ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ สถ ”             ผลการค้นหาพบ  31  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 31
คฤหัสถ์ ผู้ครองเรือน, ชาวบ้าน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 31
ควรทำความไม่ประมาท ในที่ ๔ สถาน ดู อัปปมาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 31
เคหสถาน ที่ตั้งเหย้าเรือน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 31
เทวสถาน ที่ประดิษฐานเทวรูป, โบสถ์พราหมณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 31
ธงแห่งคฤหัสถ์ เครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์, การนุ่งห่มอย่างนิยมกันของชาวบ้าน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 31
บูชนียสถาน สถานที่ควรบูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 31
ปาริสุทธิอุโบสถ อุโบสถที่ภิกษุทำปาริสุทธิ
       คือแจ้งแต่ความบริสุทธิ์ของกันและกัน ไม่ต้องสวดปาฏิโมกข์
       ปาริสุทธิอุโบสถนี้ กระทำเมื่อมีภิกษุอยู่ในวัดเพียงเป็นคณะ คือ ๒-๓ รูป ไม่ครบองค์สงฆ์ ๔ รูป
       ถ้ามีภิกษุ ๓ รูปพึงประชุมกันในโรงอุโบสถแล้ว รูปหนึ่งตั้งญัตติดังนี้ :
           “สุณนฺตุ เม ภนฺเต อายสฺมนฺตา, อชฺชุโปสโถ ปณฺณรโส ยทายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ, มยํ อญฺญมญฺญํ ปาริสุทฺธิอุโปสถํ กเรยฺยาม”
       แปลว่า:
           “ท่านทั้งหลาย อุโบสถวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงทำปาริสุทธิอุโบสถด้วยกัน”
       (ถ้ารูปที่ตั้งญัตติแก่กว่าเพื่อนว่า อาวุโส แทน ภนฺเต, ถ้าเป็นวัน ๑๔ ค่ำ ว่า จาตุทฺทโส แทน ปณฺณรโส)
       ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าเฉวียงบ่านั่งกระหย่งประนมมือ บอกปาริสุทธิว่า :
           “ปริสุทฺโธ อหํ อาวุโส, ปริสุทฺโธ มํ ธาเรถ” (๓ หน)
       แปลว่า:
           “ฉันบริสุทธิ์แล้วเธอ ขอเธอทั้งหลายจงจำฉันว่าผู้บริสุทธิ์แล้ว”
       อีก ๒ รูปพึงทำอย่างเดียวกันนั้น ตามลำดับพรรษา
           คำบอกเปลี่ยนเฉพาะ อาวุโส เป็น ภนฺเต
           แปลว่า “ผมบริสุทธิ์แล้วขอรับ ขอท่านทั้งหลายจงจำผมว่าผู้บริสุทธิ์แล้ว”
       ถ้ามี ๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ พึงบอกปาริสุทธิแก่กัน
           ผู้แก่กว่า: “ปริสุทโธ อหํ อาวุโส, ปริสุทฺโธติ มํ ธาเรหิ” (๓ หน)
           ผู้อ่อนว่า: “ปริสุทฺโธ อหํ ภนฺเต, ปริสุทฺโธติ มํ ธาเรถ” (๓ หน)
       ดู อุโบสถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 31
ปูชนียสถาน สถานที่ควรบูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 31
วนปรัสถะ คำเพี้ยน; ดู วานปรัสถ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 31
วันอุโบสถ ดู อุโบสถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 31
วานปรัสถ์ ผู้อยู่ป่า,
       เป็นธรรมเนียมของพราหมณ์ว่า ผู้ที่ครองเรือน มีครอบครัวเป็นหลักฐาน ครั้นลูกหลานเติบโตก็จัดแจงให้มีครอบครัว ตนเองชราลงก็มุ่งแสวงบุญกุศล เข้าป่าจำศีลถือพรตบำเพ็ญตบะต่อไป;
       ดู อาศรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 31
วิสุทธิอุโบสถ อุโบสถที่ประกอบด้วยความบริสุทธิ์ หรืออุโบสถที่ทำโดยที่ประชุมสงฆ์ซึ่งมีความบริสุทธิ์
       หมายถึง การทำอุโบสถซึ่งที่ประชุมมีแต่พระอรหันต์ล้วนๆ เช่น กล่าวถึงการประชุมพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป คราวจาตุรงคสันนิบาต ว่าทำวิสุทธิอุโบสถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 31
ศีลอุโบสถ คือ ศีล ๘ ที่สมาทานรักษาพิเศษในวันอุโบสถ;
       ดู อุโบสถศีล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 31
สถลมารค ทางบก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 31
สถาปนา ก่อสร้าง, ยกย่องโดยแต่งตั้งให้สูงขึ้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 31
สถาพร มั่นคง, ยั่งยืน, ยืนยง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 31
สถิต อยู่, ยืนอยู่, ตั้งอยู่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 31
สถูป สิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา เป็นอนุสรณ์ที่เตือนใจให้เกิดปสาทะและกุศลธรรมอื่นๆ
       เช่น พระบรมสารีริกธาตุ อัฐิแห่งพระสาวก หรือกระดูกแห่งบุคคลที่นับถือ
       (บาลี: ถูป, สันสกฤต: สฺตูป);
       ดู ถูปารหบุคคล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 31
สังฆอุโบสถ อุโบสถของสงฆ์
       คือ การทำอุโบสถของสงฆ์ที่ครบองค์กำหนด คือ มีภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป สวดปาฏิโมกข์ได้ตามปกติ (ถ้ามีภิกษุอยู่ ๒-๓ รูป ต้องทำ คณอุโบสถ คือ อุโบสถของคณะ ซึ่งเป็น ปาริสุทธิอุโบสถ คือ อุโบสถที่ทำโดยบอกความบริสุทธิ์ของกันและกัน ถ้ามีภิกษุรูปเดียว ต้องทำ บุคคลอุโบสถ คือ อุโบสถของบุคคลซึ่งเป็น อธิษฐานอุโบสถ คือ อุโบสถที่ทำโดยการอธิษฐานกำหนดใจว่าวันนั้นเป็นวันอุโบสถ);
       ดู อุโบสถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 31
สังเวชนียสถาน สถานเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช, ที่ที่ให้เกิดความสังเวช มี ๔ คือ
       ๑. ที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือ อุทยานลุมพินี ปัจจุบันเรียก ลุมพินี (Lumbini) หรือ รุมมินเด (Rummindei)
       ๒. ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ควงโพธิ์ ที่ตำบล พุทธคยา (Buddha Gaya หรือ Bodh-Gaya)
       ๓. ที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันเรียก สารนาถ
       ๔. ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน คือ ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา หรือ กุสินคร (Kusinagara) บัดนี้เรียก Kasia;
       ดู สังเวช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 31
สาธารณสถาน สถานที่สำหรับคนทั่วไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 31
สามัคคีอุโบสถ อุโบสถที่ทำขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เมื่อสงฆ์ ๒ ฝ่ายซึ่งแตกกันกลับมาปรองดองสมานกันเข้าได้
       สามัคคีอุโบสถไม่กำหนดด้วยวันที่ตายตัว สงฆ์พร้อมเพรียงกันเมื่อใด ก็ทำเมื่อนั้น เรียกวันนั้นว่า วันสามัคคี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 31
สุขของคฤหัสถ์ สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี และควรขวนขวายให้มีอยู่เสมอ มี ๔ อย่างคือ
       ๑. สุขเกิดจากความมีทรัพย์ (ที่ได้มาด้วยเรี่ยวแรงของตน โดยทางชอบธรรม)
       ๒. สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ (เลี้ยงตน เลี้ยงคนควรเลี้ยง และทำประโยชน์)
       ๓. สุขเกิดจากความไม่มีหนี้
       ๔. สุขเกิดความประพฤติไม่มีโทษ (มีสุจริตทั้ง กาย วาจา และใจ),
       เฉพาะข้อ ๔ ตามแบบเรียนว่า สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 31
อธิษฐานอุโบสถ อุโบสถที่ทำด้วยการอธิษฐาน ได้แก่ อุโบสถที่ภิกษุรูปเดียวทำ
       กล่าวคือ เมื่อในวัดมีภิกษุรูปเดียวถึงวันอุโบสถ เธอพึงอธิษฐานคือตั้งใจหรือกำหนดใจว่า
           “อชฺช เม อุโปสโถ” แปลว่า “วันนี้อุโบสถของเรา”
       เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปุคคลอุโบสถ (อุโบสถของบุคคล หรือทำโดยบุคคล);
       ดู อุโบสถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 31
อาราธนาศีลอุโบสถ กล่าวคำเชิญพระให้ให้อุโบสถศีล ว่าพร้อมกันทุกคน ดังนี้;
       “มยํ ภนฺเต, ติสรเณน สห, อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ, อุโปสถํ ยาจาม” (ว่า ๓ จบ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 31
อาโลกเลณสถาน ชื่อถ้ำแห่งหนึ่งในมลยชนบท เกาะลังกา
       เป็นที่ทำสังคายนาครั้งที่ ๕ จารึกพระไตรปิฎกลงในใบลาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 31
อุโบสถ
       1. การสวดปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เป็นเครื่องซักซ้อมตรวจสอบความบริสุทธิ์ทางวินัยของภิกษุทั้งหลาย และทั้งเป็นเครื่องแสดงความพร้อมเพรียงของสงฆ์ด้วย อุโบสถมีชื่อเรียกย่อยออกไปหลายอย่าง การทำอุโบสถจะมีการสวดปาฏิโมกข์ได้ต่อเมื่อมีภิกษุครบองค์สงฆ์จตุรวรรค คือ ๔ รูป ขึ้นไป ถ้าสงฆ์ครบองค์กำหนดเช่นนี้ทำอุโบสถ เรียกว่า สังฆอุโบสถ
           แต่ถ้ามีภิกษุอยู่เพียง ๒ หรือ ๓ รูป เป็นเพียงคณะ ท่านให้บอกความบริสุทธิ์แก่กันและกันแทนการสวดปาฏิโมกข์ เรียกอุโบสถนี้ว่า คณอุโบสถ หรือ ปาริสุทธิอุโบสถ
           ถ้ามีภิกษุอยู่ในวัดรูปเดียว ท่านให้ทำเพียงอธิษฐาน คือตั้งใจกำหนดจิตต์ว่า วันนี้เป็นอุโบสถของเรา (“อชฺช เม อุโปสโถ”) อุโบสถที่ทำอย่างนี้ เรียกว่า ปุคคลอุโบสถ หรือ อธิษฐานอุโบสถ;
           อุโบสถที่ทำในวันแรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า จาตุทสิก
           ทำในวันขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ เรียกว่า ปัณณรสิก
           ทำในวันสามัคคี เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ
       2. การอยู่จำรักษาองค์ ๘ ที่โดยทั่วไปเรียกกันว่า ศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกานั้น จำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
           ๑. ปกติอุโบสถ อุโบสถที่รักษาตามปกติชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ปัจจุบันนิยมรักษากันเฉพาะในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ คือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันจันทร์ดับ คือ แรม ๑๕ หรือ ๑๔ ค่ำ (ปกติอุโบสถอย่างเต็ม มี ๘ วัน คือ วัน ๕ ค่ำ ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำของทุกปักษ์ ถ้าเดือนขาดรักษาในวันแรม ๑๓ ค่ำเพิ่มด้วย)
           ๒. ปฏิชาครอุโบสถ อุโบสถของผู้ตื่นอยู่ (คือผู้กระตือรือร้นขวนขวายในกุศล ไม่หลับใหลด้วยความประมาท) ได้แก่ อุโบสถที่รักษาครั้งหนึ่งๆ ถึง ๓ วัน คือ รักษาในวันอุโบสถตามปกติ พร้อมทั้งวันหน้าและวันหลังของวันนั้น ซึ่งเรียกว่า วันรับและวันส่งด้วย เช่น อุโบสถที่รักษาในวัน ๘ ค่ำ มีวัน ๗ ค่ำเป็นวันรับ วัน ๙ ค่ำเป็นวันส่ง (เดือนหนึ่งๆ จะมีวันรับและวันส่งรวม ๑๑ วัน, วันที่มิใช่วันอุโบสถ ในเดือนขาดมี ๑๐ วัน เดือนเต็ม ๑๑ วัน)
           ๓. ปาฏิหาริยอุโบสถ อุโบสถที่พึงนำไปคือให้เป็นไปตรงตามกำหนดเป็นประจำในแต่ละปี หมายความว่าในแต่ละปีมีช่วงเวลาที่กำหนดไว้เฉพาะที่จะรักษาอุโบสถประเภทนี้ อย่างสามัญ ได้แก่ อุโบสถที่รักษาเป็นประจำตลอด ๓ เดือน ในพรรษา (อย่างเต็มได้แก่ รักษาตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, ถ้าไม่สามารถรักษาตลอด ๔ เดือน หรือ ๓ เดือน จะรักษาเพียง ๑ เดือน ระหว่างวันปวารณาทั้ง ๒ คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ เดือน ๑๒ ก็ได้, อย่างต่ำสุดพึงรักษากึ่งเดือนต่อจากวันปวารณาแรกไป คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑);
           อย่างไรก็ตาม มติในส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับอุโบสถ ๒ ประเภทหลังนี้ คัมภีร์ต่างๆ ยังแสดงไว้แตกต่างไม่ลงกันบ้าง ท่านว่าพอใจอย่างใด ก็พึงถือเอาอย่างนั้น เพราะแท้จริงแล้ว จะรักษาอุโบสถในวันใดๆ ก็ใช้ได้ เป็นประโยชน์ทั้งนั้น แต่ถ้ารักษาได้ในวันตามนิยมก็ย่อมควร
       3. วันอุโบสถสำหรับพระสงฆ์ คือ วันจันทร์เพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) และวันจันทร์ดับ (แรม ๑๕ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำ เมื่อเดือนขาด), สำหรับคฤหัสถ์ คือ วันพระ ได้แก่ วันขึ้นและวันแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ และวันจันทร์ดับ
       4. สถานที่สงฆ์ทำสังฆกรรม เรียกตามศัพท์ว่า อุโปสถาคาร หรือ อุโปสถัคคะ,
           ไทยมักตัดเรียกว่า โบสถ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 31
อุโบสถกรรม การทำอุโบสถ;
       ดู อุโบสถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 31
อุโบสถศีล ศีลที่รักษาเป็นอุโบสถ หรือ ศีลที่รักษาในวันอุโบสถ ได้แก่ ศีล ๘ ที่อุบาสกอุบาสิกาสมาทานรักษาเป็นการจำศีลในวันพระ คือขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ (แรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 31
อุโปสถขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๒ แห่งคัมภีร์มหาวรรค พระวินัยปิฎก
       ว่าด้วยการทำอุโบสถ คือ สวดปาฏิโมกข์และเรื่องสีมา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 31
อุโปสถิกะ, อุโปสถิกภัต อาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ คือ วันพระ ในเดือนหนึ่ง ๔ วัน,
       เป็นของจำพวกสังฆภัตหรืออุทเทสภัต นั่นเอง แต่มีกำหนดวันเฉพาะ คือ ถวายเฉพาะในวันอุโบสถ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สถ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%B6


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]