ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ิน ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กฐิน ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร;
       ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ)
       ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔);
       ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น เรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ);
       สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป;
       ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
       ภิกษุผู้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ (เหมือนอานิสงส์การจำพรรษา ดู จำพรรษา) ยืดออกไปอีก ๔ เดือน (ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔) และได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลออกไปตลอด ๔ เดือนนั้น
       คำถวายผ้ากฐิน
       แบบสั้นว่า : อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม. (ว่า ๓ จบ)
       แปลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์
       แบบยาวว่า : อิมํ, ภนฺเต, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมํ สปริวารํ, กฐินทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน, กฐินํ, อตฺถรตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
       แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ

กฐินทาน การทอดกฐิน, การถวายผ้ากฐิน คือการที่คฤหัสถ์ผู้ศรัทธาหรือแม้ภิกษุสามเณร นำผ้าไปถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อทำเป็นผ้ากฐิน เรียกสามัญว่า ทอดกฐิน (นอกจากผ้ากฐินแล้วปัจจุบันนิยมมีของถวายอื่นๆ อีกด้วยจำนวนมาก เรียกว่า บริวารกฐิน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กฐินัตถารกรรม การกรานกฐิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กรานกฐิน ขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า ผู้กราน
       พิธีทำในบัดนี้คือ ภิกษุซึ่งจำพรรษาครบ ๓ เดือนในวัดเดียวกัน (ต้องมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไป) ประชุมกันในอุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ภิกษุรูปนั้นทำกิจตั้งแต่ ซัก กะตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้ เพื่ออนุโมทนา และภิกษุสงฆ์นั้นได้อนุโมทนาแล้ว เรียกว่า กรานกฐิน
       ถ้าผ้ากฐินเป็นจีวรสำเร็จรูป กิจที่จะต้อง ซัก กะ ตัด เย็บย้อม ก็ไม่มี
       (กราน เป็นภาษาเขมร แปลว่า ขึง คือทำให้ตึง กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลว่า ไม้สะดึง กรานกฐินก็คือขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง)
       เขียน กราลกฐิน บ้างก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กินร่วม ในประโยคว่า “ภิกษุใดรู้อยู่กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วยก็ดี” คบหากันในทางให้หรือรับอามิส และคบหากันในทางสอนธรรมเรียนธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
กุสินารา เมืองหลวงแห่งหนึ่งของแคว้นมัลละ (อีกแห่งหนึ่งคือ ปาวา)
       สมัยพุทธกาล กุสินารา เป็นเมืองเล็กๆ มีมัลลกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่เมืองนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
เกินพิกัด เกินกำหนดที่จะต้องเสียภาษีอากร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
จตุรงคินีเสนา กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่าม้า เหล่ารถ เหล่าราบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
จินตกวี นักปราชญ์ผู้ชำนาญคิดคำประพันธ์, ผู้สามารถในการแต่งร้อยกรองตามแนวความคิดของตน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการตามรักษาสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมด้วย) ดุจน้ำหล่อเลี้ยงดอกบัว เป็นต้น มี ๒ ฝ่ายคือ
       ๑. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นชีวิตรูป เป็นอุปาทายรูปอย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๑๓) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงเหล่ากรรมชรูป (รูปที่เกิดแต่กรรม) บางทีเรียก รูปชีวิตินทรีย์
       ๒. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิกเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง) อย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๖) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงนามธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลาย บางทีเรียก อรูปชีวิตินทรีย์ หรือ นามชีวิตินทรีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
เชฏฐภคินี พี่สาวคนโต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
ติณวัตถารกวินัย ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า
       ได้แก่ กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสางหาความเดิม เป็นวิธีระงับอาปัตตาธิกรณ์ ที่ใช้ในเมื่อจะระงับลหุกาบัติที่เกี่ยวกับภิกษุจำนวนมาก ต่างก็ประพฤติไม่สมควรและซัดทอดกันเป็นเรื่องนุงนังซับซ้อน ชวนให้ทะเลาะวิวาท กล่าวซัดลำเลิกกันไปไม่มีที่สุด จะระงับวิธีอื่นก็จะเป็นเรื่องลุกลามไป เพราะถ้าจะสืบสวนสอบสวนปรับให้กันและกันแสดงอาบัติ ก็มีแต่จะทำให้อธิกรณ์รุนแรงยิ่งขึ้น จึงระงับเสียด้วยติณวัตถารกวิธี คือแบบกลบไว้ด้วยหญ้า ตัดตอนยกเลิกเสีย ไม่สะสางความหลังกันอีก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
ทอดกฐิน ดู กฐิน, กฐินทาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หมายถึงมรรคมีองค์แปด
       เรียกสั้นๆ ว่า มรรค
       เรียกเต็มว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
เทสนาคามินี อาบัติที่ภิกษุต้องเข้าแล้ว จะพ้นได้ด้วยวิธีแสดง, อาบัติที่แสดงแล้วก็พ้นได้,
       อาบัติที่ปลงตกด้วยการแสดงที่เรียกว่า แสดงอาบัติ หรือปลงอาบัติ ได้แก่
           อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาษิต;
       ตรงข้ามกับ อเทสนาคามินี ซึ่งเป็นอาบัติที่ไม่อาจพ้นได้ด้วยการแสดง ได้แก่ ปาราชิก และสังฆาทิเสส;
       เทียบ วุฏฐานคามินี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
ธรรมทินนา ดู ธัมมทินนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
ธรรมวินัย ธรรมและวินัย,
       คำสั่งสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า ซึ่งประกอบด้วย
           ธรรม = คำสอนแสดงหลักความจริงและแนะนำความประพฤติ,
           วินัย = บทบัญญัติกำหนดระเบียบความเป็นอยู่และกำกับความประพฤติ ;
       ธรรม = เครื่องควบคุมใจ, วินัย = เครื่องควบคุมกายและวาจา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
ธัมมทินนา พระเถรีมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นกุลธิดาชาวพระนครราชคฤห์
       เป็นภรรยาของวิสาขเศรษฐี มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาบวชในสำนักนางภิกษุณี บำเพ็ญเพียรไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหัต
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางเป็นธรรมกถึก
       (เขียน ธรรมทินนา ก็มี)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
นครโศภินี หญิงงามเมือง, หญิงขายตัว
       (พจนานุกรมเขียน นครโสภิณี, นครโสเภณี)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
ปรินิพพาน การดับรอบ, การดับสนิท, ตาย (สำหรับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์);
       ดู นิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
ปรินิพพานบริกรรม การกระทำขั้นต้นก่อนที่จะปรินิพพาน,
       การเตรียมปรินิพพาน ในพุทธประวัติ ได้แก่ การทรงเข้าอนุปุพพวิหารสมาบัติก่อน แล้วเสด็จปรินิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
ปรินิพพานสมัย เวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
ปวัตตินี คำเรียกผู้ทำหน้าที่อุปัชฌาย์ในฝ่ายภิกษุณี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
ปัญจมหาสุบิน ดู มหาสุบิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
ปิปาสวินโย ความนำออกไปเสียซึ่งความกระหาย, กำจัดความกระหายคือตัณหาได้
       (เป็นไวพจน์ของวิราคะ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
ปิลินทวัจฉะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลพราหมณ์วัจฉโคตร ในเมืองสาวัตถี
       ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า มีศรัทธาเลื่อมใสออกบวชในพระพุทธศาสนา เจริญวิปัสสนาแล้ว ได้บรรลุอรหัตตผล
       ต่อมาได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางเป็นที่รักของพวกเทวดา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
ปิลินทวัจฉคาม ชื่อหมู่บ้านของคนงานวัดจำนวน ๕๐๐ ที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้เป็นผู้ช่วยทำที่อยู่ของพระปิลินทวัจฉะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
ผ้ากฐิน ผ้าผืนหนึ่งที่ใช้เป็นองค์กฐินสำหรับกราน แต่บางทีพูดคลุมๆ หมายถึงผ้าทั้งหมดที่ถวายพระในพิธีทอดกฐิน,
       เพื่อกันความสับสน จึงเรียกแยกเป็นองค์กฐิน หรือผ้าองค์กฐิน อย่างหนึ่ง
       กับผ้าบริวารหรือผ้าบริวารกฐิน อืกอย่างหนึ่ง;
       ดู กฐิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
พร้อมหน้าธรรมวินัย (ระงับอธิกรณ์) โดยนำเอาธรรมวินัย และสัตถุศาสน์ที่เป็นหลักสำหรับระงับอธิกรณ์นั้นมาใช้โดยครบถ้วน คือวินิจฉัยถูกต้องโดยธรรมและถูกต้องโดยวินัย
       (ธัมมสัมมุขตา วินยสัมมุขตา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
พระวินัย ดู วินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
พินทุ จุด, วงกลมเล็กๆ ในที่นี้หมายถึง พินทุกัปปะ

พินทุกัปปะ การทำพินทุ, การทำจุดเป็นวงกลม อย่างใหญ่เท่าแววตานกยูง อย่างเล็กเท่าหลังตัวเรือด ที่มุมจีวร ด้วยสีเขียวคราม โคลน หรือดำคล้ำ เพื่อทำจีวรให้เสียสีหรือมีตำหนิตามวินัยบัญญัติ และเป็นเครื่องหมายช่วยให้จำได้ด้วย;
       เขียนพินทุกัป ก็ได้, คำบาลีเดิมเป็นกัปปพินทุ, เรียกกันง่ายๆ ว่า พินทุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
พินัยกรรม หนังสือสำคัญที่เจ้าทรัพย์ทำไว้ก่อนตาย แสดงความประสงค์ว่าเมื่อตายแล้วขอมอบมรดกที่ระบุไว้ในหนังสือหนังสือสำคัญนั้น ให้แก่คนนั้นๆ,
       ตามพระวินัย ถ้าภิกษุทำเช่นนี้ไม่มีผล ต้องปลงบริขารจึงใช้ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
พุทธปรินิพพาน การเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า, การตายของพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
ภคินี พี่หญิง น้องหญิง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
มลทิน ความมัวหมอง, ความไม่บริสุทธิ์ เช่น
       ผ้าขาวเมื่อเป็นจุดสีต่างๆ ก็เรียกว่า ผ้ามีมลทิน
       นักบวชผิดศีล ก็เรียกได้ว่า นักบวชมีมลทิน;
       ดู มละ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
มหากัปปินะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นกษัตริย์ครองราชสมบัติในนครกุกกุฏวดีในปัจจันตประเทศ
       ได้ทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าแล้ว บังเกิดปีติศรัทธา สละราชสมบัติทรงม้าเดินทางไกลถึง ๓๐๐ โยชน์มาเฝ้าพระพุทธเจ้า สดับธรรมกถา บรรลุพระอรหัตแล้วได้รับอุปสมบท
       ส่วนพระอัครมเหสีชื่ออโนชา เมื่อทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าก็เกิดปีติและศรัทธาเช่นเดียวกัน พระนางทรงรถเสด็จมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ฟังธรรมบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว รับบรรพชาจากพระอุบลวรรณาเถรี ไปอยู่ในสำนักภิกษุณี
       ฝ่ายมหากัปปินเถระชอบอยู่สงบสงัดและมักอุทานว่า สุขจริงหนอ ท่านสามารถแสดงธรรมให้ศิษย์บรรลุอรหัตตผลได้พร้อมคราวเดียวถึง ๑,๐๐๐ องค์
       พระบรมศาสดายกย่องท่านว่า ท่านเป็นเอตทัคคะในทางให้โอวาทแก่ภิกษุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
มหาปรินิพพานสูตร สูตรที่ ๓ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย มหาวรรค พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยเหตุการณ์ใกล้พุทธปรินิพพาน จนถึงโทณพราหมณ์แจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
มหาสุบิน ความฝันอันยิ่งใหญ่,
       ความฝันครั้งสำคัญ หมายถึงความฝัน ๕ เรื่อง (ปัญจมหาสุบิน) ของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
       (พระอรรถกถาจารย์ระบุว่าทรงพระสุบินในคืนก่อนตรัสรู้ คือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖)
       ดังตรัสไว้ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระสุตตันตปิฎก ใจความว่า
       ๑. เสด็จบรรทมโดยมีมหาปฐพีนี้เป็นพระแท่นไสยาสน์ ขุนเขาหิมวันต์เป็นเขนย พระหัตถ์ซ้ายเหยียดหลั่งลงในมหาสมุทรด้านบูรพทิศ พระหัตถ์ขวาเหยียดหยั่งลงในมหาสมุทรด้านปัจฉิมทิศ พระบาททั้งสองเหยียดหยั่งลงในมหาสมุทรด้านทักษิณ
           (ข้อนี้เป็นบุพนิมิต หมายถึง การได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันไม่มีสิ่งใดยิ่งใหญ่กว่า)
       ๒. มีหญ้าคางอกขึ้นจากนาภีของพระองค์ สูงขึ้นจดท้องฟ้า
           (หมายถึงการที่ได้ตรัสรู้อารยอัษฎางคิกมรรคแล้ว ทรงประกาศออกไปถึงมวลมนุษย์และหมู่เทพ)
       ๓. หมู่หนอนตัวขาวศีรษะดำ พากันไต่ขึ้นมาจากพระบาทคลุมเต็มถึงชานุมณฑล
           (หมายถึง การที่คนนุ่งขาวชาวคฤหัสถ์มากมายพากันถึงตถาคตเป็นสรณะตลอดชีวิต)
       ๔. นกทั้งหลาย ๔ จำพวกมีสีต่างๆ กัน บินมาแต่ทิศทั้งสี่ แล้วมาหมอบจับที่เบื้องพระบาท กลับกลายเป็นสีขาวไปหมดสิ้น
           (หมายถึงการที่ชนทั้งสี่วรรณะมาออกบวชรวมกันในพระธรรมวินัย และได้ประจักษ์แจ้งวิมุตติธรรม)
       ๕. เสด็จดำเนินไปมาบนภูเขา คูถลูกใหญ่ แต่ไม่ทรงแปดเปื้อนด้วยคูถ
           (หมายถึงการทรงเจริญลาภในปัจจัยสี่พรั่งพร้อม แต่ไม่ทรงลุ่มหลงติดพัน ทรงบริโภคด้วยพระปัญญาที่ดำรงจิตปลอดโปร่งเป็นอิสระ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
มหินทเถระ พระเถระองค์หนึ่ง เป็นราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช และเป็นผู้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานที่เกาะลังกา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
มิลินท์ มหากษัตริย์เชื้อชาติกรีก แห่งสาคลประเทศในชมพูทวีป ผู้เป็นปราชญ์ยิ่งใหญ่ โต้วาทะชนะนักปราชญ์ทั้งหลายในสมัยนั้น จนในที่สุดได้โต้กับพระนาคเสน ยอมเลื่อมใส หันมานับถือพระพุทธศาสนา และเป็นองค์อุปถัมภกสำคัญ
       พระนามภาษากรีกว่า พระเจ้าเมนานเดอร์ ครองราชย์ พ.ศ. ๔๒๓ สวรรคต พ.ศ. ๔๕๓

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
มิลินทปัญหา คัมภีร์สำคัญ บันทึกคำสนทนาตอบปัญหาธรรมระหว่างพระนาคเสนกับพระยามิลินท์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
มุจจลินท์
       1. ต้นจิก, ไม้จิก ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นไม้นี้ ๗ วัน (สัปดาห์ ที่ ๓ ตามพระวินัย, สัปดาห์ที่ ๖ ตามคัมภีร์ชาดก)
       2. ชื่อพระยานาคที่เข้ามาเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะที่ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) เสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) ฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาวตลอด ๗ วัน พระยามุจจลินทนาคราชจึงแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าเพื่อป้องกันฝนและลมมิให้ถูกต้องพระกาย นี่เป็นมูลเหตุของการสร้างพระพุทธรูปนาคปรก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
ยินร้าย ไม่พอใจ, ไม่ชอบใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ดู หลักตัดสินธรรมวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
ลัชชินี หญิงผู้มีความละอายต่อบาป เป็นอิตถีลิงค์
       ถ้าเป็นปุงลิงค์ เป็น ลัชชี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
ลุมพินีวัน ชื่อสวนเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นสังเวชนียสถานหนึ่งใน ๔ แห่ง
       ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ บัดนี้เรียก Rummindei อยู่ที่ปาเดเรีย ในเขตประเทศเนปาล ห่างจากเขตแดนประเทศอินเดียไปทางเหนือ ประมาณ ๖ กิโลเมตรครึ่ง
       พระสิทธัตถะประสูติที่สวนนี้ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี
       (มีปราชญ์คำนวณว่าตรงกับวันศุกร์ ปีจอ เวลาใกล้เที่ยง);
       ดู สังเวชนียสถาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
ลูกถวิน ลูกกลมๆ ที่ผูกติดสายประคดเอว, ห่วงร้อยสายประคด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
วินยวาที ผู้มีปกติกล่าวพระวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
วินยสมฺมุขตา ความเป็นต่อหน้าวินัยในวิวาทาธิกรณ์
       หมายความว่า ปฏิบัติตามธรรมวินัยและสัตถุศาสน์อันเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์นั้น;
       ดู สัมมุขาวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
วินัย ระเบียบสำหรับกำกับความประพฤติให้เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน,
       ประมวลสิกขาบทของพระสงฆ์ทั้งส่วนอาทิพรหมจรรย์และอภิสมาจาร;
       ถ้าพูดว่าพระวินัย มักหมายถึงพระวินัยปิฎก

วินัย ระเบียบแบบแผนสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติของบุคคลให้มีชีวิตที่ดีงามเจริญก้าวหน้าและควบคุมหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อยดีงาม,
       ประมวลบทบัญญัติข้อบังคับสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติ;
       วินัย มี ๒ อย่างคือ
           ๑. อนาคาริยวินัย วินัยของผู้ไม่ครองเรือน คือ วินัยของบรรพชิต หรือวินัยของพระสงฆ์
               ได้แก่ การไม่ต้องอาบัติทั้ง ๗ หรือ ปาริสุทธิศีล ๔
           ๒. อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน คือ วินัยของชาวบ้าน
               ได้แก่ การงดเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยนัยก็คือ กุศลกรรมบถ ๑๐

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
วินัยกถา คำพูดเกี่ยวกับพระวินัย, คำบรรยาย คำอธิบาย หรือเรื่องสนทนาเกี่ยวกับพระวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
วินัยกรรม การกระทำเกี่ยวกับพระวินัย หรือการปฏิบัติตามวินัย เช่น การปลงอาบัติ การอธิษฐานบริขาร การวิกัปบาตรและจีวร เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
วินัยธร “ผู้ทรงวินัย”, ภิกษุผู้ชำนาญวินัย;
       พระอุบาลีเถระ ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดาพระวินัยธร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
วินัยปิฎก ดู ไตรปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
วินัยมุข มุขแห่งวินัย, หลักใหญ่ๆ หรือหัวข้อสำคัญๆ ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพระวินัย หรือเป็นปากทางนำเข้าสู่วินัย
       เป็นชื่อหนังสือที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงรจนาขึ้น เพื่อชี้ประโยชน์แห่งพระวินัย มุ่งช่วยให้พระภิกษุสามเณรตั้งอยู่ในปฏิบัติพองาม
       ผู้ไม่เคร่งจะได้รู้จักสำรวมรักษามรรยาทสมเป็นสมณะ
       ฝ่ายผู้เคร่งครัดเกินไปจะได้หายงมงาย ไม่สำคัญตนว่า ดีกว่าผู้อื่น ตั้งรังเกียจผู้อื่นเพราะเหตุผลเล็กน้อย เพียงสักว่า ธรรมเนียมหรือแม้ชักนำผู้อื่นในปฏิบัติอันดี ต่างจะได้อานิสงส์ คือไม่มีวิปฏิสาร;
       ทรงมุ่งหมายเพื่อจะแต่งแก้หนังสือ บุพพสิกขาวัณณนา ของพระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส;
       จัดพิมพ์เป็น ๓ เล่ม ใช้เป็นแบบเรียนนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก ตามลำดับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
วินัยวัตถุ เรื่องเกี่ยวกับพระวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
วินิจฉัย ไตร่ตรอง, ใคร่ครวญ, ชี้ขาด, ตัดสิน, ชำระความ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
วินิบาต โลกหรือวิสัยเป็นที่ตกไปแห่งสัตว์อย่างไร้อำนาจ, แดนเป็นที่ตกลงไปพินาศย่อยยับ;
       อรรถกถาแห่งอิติวุตตกะอธิบาย นัยหนึ่งว่า เป็นไวพจน์ของคำว่านรกนั่นเอง อีกนัยหนึ่งว่า หมายถึงกำเนิดอสุรกาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
วินิปาติกะ ท่านว่าได้แก่พวกเวมานิกเปรต คือ พวกเปรตมีวิมานอยู่ได้เสวยสุขและต้องทุกข์ทรมานเป็นช่วงๆ สลับกันไป มีสุขบ้างทุกข์บ้างคละระคน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
วินีตวัตถุ เรื่องที่ท่านวินิจฉัยแล้ว, เรื่องที่ตัดสินแล้ว
       ท่านแสดงไว้เป็นตัวอย่างสำหรับเทียบเคียงตัดสิน ในการปรับอาบัติ
       (ทำนองคำพิพากษาของศาลสูงสุดที่นำมาศึกษากัน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
วุฏฐานคามินี
       1. วิปัสสนาที่ให้ถึงมรรค, วิปัสสนาที่เจริญแก่กล้าถึงจุดสุดยอด ทำให้เข้าถึงมรรค (มรรคชื่อว่าวุฏฐานะ โดยความหมายว่าเป็นที่ออกไปได้จากสิ่งที่ยึดติดถือมั่น หรือออกไปพ้นจากสังขาร),
           วิปัสสนาที่เชื่อมต่อให้ถึงมรรค
       2. “อาบัติที่ให้ถึงวุฏฐานวิธี” คือ อาบัติที่จะพ้นได้ด้วยอยู่กรรม หมายถึงอาบัติสังฆาทิเสส,
           เทียบ เทสนาคามินี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
ศักดินา อำนาจปกครองที่นา หมายความว่า พระมหากษัตริย์พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้านาย และขุนนางเป็นต้น ถือนาได้มีกำหนดจำนวนไร่ เป็นเรือนหมื่นเรือนพันตามฐานานุรูป การพระราชทานให้ถือศักดินานั้น เป็นเครื่องเทียบยศและเป็นเครื่องปรับผู้ก้ำเกิน หรือเป็นเครื่องปรับผู้ถือศักดินานั่นเอง เมื่อทำผิด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
สติวินัย ระเบียบยกเอาสติขึ้นเป็นหลัก
       ได้แก่ กิริยาที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ ว่าเป็นผู้มีสติเต็มที่ เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ ที่มีผู้โจทท่านด้วยศีลวิบัติ
       หมายความว่า จำเลยเป็นพระอรหันต์ สงฆ์เห็นว่าไม่เป็นฐานะที่จำเลยจะทำการล่วงละเมิดดังโจทก์กล่าวหา จึงสวดกรรมวาจาประกาศความข้อนี้ไว้ เรียกว่าให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสีย
       ภายหลังจำเลยจะถูกผู้อื่นโจทด้วยอาบัติอย่างนั้นอีก ก็ไม่ต้องพิจารณา ให้อธิกรณ์ระงับด้วยสติวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
สสังขารปรินิพพายี พระอนาคามีผู้จะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียร;
       ดู อนาคามี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
สหชีวินี คำเรียกแทนคำว่า สัทธิวิหารินี ของภิกษุณี ทั้ง ๒ คำนี้ แปลว่า “ผู้อยู่ร่วม” ตรงกับสัทธิวิหาริกในฝ่ายภิกษุ;
       ศิษย์ของ ปวัตตินี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
สัทธัมมปกาสินี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในปฏิสัมภิทามรรค แห่งพระสุตตันตปิฎก
       พระมหานามะรจนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
สัทธิวิหารินี สัทธิวิหาริกผู้หญิง คือสัทธิวิหาริกในฝ่ายภิกษุณี แต่ตามปกติไม่เรียกอย่างนี้ เพราะมีคำเฉพาะเรียกว่า สหชีวินี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ทางที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ ทั้งสุคติ ทุคติ และทางแห่งนิพพาน
       (ข้อ ๓ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
สัมมุขาวินัย ระเบียบอันพึงทำในที่พร้อมหน้า, วิธีระงับต่อหน้า ได้แก่
       การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ (สังฆสัมมุขตา คือภิกษุเข้าประชุมครบองค์สงฆ์),
       ในที่พร้อมหน้าบุคคล (ปุคคลสัมมุขตา คือบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้ากัน),
       ในที่พร้อมหน้าวัตถุ (วัตถุสัมมุขตา คือยกเรื่องที่เกิดนั้นขึ้นวินิจฉัย),
       ในที่พร้อมหน้าธรรมวินัย (ธัมมสัมมุขตา และ วินยสัมมุขตา คือนำเอาหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามพระธรรมวินัยมาใช้ปฏิบัติ ได้แก่วินิจฉัยถูกธรรม ถูกวินัย);
       สัมมุขาวินัย ใช้เป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ได้ทุกอย่าง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
สารัตถปกาสินี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในสังยุตตนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก
       พระพุทธโฆษาจารย์รจนาในเกาะลังกา เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
สำรวมอินทรีย์ ดู อินทรียสังวร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
สินไถ่ เงินไถ่ค่าตัวทาส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
สินธพ ม้าพันธุ์ดีเกิดที่ลุ่มน้ำสินธุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
สุมังคลวิลาสินี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในทีฆนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก
       พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น โดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
หลักกำหนดธรรมวินัย หลักตัดสินธรรมวินัย หรือลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ อย่าง คือ
       ก. ธรรมเหล่าใด เป็นไป
           ๑. เพื่อความย้อมใจติด
           ๒. เพื่อความประกอบทุกข์
           ๓. เพื่อความพอกพูนกิเลส
           ๔. เพื่อความมักมากอยากใหญ่
           ๕. เพื่อความไม่สันโดษ
           ๖. เพื่อความคลุกคลีในหมู่
           ๗. เพื่อความเกียจคร้าน
           ๘. เพื่อความเลี้ยงยาก,
       ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่าไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุศาสน์,
       ข. ธรรมเหล่าใดเป็นไป
           ๑. เพื่อความคลายหายติด
           ๒. เพื่อความไม่ประกอบทุกข์
           ๓. เพื่อความไม่พอกพูนกิเลส
           ๔. เพื่อความมักน้อย
           ๕. เพื่อความสันโดษ
           ๖. เพื่อความสงัด
           ๗. เพื่อการประกอบความเพียร
           ๘. เพื่อความเลี้ยงง่าย,
       ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
อชินปเวณิ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะ มีขนอ่อนนุ่ม จัดเป็นอุจจาสยนะมหาสยนะอย่างหนึ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย, ขโมยสิ่งของ, ลักทรัพย์
       (ข้อ ๒ ในกรรมกิเลส ๔ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, เว้นการลักขโมย
       (ข้อ ๒ ในศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และกุศลกรรมบถ ๑๐)



แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
อธิกสุรทิน วันทางสุริยคติที่เพิ่มขึ้น (คือเพิ่มวันเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อีกวันหนึ่ง เป็น ๒๙ วัน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
อนาคาริยวินัย วินัยของอนาคาริก; ดู วินัย ๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ยึดครอง
       แปลกันง่ายๆ ว่า “สังขารที่ไม่มีใจครอง” เช่น ต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น
       (ข้อ ๒ ในสังขาร ๒)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ิน
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D4%B9


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]