ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ สน ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กายานุปัสสนา สติพิจารณากายเป็นอารมณ์ว่า กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เป็นสติปัฏฐานข้อหนึ่ง;
       ดู สติปัฏฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
โขมทุสสนิคม นิคมหนึ่งในแคว้นสักกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
จตุรงคินีเสนา กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่าม้า เหล่ารถ เหล่าราบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
จิตตานุปัสสนา สติพิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่า
       ใจนี้ก็สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
       กำหนดรู้จิตตามสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ เช่น
           จิตมีราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ โทสะ โมหะ
           จิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
       (ข้อ ๓ ในสติปัฏฐาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับเสนาสนะ แยกเป็น ๒ คือ
       ผู้แจกเสนาสนะให้ภิกษุถือ (เสนาสนคาหาปก) และ
       ผู้แต่งตั้งเสนาสนะ (เสนาสนปัญญาปก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
ชยเสนะ พระราชบิดาของพระเจ้าสีหหนุ ครองนครกบิลพัสดุ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
ญาณทัศนะ, ญาณทัสสนะ การเห็นกล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือเห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุดหมายถึง วิปัสสนาญาณ
       นอกนั้นในที่หลายแห่งหมายถึง ทิพพจักขุญาณบ้าง มรรคญาณบ้าง และในบางกรณีหมายถึง ผลญาณบ้าง ปัจจเวกขณญาณบ้าง สัพพัญญุตญาณบ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้นๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ ได้แก่ ญาณในอริยมรรค ๔;
       ดู วิสุทธิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
ทัณฑกรรมนาสนา ให้ฉิบหายด้วยการลงโทษ
       หมายถึง การไล่ออกจากสำนัก
       เช่น ที่ทำแก่กัณฑกสามเณร ผู้กล่าวตู่พระธรรมเทศนาว่า ธรรมที่ตรัสว่าเป็นอันตราย ไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
ทัสสนะ การเห็น, การเห็นด้วยปัญญา, ความเห็น, สิ่งที่เห็น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
ทัสสนานุตตริยะ การเห็นที่ยอดเยี่ยม
       (ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ ๓ หมายถึงปัญญาอันเห็นธรรม ตลอดถึงเห็นนิพพาน; ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ ๖ หมายถึง เห็นพระตถาคต ตถาคตสาวก และสิ่งอันบำรุงจิตใจให้เจริญ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
เทสนาคามินี อาบัติที่ภิกษุต้องเข้าแล้ว จะพ้นได้ด้วยวิธีแสดง, อาบัติที่แสดงแล้วก็พ้นได้,
       อาบัติที่ปลงตกด้วยการแสดงที่เรียกว่า แสดงอาบัติ หรือปลงอาบัติ ได้แก่
           อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาษิต;
       ตรงข้ามกับ อเทสนาคามินี ซึ่งเป็นอาบัติที่ไม่อาจพ้นได้ด้วยการแสดง ได้แก่ ปาราชิก และสังฆาทิเสส;
       เทียบ วุฏฐานคามินี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
เทสนาปริสุทธิ ความหมดจดแห่งการแสดงธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
ธรรมเสนา กองทัพธรรม, กองทัพพระสงฆ์ผู้ประกาศพระศาสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
ธรรมเสนาบดี แม่ทัพธรรม, ผู้เป็นนายทัพธรรม
       เป็นคำเรียกยกย่องพระสารีบุตร ซึ่งเป็นกำลังใหญ่ของพระศาสนาในการประกาศพระศาสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
ธรรมาสน์ ที่สำหรับนั่งแสดงธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
       (ข้อ ๙ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
ธัมมานุปัสสนา การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม,
       สติพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
       (ข้อ ๔ ในสติปัฏฐาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
นวังคสัตถุศาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง,
       ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ
           ๑. สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส)
           ๒. เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด)
           ๓. เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น)
           ๔. คาถา (ความร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา เป็นต้น)
           ๕. อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร)
           ๖. อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร)
           ๗. ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง)
           ๘. อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ)
           ๙. เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น);
       เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์;
       ดู ไตรปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
นาคเสน พระอรหันตเถระผู้โต้วาทะชนะพระยามิลินท์ กษัตริย์แห่งสาคลประเทศ ดังมีคำโต้ตอบปัญหามาในคัมภีร์มิลินทปัญหา ท่านเกิดหลังพุทธกาลประมาณ ๔๐๐ ปี ที่หมู่บ้านกชังคละในหิมวันตประเทศ เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อโสณุตตระ ท่านเป็นผู้ชำนาญในพระเวทและต่อมาได้อุปสมบท โดยมีพระโรหะเป็นพระอุปัชฌาย์;
       ดู มิลินท์, มิลินทปัญหา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
นาสนะ ดู นาสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
นาสนา ให้ฉิบหายเสีย คือ ลงโทษบุคคลผู้ไม่สมควรถือเพศ
       มี ๓ อย่าง คือ
           ๑. ลิงคนาสนา ให้ฉิบหายจากเพศ คือให้สึกเสีย
           ๒. ทัณฑกรรมนาสนา ให้ฉิบหายด้วยการลงโทษ
           ๓. สังวาสนาสนา ให้ฉิบหายจากสังวาส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
นิทัศนะ, นิทัสน์ ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็น, อุทาหรณ์
       (พจนานุกรมเขียน นิทัศน์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
นิพพิทาญาณ ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์, ปรีชาหยั่งเห็นสังขาร ด้วยความหน่าย;
       ดู วิปัสสนาญาณ

นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงถึงสังขารด้วยความหน่าย เพราะมีแต่โทษมากมาย แต่ไม่ใช่ทำลายตนเองเพราะเบื่อสังขาร
       เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ แท่นหินมีสีดุจผ้ากัมพลเหลือง เป็นที่ประทับของพระอินทร์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
       (อรรถกถาว่า สีแดง)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
ปฏิกโกสนา การกล่าวคัดค้านจังๆ
       (ต่างจากทิฏฐาวิกัมม์ ซึ่งเป็นการแสดงความเห็นแย้ง ชี้แจงความเห็นที่ไม่ร่วมด้วยเป็นส่วนตัว แต่ไม่ได้คัดค้าน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
ปฏิกัสสนา กิริยาชักเข้าหาอาบัติเดิม,
       เป็นชื่อวุฏฐานวิธีสำหรับอันตราบัติ คือระเบียบปฏิบัติในการออกจากอาบัติสังฆาทิเสสสำหรับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสขึ้นใหม่อีก ในเวลาใดเวลาหนึ่งตั้งแต่เริ่มอยู่ปริวาสไปจนถึงก่อนอัพภาน ทำให้เธอต้องกลับอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตตั้งแต่เริ่มต้นไปใหม่;
       สงฆ์จตุวรรคให้ปฏิกัสสนาได้;
       ดู อันตราบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ
       ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙
       (ข้อ ๖ ในวิสุทธิ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
ปฏิสนธิ เกิด, เกิดใหม่, แรกเกิดขึ้นในครรภ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
ปฏิสนธิจิต, ปฏิสนธิจิตต์ จิตที่สืบต่อภพใหม่, จิตที่เกิดทีแรกในภพใหม่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง,
       ปรีชาคำนึงพิจารณาสังขาร เพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย;
       ดู วิปัสสนาญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
ประศาสนวิธี วิธีการปกครอง, ระเบียบแห่งการปกครองหมู่คณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
ปริเยสนา การแสวงหา มี ๒ คือ
       ๑. อนริยปริเยสนา แสวงหาอย่างไม่ประเสริฐ ตนยังมีทุกข์ ก็ยังแสวงหาสภาพที่ไม่มีทุกข์
       ๒. อริยปริเยสนา แสวงหาอย่างประเสริฐ ตนมีทุกข์แต่แสวงสภาพที่ไม่มีทุกข์ ได้แก่ นิพพาน;
       สำหรับคนทั่วไป ท่านอธิบายว่า
           มิจฉาอาชีวะ เป็น อนริยปริเยสนา
           สัมมาอาชีวะ เป็น อริยปริเยสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
ปเสนทิ [ปะ-เส-นะ-ทิ] พระเจ้าแผ่นดินแคว้นโกศล ครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครสาวัตถี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
ปัจฉิมทัสสนะ ดูครั้งสุดท้าย, เห็นครั้งสุดท้าย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
ปาฏิเทสนียะ “จะพึงแสดงคืน”,
       อาบัติที่จะพึงแสดงคืน เป็นชื่อลหุกาบัติ คือ อาบัติเบาอย่างหนึ่งถัดรองมาจากปาจิตตีย์ และ
       เป็นชื่อสิกขาบท ๔ ข้อ ซึ่งแปลได้ว่า พึงปรับด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ
       เช่น ภิกษุรับของเคี้ยวของฉัน จากมือของภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ด้วยมือของตน มาบริโภค ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ;
       ดู อาบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
ปาสราสิสูตร ชื่อสูตรที่ ๒๖ ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก;
       เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อริยปริเยสนสูตร เพราะว่าด้วย อริยปริเยสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
ผลเหตุสนธิ ต่อผลเข้ากับเหตุ หมายถึง เงื่อนต่อระหว่างผลในปัจจุบัน กับเหตุในปัจจุบัน ในวงจรปฏิจจสมุปบาท คือ
       ระหว่างวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ข้างหนึ่ง (ฝ่ายผล)
       กับ ตัณหา อุปาทาน ภพ อีกข้างหนึ่ง (ฝ่ายเหตุ);
       เทียบ เหตุผลสนธิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
พยุหแสนยากร กองทัพ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
พุทธศาสนา คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า,
       อย่างกว้างในบัดนี้ หมายถึง ความเชื่อถือ การประพฤติปฏิบัติ และกิจการทั้งหมดของหมู่ชนผู้กล่าวว่า ตนนับถือพระพุทธศาสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
พุทธศาสนิก ผู้นับถือพระพุทธศาสนา, ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
พุทธศาสนิกมณฑล วงการของผู้นับถือพระพุทธศาสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
พุทธอาสน์ ที่ประทับนั่งของพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความสลาย, ปรีชาหยั่งเห็นเฉพาะความดับของสังขารเด่นชัดขึ้นมาว่า สังขารทั้งปวงล้วนจะต้องแตกสลายไปทั้งหมด
       (ข้อ ๒ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
       (ข้อ ๕ ในวิสุทธิ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
มูลายปฏิกัสสนา การชักเข้าหาอาบัติเดิม เป็นชื่อวุฏฐานวิธีอย่างหนึ่ง;
       ดู ปฏิกัสสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
มูลายปฏิกัสสนารหภิกษุ ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม หมายถึง ภิกษุผู้กำลังอยู่ปริวาส หรือประพฤติมานัตอยู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อเดียวกันหรืออาบัติสังฆาทิเสสข้ออื่นเข้าอีกก่อนที่สงฆ์จะอัพภาน ต้องตั้งต้นอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตใหม่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
ยถาภูตญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
ราชสาสน์ หนังสือทางราชการของพระราชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
ราชอาสน์ ที่นั่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
วาสนา อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น
       ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี
       ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ
       แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบายกับส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้
       จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา;
       ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
       ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้,
       การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น
       (ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)
       ดู ภาวนา, ไตรลักษณ์

วิปัสสนากัมมัฏฐาน กรรมฐานคือวิปัสสนา; ดู วิปัสสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง คือ
       ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป
       ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
       ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
       ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ
       ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย
       ๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
       ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
       ๘. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
       ๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
วิปัสสนาธุระ ธุระฝ่ายวิปัสสนา, ธุระด้านการเจริญวิปัสสนา, กิจพระศาสนาในด้านการบำเพ็ญกรรมฐาน;
       เทียบ คันถธุระ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่ถึงขั้นเป็นวิปัสสนา, ปัญญาที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเข้าใจสังขารตามความเป็นจริง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
วิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนา;
       ดู ภาวนา, วิปัสสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
วิปัสสนายานิก ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน คือผู้เจริญวิปัสสนาโดยยังไม่ได้ฌานสมาบัติมาก่อน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา,
       สภาพน่าชื่นชม แต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ คือ
       ๑. โอภาส แสงสว่าง
       ๒. ปีติ ความอิ่มใจ
       ๓. ญาณ ความรู้
       ๔. ปัสสัทธิ ความสงบกายและจิต
       ๕. สุข ความสบายกาย สบายจิต
       ๖. อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ
       ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี
       ๘. อุปัฏฐาน สติชัด
       ๙. อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง
       ๑๐. นิกันติ ความพอใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
วิมุตติญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นในวิมุตติ, ความรู้เห็นว่าจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส
       (ข้อ ๑๐ ในกถาวัตถุ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ กองวิมุตติญาณทัสสนะ,
       หมวดธรรมว่าด้วย ความรู้ความเห็นว่า จิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ
       เช่น ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ
       (ข้อ ๕ ในธรรมขันธ์ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
เวทนานุปัสสนา สติตามดูเวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นอารมณ์โดยรู้เท่าทันว่า เวทนานี้ ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
       (ข้อ ๒ ในสติปัฏฐาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
ศาสนา คำสอน, คำสั่งสอน;
       ปัจจุบันใช้หมายถึงลัทธิความเชื่อถืออย่างหนึ่งๆ พร้อมด้วยหลักคำสอน ลัทธิ พิธี องค์การ และกิจการทั่วไปของหมู่ชนผู้นับถือลัทธิความเชื่อถืออย่างนั้นๆ ทั้งหมด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
ศาสนูปถัมภก ผู้ทะนุบำรุงศาสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
สนตพาย ร้อยเชือกสำหรับร้อยจมูกควาย ที่จมูกควาย
       (สน = ร้อย, ตพาย = เชือกที่ร้อยจมูกควาย)
       (พจนานุกรมเขียน สนตะพาย)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
สนาน อาบน้ำ, การอาบน้ำ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
สมถวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
สมนุภาสนา การสวดสมนุภาสน์, สวดประกาศห้ามไม่ให้ถือรั้นการอันมิชอบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
สมานาสนิกะ ผู้ร่วมอาสนะกัน
       หมายถึง ภิกษุผู้มีพรรษารุ่นราวคราวเดียวกัน แก่หรืออ่อนกว่ากันไม่ถึง ๓ พรรษา นั่งร่วมอาสนะเสมอกันได้;
       เทียบ อสมานาสนิกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ,
       ดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ คือ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่,
       นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ;
       เทียบ อนุปาทิเสสนิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
สังวาสนาสนา ให้ฉิบหายจากสังวาส
       หมายถึง การทำอุกเขปนียกรรมยกเสียจากสังวาส คือทำให้หมดสิทธิที่จะอยู่ร่วมกับสงฆ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
สัตถุศาสน์, สัตถุสาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา หมายถึงพระพุทธพจน์;
       ดู นวังคสัตถุศาสน์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
สันทัสสนา การให้เห็นชัดแจ้ง หรือชี้ให้ชัด
       คือ ชี้แจงให้เข้าใจชัดเจน มองเห็นเรื่องราวและเหตุผลต่างๆ แจ่มแจ้ง เหมือนจูงมือไปดูเห็นประจักษ์กับตา;
       เป็นลักษณะอย่างแรกของการสอนที่ดี ตามแนวพุทธจริยา
       (ข้อต่อไป คือ สมาทปนา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
สนฺทิฏฺฐิโก พระธรรมอันผู้ได้บรรลุย่อมเห็นเองรู้เอง ประจักษ์แจ้งกับตน ไม่ต้องขึ้นต่อผู้อื่น ไม่ต้องเชื่อต่อถ้อยคำของใคร
       (ข้อ ๒ ในธรรมคุณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
สนฺนิปาติกา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดจากสันนิบาต (คือประชุมกันแห่งสมุฏฐานทั้งสาม),
       ไข้สันนิบาต คือความเจ็บไข้ที่เกิดขึ้นแต่ดี เสมหะ และลม ทั้งสามเจือกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
สัมปหังสนา การทำให้ร่าเริง หรือปลุกให้ร่าเริง คือ ทำบรรยากาศให้สนุก สดชื่นแจ่มใส เบิกบานใจ ให้ผู้ฟังแช่มชื่นมีความหวัง มองเห็นผลดีและทางสำเร็จ;
       เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการสอนที่ดีตามแนวพุทธจริยา
       (ข้อก่อนคือ สมุตเตชนา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
สัมโภคนาสนา ให้ฉิบหายเสียจากการกินร่วม,
       เป็นศัพท์ผูกใหม่ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ว่าน่าจะใช้แทนคำว่า ทัณฑกรรมนาสนา (การให้ฉิบหายด้วยทัณฑกรรม คือ ลงโทษสามเณร ผู้กล่าวตู่พระธรรมเทศนาโดยไล่จากสำนัก และไม่ให้ภิกษุทั้งหลายคบด้วย ตามสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งสัปปาณกวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
สัมมสนญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์,
       ญาณที่พิจารณาหรือตรวจตรานามรูปหรือสังขาร มองเห็นตามแนวไตรลักษณ์
       คือ รู้ว่า ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน
       (ข้อ ๓ ในญาณ ๑๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
สุรเสนะ ชื่อแคว้นหนึ่งในมัชฌิมชนบทในชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางใต้ของแคว้นกุรุในระหว่างแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนา ตอนล่าง นครหลวงชื่อมถุรา


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สน
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%B9


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]