ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ รพ ”             ผลการค้นหาพบ  32  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 32
เคารพ ความนับถือ, ความมีคารวะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 32
ฆฏิการพรหม พระพรหมผู้นำสมณบริขารมีบาตรและจีวร เป็นต้น มาถวายแด่พระโพธิสัตว์เมื่อคราวเสด็จออกบรรพชา (มติของพระอรรถกถาจารย์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 32
จตุรพิธพร พร ๔ ประการ คือ
       อายุ (ความมีอายุยืน)
       วรรณะ (ความมีผิวพรรณผ่องใส)
       สุขะ (ความสุขกายสุขใจ)
       พละ (ความมีกำลังแข็งแรง มีสุขภาพดี)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 32
จักรพรรดิ พระราชาธิราช หมายถึงพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ มีราชอาณาเขตปกครองกว้างขวางมาก บ้านเมืองในปกครองมีความร่มเย็นเป็นสุข ปราบข้าศึกศัตรูด้วยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญาและศัสตรา มีรัตนะ ๗ ประการประจำพระองค์ คือ ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว จักรแก้ว แก้วมณี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 32
จักรพรรดิราชสมบัติ สมบัติ คือความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 32
ดึกดำบรรพ์ ครั้งเก่าก่อน, ครั้งโบราณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 32
ทิศบูร ทิศตะวันออก, ทิศเบื้องหน้า

ทิศบูรพา ทิศตะวันออก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 32
ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐ ดู อภิณหปัจจเวกขณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 32
บรรพ ข้อ, เล่ม, หมวด, ตอน, กัณฑ์
       ดังคำว่า กายานุปัสสนา พิจารณาเห็นซึ่งกาย โดยบรรพ ๑๔ ข้อ
       มี อานาปานบรรพ ข้อที่ว่าด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 32
บรรพชา การบวช (แปลว่า “เว้นความชั่วทุกอย่าง”) หมายถึง การบวชทั่วไป,
       การบวชอันเป็นบุรพประโยคแห่งอุปสมบท, การบวชเป็นสามเณร
       (เดิมทีเดียว คำว่า บรรพชา หมายความว่า บวชเป็นภิกษุ เช่น เสด็จออกบรรพชา อัครสาวกบรรพชา เป็นต้น ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ คำว่า บรรพชา หมายถึง บวชเป็นสามเณร ถ้าบวชเป็นภิกษุ ใช้คำว่า อุปสมบท โดยเฉพาะเมื่อใช้ควบกันว่า บรรพชาอุปสมบท)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 32
บรรพชิต ผู้บวช, นักบวช เช่น ภิกษุ สมณะ ดาบส ฤษี เป็นต้น
       แต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ภิกษุและสามเณร (และภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี)
       มักใช้คู่กับ คฤหัสถ์
       (ในภาษาไทยปัจจุบัน ให้ใช้หมายเฉพาะนักบวชในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าในฝ่ายเถรวาท หรือฝ่ายมหายาน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 32
บรรพต ภูเขา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 32
บุรพทิศ ทิศตะวันออก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 32
บุรพนิมิตต์ เครื่องหมายให้รู้ล่วงหน้า, ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน
       บัดนี้เขียน บุพนิมิต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 32
บุรพบุรุษ คนก่อนๆ, คนรุ่นก่อน, คนเก่าก่อน, คนผู้เป็นต้นวงศ์ตระกูล, บรรพบุรุษ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 32
บุรพประโยค ดู บุพประโยค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 32
บุรพาจารย์ ดู บุพพาจารย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 32
บุรพาราม ดู บุพพาราม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 32
ประชวรพระครรภ์ ปวดท้องคลอดลูก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 32
ปัพพชาจารย์ อาจารย์ผู้ให้บรรพชา;
       เขียนเต็มรูปเป็น ปัพพัชชาจารย์ จะเขียน บรรพชาจารย์ ก็ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 32
มณฑารพ ดอกไม้ทิพย์ คือ ดอกไม้ในเมืองสวรรค์ที่ตกลงมาบูชาพระพุทธเจ้า ในวันปรินิพพาน ดาดาษทั่วเมืองกุสินารา และพระมหากัสสปได้เห็นอาชีวกคนหนึ่ง ถืออยู่ขณะเดินทางระหว่างเมืองกุสินารา กับ เมืองปาวา จึงได้ถามข่าวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า และทราบการปรินิพพานจากอาชีวกนั้น เมื่อ ๗ วันหลังพุทธปรินิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 32
วุฒบรรพชิต ผู้บวชเมื่อแก่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 32
เวภารบรรพต ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในภูเขาห้าลูก ที่เรียก เบญจคีรี อยู่ที่กรุงราชคฤห์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 32
สรรพ ทั้งปวง, ทั้งหมด, ทุกสิ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 32
สรรพางค์ ทุกๆ ส่วนแห่งร่างกาย, ร่างกายทุกๆ ส่วน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 32
สุนทรพจน์ คำพูดที่ไพเราะ, คำพูดที่ดี;
       คำพูดอันเป็นพิธีการ, คำกล่าวแสดงความรู้สึกที่ดีอย่างเป็นพิธีการในที่ประชุม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 32
สุภัททะ วุฒบรรพชิต “พระสุภัททะผู้บวชเมื่อแก่” ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการปรารภที่จะทำสังคายนาครั้งที่ ๑
       ก่อนบวช เป็นช่างตัดผมในเมืองอาตุมา มีบุตรชาย ๒ คน เมื่อบวชแล้ว คราวหนึ่งได้ข่าวว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์หมู่ใหญ่จะเสด็จมายังเมืองอาตุมา จึงให้บุตรทั้ง ๒ เอาเครื่องมือตัดผมออกไปเที่ยวขอตัดผมตามบ้านเรือนทุกแห่ง แลกเอาเครื่องปรุงยาคูมาได้มากมาย แล้วบัญชาการให้ผู้คนจัดเตรียมข้าวยาคูไว้เป็นอันมาก
       เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง ก็นำเอาข้าวยาคูนั้นเข้าไปถวาย
       พระพุทธเจ้าตรัสถาม ทรงทราบความว่า พระสุภัททะได้ข้าวนั้นมาอย่างไรแล้ว ไม่ทรงรับและทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ๒ ข้อ คือ
           บรรพชิตไม่พึงชักชวนคนทำในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ และ
           ภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบกไม่พึงเก็บรักษาเครื่องตัดโกนผมไว้ประจำตัว
       จากการที่ได้ถูกติเตียนและเสียของเสียหน้าเสียใจ ในเหตุการณ์ครั้งนั้น พระสุภัททะก็ได้ผูกอาฆาตไว้
       ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้ ๗ วัน พระสุภัททะร่วมอยู่ในคณะของพระมหากัสสปเถระ ซึ่งกำลังเดินทางจากเมืองปาวาสู่เมืองกุสินารา ระหว่างทางนั้น คณะได้ทราบข่าวพุทธปรินิพพานจากอาชีวกผู้หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นราคะ (คือพระปุถชน โสดาบัน และสกทาคามี) พากันร้องไห้คร่ำครวญเป็นอันมาก
       ในขณะนั้นเอง พระสุภัททะวุฒบรรพชิต ก็ร้องห้ามขึ้นว่า “อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไห้ไปเลย พวกเราพ้นดีแล้ว พระมหาสมณะนั้นคอยเบียดเบียนพวกเราว่า สิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักกระทำสิ่งนั้น”
       พระมหากัสสปเถระได้ฟังแล้วเกิดธรรมสังเวช ดำริว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ๗ วัน ก็ยังเกิดเสี้ยนหนามขึ้นแล้วในพระศาสนา หากต่อไปคนชั่วได้พวกพ้องมีกำลังเติบกล้าขึ้น ก็จะทำพระศาสนาให้เสื่อมถอย ดังนั้น หลังจากเสร็จงานถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ท่านจึงได้ยกถ้อยคำของสุภัททะวุฒบรรพชิต
       นี้ขึ้นเป็นข้อปรารภ ชักชวนพระเถระทั้งหลายร่วมกันทำสังคายนาครั้งแรก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 32
ให้ทานโดยเคารพ ตั้งใจให้อย่างดี เอื้อเฟื้อแก่ของที่ตัวให้และผู้รับทาน ไม่ทำอาการดุจทิ้งเสีย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 32
อถัพพนเพท ชื่อคัมภีร์พระเวทลำดับที่ ๔ ว่าด้วยคาถาอาคมทางไสยศาสตร์ การปลุกเสกต่างๆ เป็นส่วนเพิ่มเข้ามาต่อจาก ไตรเพท;
       อาถัพพนเวท, อถรรพเวท, อาถรรพณเวท ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 32
อัครพหูสูต พหูสูตผู้เลิศ, ยอดพหูสูต, ผู้คงแก่เรียนอย่างยอดเยี่ยม หมายถึง พระอานนท์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 32
อาถรรพณ์ เวทมนตร์ที่ใช้เพื่อให้ดีหรือร้าย, วิชาเสกเป่าป้องกัน, การทำพิธีป้องกันอันตรายต่างๆ ตามพิธีพราหมณ์ เช่น พิธีฝังเสาหิน หรือ ฝังบัตรพลี เรียกว่า ฝังอาถรรพณ์
       (สืบเนื่องมาจากพระเวทคัมภีร์ที่ ๔ คือ อถรรพเวท หรือ อาถรรพณเวท)
       อาถรรพ์ ก็ใช้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 32
อิสิคิลิบรรพต ภูเขาชื่ออิสิคิลิ เป็นภูเขาลูกหนึ่งในห้าลูก ที่เรียกเบญจคีรี ล้อมรอบพระนครราชคฤห์


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=รพ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C3%BE


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]