ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ เสนา ”             ผลการค้นหาพบ  15  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 15
จตุรงคินีเสนา กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่าม้า เหล่ารถ เหล่าราบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 15
เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับเสนาสนะ แยกเป็น ๒ คือ
       ผู้แจกเสนาสนะให้ภิกษุถือ (เสนาสนคาหาปก) และ
       ผู้แต่งตั้งเสนาสนะ (เสนาสนปัญญาปก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 15
ธรรมเสนา กองทัพธรรม, กองทัพพระสงฆ์ผู้ประกาศพระศาสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 15
ธรรมเสนาบดี แม่ทัพธรรม, ผู้เป็นนายทัพธรรม
       เป็นคำเรียกยกย่องพระสารีบุตร ซึ่งเป็นกำลังใหญ่ของพระศาสนาในการประกาศพระศาสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 15
เสนา กองทัพ ในครั้งโบราณหมายถึงพลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า เรียกว่า จตุรงคินีเสนา
       (เสนามีองค์ ๔ หรือ เสนา ๔ เหล่า)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 15
เสนานิคม ชื่อหมู่บ้านในตำบลอุรุเวลา
       นางสุชาดาผู้ถวายข้าปายาสแด่พระมหาบุรุษ ในวันที่จะตรัสรู้ อยู่ที่หมู่บ้านนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 15
เสนามาตย์ ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 15
เสนามาร กองทัพมาร, ทหารของพระยามาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 15
เสนาสนะ เสนะ “ที่นอน” + อาสนะ “ที่นั่ง”
       หมายเอาที่อยู่อาศัย เช่น กุฏิ วิหาร และเครื่องใช้เกี่ยวกับสถานที่ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ แม้โคนไม้
       เมื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ก็เรียกเสนาสนะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 15
เสนาสนขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๖ แห่งจุลวรรค ในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องเสนาสนะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 15
เสนาสนคาหาปกะ ผู้ให้ถือเสนาสนะ
       หมายถึง ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ ให้เป็นผู้ทำหน้าที่จัดแจกเสนาสนะของสงฆ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 15
เสนาสนปัจจัย ปัจจัยคือเสนาสนะ, เครื่องอาศัยของชีวิต คือที่อยู่ เป็นอย่างหนึ่งในปัจจัยสี่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 15
เสนาสนปัญญาปกะ ผู้แต่งตั้งเสนาสนะ
       หมายถึง ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ ให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดแจงแต่งตั้งดูแลความเรียบร้อยแห่งเสนาสนะ สำหรับภิกษุทั้งหลายจะได้เข้าพักอาศัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 15
เสนาสนวัตร ธรรมเนียมหรือข้อที่ภิกษุควรปฏิบัติเกี่ยวกับเสนาสนะ เช่น ไม่ทำเปรอะเปื้อน รักษาความสะอาด จัดวางของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ใช้สอยระวัง ไม่ทำให้ชำรุด และเก็บของใช้ไม่ให้กระจัดกระจายสับสนกับที่อื่น เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 15
เสนาสนะป่า เสนาสนะอันอยู่ไกลจากบ้านคนอย่างน้อย ๒๕ เส้น


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เสนา
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%E0%CA%B9%D2


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]