ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ยค ”             ผลการค้นหาพบ  22  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 22
กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให้พัวพันหมกมุ่นอยู่ในกามสุข เป็นที่สุดอย่างหนึ่ง ในบรรดาที่สุด ๒ คือ
       กามสุขัลลิกานุโยค ๑
       อัตตกิลมถานุโยค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 22
กายคตาสติ, กายคติ สติที่เป็นไปในกาย, สติอันพิจารณากายให้เห็นตามสภาพที่มีส่วนประกอบ ซึ่งล้วนเป็นของไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ ทำให้เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงใหลมัวเมา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 22
กายประโยค การประกอบทางกาย, การกระทำทางกาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 22
เกษมจากโยคธรรม ปลอดภัยจากธรรมเครื่องผูกมัด, ปลอดโปร่งจากเรื่องที่จะต้องถูกเทียมแอก, พ้นจากภัยคือกิเลสที่เป็นตัวการสวมแอก;
       ดู โยคเกษมธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 22
ชาคริยานุโยค การประกอบความเพียร เครื่องตื่นอยู่ คือ เพียรพยายามปฏิบัติธรรม ไม่เห็นแก่นอน ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตไม่ให้มีนิวรณ์
       (ข้อ ๓ ในอปัณณกปฏิปทา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 22
บุพประโยค อาการหรือการทำความพยายามเบื้องต้น, การกระทำทีแรก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 22
บุรพประโยค ดู บุพประโยค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 22
ประโยค การประกอบ, การกระทำ, การพยายาม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 22
เมถุนสังโยค อาการพัวพันเมถุน, ความประพฤติที่ยังเกี่ยวเนื่องกับเมถุน มี ๗ ข้อ
       โดยใจความคือ สมณะบางเหล่าไม่เสพเมถุน แต่ยังยินดีในเมถุนสังโยค คือ
           ชอบการลูบไล้และการนวดของหญิง,
           ชอบซิกซี้ เล่นหัวสัพยอกกับหญิง,
           ชอบจ้องดูตากับหญิง,
           ชอบฟังเสียงหัวเราะขับร้องของหญิง,
           ชอบนึกถึงการเก่าที่เคยหัวเราะพูดเล่นกับหญิง,
           เห็นชาวบ้านเขาบำรุงบำเรอกันด้วยกามคุณแล้วปลื้มใจ,
           หรือแม้แต่ประพฤติพรหมจรรย์ โดยตั้งความปรารถนาที่จะเป็นเทพเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 22
โยคะ
       1. กิเลสเครื่องประกอบ คือประกอบสัตว์ไว้ในภพ หรือผูกสัตว์ดุจเทียมไว้กับแอก
           มี ๔ คือ ๑. กาม ๒. ภพ ๓. ทิฏฐิ ๔. อวิชชา
       2. ความเพียร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 22
โยคเกษม, โยคเกษมธรรม “ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ”
       ความหมายสามัญว่า ความปลอดโปร่งโล่งใจหรือสุขกายสบายใจ เพราะปราศจากภัยอันตรายหรือล่วงพ้นสิ่งที่น่าพรั่นกลัว มาถึงสถานที่ปลอดภัย;
       ในความหมายขั้นสูงสุด มุ่งเอาพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่เกษมคือโปร่งโล่งปลอดภัยจากโยคกิเลสทั้ง ๔ จำพวก;
       ดู โยคะ, เกษมจากโยคธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 22
โยคธรรม ธรรมคือกิเลสเครื่องประกอบในข้อความว่า “เกษมจากโยคธรรม” คือความพ้นภัยจากกิเลส;
       ดู โยคะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 22
โยคักเขมะ ดู โยคเกษม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 22
โยคาวจร ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้ประกอบความเพียร,
       ผู้เจริญภาวนา คือ กำลังปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
       เขียน โยคาพจร ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 22
โยคี ฤษี, ผู้ปฏิบัติตามลัทธิโยคะ, ผู้ประกอบความเพียร;
       ดู โยคาวจร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 22
ร้อยคุม คือเอาดอกไม้ร้อยเป็นสายแล้วควบหรือคุมเข้าเป็นพวง เช่น พวงอุบะ สำหรับห้อยปลายภู่ หรือสำหรับห้อยตามลำพังเช่น พวก “ภู่สาย” เป็นตัวอย่าง;
       ร้อยควบ ก็เรียก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 22
สัมปโยค การประกอบกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 22
สายโยค สายโยก, สายรัด ใช้แก่ถุงต่างๆ เช่น ที่ประกอบกับถุงบาตร แปลกันว่า สายโยคบาตร (บาลีว่า อํสวทฺธก);
       บางแห่งแปล อาโยค คือผ้ารัดเข่า หรือ สายรัดเข่า ว่าสายโยค ก็มี แต่ในพระวินัยปิฎก ไม่แปลเช่นนั้น
       (พจนานุกรมเขียน สายโยก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 22
สุริยคติ การนับวันโดยถือเอาการเดินของพระอาทิตย์เป็นหลัก เช่นวันที่ ๑, ๒, ๓ เดือนเมษายน เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 22
อนุโยค ความพยายาม, ความเพียร, ความประกอบเนืองๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 22
อภยคิริวิหาร ชื่อวัดที่พระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย ได้สร้างถวายพระติสสเถระในเกาะลังกา ซึ่งได้กลายเป็นเหตุให้สงฆ์ลังกาแตกแยกกัน แบ่งเป็นคณะมหาวิหารเดิมฝ่ายหนึ่ง คณะอภยคิริวิหารฝ่ายหนึ่ง;
       มักเรียกว่า อภัยคีรี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 22
อัตตกิลมถานุโยค การประกอบตนให้ลำบากเปล่า
       คือ ความพยายามเพื่อบรรลุผลที่หมายด้วยวิธีทรมานตนเอง
       เช่น การบำเพ็ญตบะต่างๆ ที่นิยมกันในหมู่นักบวชอินเดียจำนวนมาก
       (ข้อ ๒ ในที่สุด ๒ อย่าง)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ยค
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C2%A4


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]