
       เห็นถูกต้องตามที่เป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยงเป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในมรรค)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
สัมมาทิฏฐิสูตร พระสูตรแสดงความหมายต่างๆ แห่งสัมมาทิฏฐิ เป็นภาษิตของพระสารีบุตร
       (สูตรที่ ๙ ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นศีลและวัตรด้วยอำนาจกิเลส,
       ความถือมั่นศีลพรต คือธรรมเนียมที่ประพฤติกันมาจนชิน โดยเชื่อว่าขลังเป็นเหตุให้งมงาย,
       คัมภีร์ธัมมสังคณีแสดงความหมายอย่างเดียวกับสีลัพพตปรามาส
       (ข้อ ๓ ในอุปาทาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
สุรนาทโวหาร ถ้อยคำที่ฮึกห้าว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
สุรสิงหนาท การเปล่งเสียงพูดอย่างองอาจกล้าหาญ หรือพระดำรัสที่เร้าใจปลุกให้ตื่นฟื้นสติขึ้น เหมือนดั่งเสียงบันลือของราชสีห์
       เช่นที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “กิจอย่างใด อันพระศาสดาผู้เอ็นดู แสวงประโยชน์ เพื่อสาวกทั้งหลายจะพึงทำ กิจนั้นอันเราทำแล้วแก่พวกเธอทุกอย่าง”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
       (ข้อที่ ๕ ในศีล ๕ ศีล ๘ และศีล ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
อกุศลจิตตุปบาท จิตอกุศลเกิดขึ้น, ความคิดชั่ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย, ขโมยสิ่งของ, ลักทรัพย์
       (ข้อ ๒ ในกรรมกิเลส ๔ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, เว้นการลักขโมย
       (ข้อ ๒ ในศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และกุศลกรรมบถ ๑๐)



แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
อธรรมวาที ผู้กล่าวสิ่งที่มิใช่ธรรม, ผู้ไม่พูดตามหลักไม่พูดตามธรรม, ผู้พูดไม่เป็นธรรม, ผู้ไม่เป็นธรรมวาที

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ยึดครอง
       แปลกันง่ายๆ ว่า “สังขารที่ไม่มีใจครอง” เช่น ต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น
       (ข้อ ๒ ในสังขาร ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ,
       ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือ สิ้นทั้งกิเลสและชีวิต หมายถึง พระอรหันต์สิ้นชีวิต,
       นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับภพ;
       เทียบ สอุปาทิเสสนิพพาน


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=าท
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D2%B7


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]