ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ สังขาร ”             ผลการค้นหาพบ  26  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 26
กายสังขาร
       1. ปัจจัยปรุงแต่งกาย ได้แก่ลมหายใจเข้า หายใจออก
       2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา หรือความจงใจทางกาย ซึ่งทำให้เกิดกายกรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 26
จิตตสังขาร
       1. ปัจจัยปรุงแต่งจิต ได้แก่ สัญญาและเวทนา
       2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม
           ดู สังขาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 26
บุญญาภิสังขาร ดู ปุญญาภิสังขาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 26
ปลงพระชนมายุสังขาร ดู ปลงอายุสังขาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 26
ปลงสังขาร ทอดอาลัยในกายของตน ว่าจะตายเป็นแน่แท้แล้ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 26
ปลงอายุสังขาร “สลัดลงซึ่งปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอายุ”,
       ตกลงใจกำหนดการสิ้นสุดอายุ,
       ตกลงพระทัยว่าจะปรินิพพาน,
       กำหนดพระทัยเกี่ยวกับการที่จะปรินิพพาน (ก่อนปรินิพพาน ๓ เดือน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 26
ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี
       ได้แก่กุศลเจตนา (เฉพาะที่เป็นกามาวจรและรูปวจร)
       (ข้อ ๑ ในอภิสังขาร ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 26
วจีสังขาร
       1. ปัจจัยปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก (ตรึก) และวิจาร (ตรอง) ถ้าไม่มีตรึกตรองก่อนแล้ว พูดย่อมไม่รู้เรื่อง
       2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือความจงใจทางวาจา ที่ก่อให้เกิดวจีกรรม;
       ดู สังขาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 26
วิสังขาร ธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง, ธรรมอันมิใช่สังขาร คือ พระนิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 26
สสังขารปรินิพพายี พระอนาคามีผู้จะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียร;
       ดู อนาคามี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 26
สสังขาริก “เป็นไปกับด้วยการชักนำ”, มีการชักนำ ใช้แก่จิตที่คิดดีหรือชั่ว โดยถูกกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก มิใช่เริ่มขึ้นเอง จึงมีกำลังอ่อน;
       ตรงข้ามกับ อสังขาริก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 26
สังขาร
       1. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด,
           ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง” ดังนี้เป็นต้น
       2. สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลางๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่ เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว,
           ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า “รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง” ดังนี้เป็นต้น;
           อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ
           ๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา
           ๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา
           ๓. จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา
       3. สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ
           ๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
           ๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร
           ๓. จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 26
สังขาร ๒ คือ
       ๑. อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมครอบครอง
       ๒. อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ครอบครอง,
       โดยปริยายแปลว่า สังขารที่มีใจครอง และสังขารที่ไม่มีใจครอง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 26
สังขารทุกข์ ทุกข์เพราะเป็นสังขาร คือเพราะเป็นสภาพอันถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น จึงต้องผันแปรไปตามเหตุปัจจัย เป็นสภาพอันปัจจัยบีบคั้นขัดแย้ง คงทนอยู่มิได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 26
สังขารโลก โลกคือสังขาร ได้แก่ชุมชนแห่งสังขารทั้งปวงอันต้องเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 26
สังขารุเปกขาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ถึงขั้นเกิดความวางเฉยในสังขาร,
       ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ รู้เท่าทันสภาวะของสังขารว่า ที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นต้นนั้น มันเป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงเลิกเบื่อหน่าย เลิกคิดหาทางแต่จะหนี วางใจเป็นกลางต่อมันได้ เลิกเกี่ยวเกาะและให้ญาณแล่นมุ่งสู่นิพพานอย่างเดียว
       (ข้อ ๘ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 26
อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ยึดครอง
       แปลกันง่ายๆ ว่า “สังขารที่ไม่มีใจครอง” เช่น ต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น
       (ข้อ ๒ ในสังขาร ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 26
อเนญชาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว
       ได้แก่ ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน
           (ข้อ ๓ ในอภิสังขาร ๓);
       ตามหลักเขียน อาเนญชาภิสังขาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 26
อปุญญาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย
       (ข้อ ๒ ในอภิสังขาร ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 26
อภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งผลแห่งการกระทำของบุคคล, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม มี ๓ อย่างคือ
       ๑. ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญ
       ๒. อปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญ คือ บาป
       ๓. อาเนญชาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นอเนญชา คือ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔;
       เรียกง่ายๆ ได้แก่ บุญ บาป ฌาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 26
อภิสังขารมาร อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม ทำให้เกิดชาติชรา เป็นต้น ขัดขวางไม่ให้หลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏฏ์
       (ข้อ ๓ ในมาร ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 26
อสังขารปรินิพพายี พระอนาคามีผู้จะปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรมากนัก
       (ข้อ ๓ ในอนาคามี ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 26
อสังขาริก “ไม่เป็นไปกับด้วยการชักนำ”, ไม่มีการชักนำ ใช้แก่จิตที่คิดดีหรือชั่วโดยเริ่มขึ้นเอง มิใช่ถูกกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก จึงมีกำลังมาก;
       ตรงข้ามกับ สสังขาริก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 26
อาเนญชาภิสังขาร ดู อเนญชาภิสังขาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 26
อิทธาภิสังขาร การปรุงแต่งฤทธิ์ขึ้นทันใด, การบันดาลด้วยฤทธิ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 26
อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมครอบครอง
       พูดเข้าใจกันอย่างง่ายๆ ว่า สังขารที่มีใจครอง เช่น คน สัตว์ เทวดา
       (ข้อ ๑ ในสังขาร ๒)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สังขาร
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%A7%A2%D2%C3


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]