ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
มิลินทปัญหา

หน้าที่ ๒๙๔.

ภควโต ธัมมเทสนาย อัปโปสุกตภาวปัญหา ที่ ๘
             ราชา สมเด็จพระบรมขัตติยนรินทร์ พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการ ประภาษถามอรรถปัญหาอื่นสืบไปเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ ประกอบด้วยญาณปรีชา ตุมฺเห ภณถ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้กับโยมว่า สมเด็จพระมหากรุณา เจ้าทรงพระอุตสาหะสร้างพระบารมีมาถ้วนกำหนดสี่อสงไขยกับเศษอีกแสนกัลป์นี้ ด้วยมี พระทัยจะรื้อขนสัตว์ออกจากห้วงมหรรณภพสงสาร ผู้เป็นเจ้าว่าไว้กระนี้นะ ปุน จ ครั้นมาอีก เล่า พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า เมื่อสมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าสำเร็จแก่พระศรีสรรเพชญดา- ญาณนั้นเล่า กลับมีน้ำพระทัยน้อมไปที่จะขวนขวายน้อย ไม่ตรัสพระสัทธรรมเทศนาโปรด สัตว์ โยมพิเคราะห์ดูอรรถทั้งสองนี้ไม่ต้องกัน ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า ผู้ปรีชา ยถา มีครุวนาฉันใด โยมจะเปรียบให้ฟัง เหมือนอย่างว่านายขมังธนูก็ดี และลูกศิษย์ นายขมังธนู ก็ดี เรียนไว้จะสู้รบราชศัตรู ครั้นถึงที่จะได้รบราชศัตรู แล้วก็หดห่อย่อท้ออยู่หาสู้ไม่

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๙๕.

นี่คิดไปก็เหมือนกันกับองค์สมเด็จพระสัพพัญญูสร้างพระบารมีสื่อสงไขยกับแสนกัลป์ เอตฺถนฺตเร ในระหว่างสร้างพระบารมีนั้น น้ำพระทัยนี่ผูกพันที่ว่าจะรื้อขนสัตว์ทั้งหลายอัน เวียนวนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารไม่รู้แล้ว ให้เข้าสู่กรุงแก้วอมตนคเรศศิเวศวรมหาปถโมกข- นิพพาน              ครั้นได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกแล้ว พระทัยจะผ่องแผ้วชนชื่น ควรแลหรือกลับเป็นอื่น ไป มีน้ำพระทัยมักน้อยไม่ขวนขวายโปรดสัตว์มัธยัสถ์อยู่ เหมือนนายขมังธนูเรียนรู้ไว้จะรบศัตรู ครั้นปะศัตรูวางธนูเสียหาสู่ไม่ โอสกฺเกยฺย กลับงอนหง่อย่อท้อไปไม่สู่เขา              ประการหนึ่งเล่า ถ้ามิฉะนั้น ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าจงฟังอุปมาอีกอย่างหนึ่งเล่า มลฺโล วา มลฺลสิสฺโส วา เสมือนคนมวยคนปล้ำก็ดี ลูกศิษย์ของคนปล้ำก็ดี ย่อมติดพัน ลองเล่นอยู่ทุกเวลาราตรี หวังจะสู้กับมวยหมู่ปล้ำ ครั้นถึงที่จะเข้าสู้สิกลับว่าข้าแรงน้อยถอย เสียไม่สู่ใคร เรียนปล้ำทำไมเล่า เหมือนอย่างเจ้าคนมวยขลาด สมัครว่าจะชก เห็นเขามาทำ หน้าซีดหาสู่ไม่ นี่แหละสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าก็เหมือนกัน สร้างพระบารมีมาตั้งพระทัย ปรารถนาที่ว่า จะโปรดเวไนยนิกรสรรพสัตว์ ครั้นได้ตรัสแล้วพระทัยมัธยัสถ์มีขวนขวายน้อย คิดท้อถอยที่ว่าจะไปโปรดสัตว์ด้วยกลัวภัย กึ นุ โข ไฉนหนอหรือว่าสมเด็จพระมหากรุณา โปรดสัตว์ด้วยพระทัยย่อท้อมีขวนขวายน้อย หรือว่าท้อถวายทุพพลภาพ ด้วยไม่มีพระกำลังหิว หอบอยู่ อสพฺพญฺญุตาย หรือว่าไม่รู้ไม่เป็นพระสัพพัญญูดอกกระมัง ฟังพระผู้เป็นเจ้าว่าน่าไม่ สมหวัง เหลวไหลไป อิงฺฆ ดังข้าพเจ้าตักเตือน การณานิ พฺรูหิ พระผู้เป็นเจ้าจงชักเอาเหตุมา แก้ไข กงฺขาวิตรณาย เพื่อจะให้สิ้นซึ่งความวิมัติกังขา ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาค- เสนผู้ปรีชา ถ้าว่าสมเด็จพระนายกโลกนาถมีพระทัยปรารถนาจะโปรดสัตว์ รื้อขนสัตว์อัน ลอยล่องเที่ยวท่องเสวยสุขเสวยทุกข์ในวัฏสงสาร จึงสั่งสมสร้างพระบารมี ๓๐ ทัศ มีทานบารมี เป็นประถม สร้างสมซึ่งพาหิรกทาน และอัชฌัตติกทาน คือดวงพระหฤทัยนัยเนตรพระเกษกาย เศียรศอเลือดเนื้อให้แก่สัตว์ทั้งหลาย แล้วมิหนำซ้ำให้บุตรธิดาอัครชายายอดรักเป็นอัครทาน ไม่ท้อถอย แต่สร้างพระบารมีมานี้นานน้อยไปหรือ จะกำหนดนี้ถึงสี่อสงไขยแสนกัลป์ เอตฺถนฺ- ตเร ในระหว่างสร้างพระบารมีอยู่นั้น พระทัยนี้ผูกพันจะเป็นพระจะโปรดสัตว์              ถ้าว่าจะถือเอาถ้อยคำเดิมพระเป็นเจ้าว่านี้ คำภายหลังที่พระผู้เป็นเจ้าว่า เมื่อ สมเด็จพระมหาโลกนายกยอดบุคคลได้ตรัสเป็นสมเด็จพระทศพลแล้ว พระทัยขวนขวายน้อย มีพระทัยท้อถอยที่ว่าจะไม่โปรดสัตว์ อรรถถ้อยคำนี้ก็ผิดเป็นมิจฉา สทฺทหามิ จะเชื่อคำที่ว่า ได้ตรัสแล้ว มักน้อยมัธยัสถ์คิดจะไม่โปรดสัตว์ คำเดิมที่ว่า สร้างพระบารมีสื่อสงไขยกับแสนกัลป์ ปรารถนาว่าได้ตรัสแล้วจะโปรดสัตว์นั้นก็ผิด อยํ ปญฺโห อันว่าปริศนานี้ อุภโต โกฏิโก

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๙๖.

เป็นอุภโตโกฏิ นิมนต์โปรดวิสัชนาให้แจ้งในกาลบัดนี้              พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร แต่กาล ก่อนอาตมาถวายพระพรไว้จริงอยู่ ว่าสมเด็จพระสัพพัญญูเข้าเอ็นดูแก่สรรพสัตว์ ปรารถนา จะโปรดสัตว์ จึงสร้างพระบารมีมาถ้วนสื่อสงไขยแสนกัลป์ เอตฺถนฺเตเร ในระหว่างเมื่อ พระองค์สร้างพระบารมีอยู่นั้น น้ำพระทัยนี้ผูกพ้นที่ว่าจะโปรดสัตว์อยู่ และคำที่ถวายพระพร ว่าพระสัพพัญญูได้ตรัสแล้ว มีพระทัยมัธยัสถ์ไม่ปรารถนาที่จะเทศนานำสัตว์เข้าสู่พระนิพพาน ด้วยสมเด็จพระโลกุตตมาจารย์ส่องญาณดูชินธรรม ก็เห็นว่าลึกล้ำคัมภีรภาพ ยากที่จะรู้จะเห็น อนึ่งโสด สัตว์ทั้งหลายประกอบด้วยตัณหาอันกล้าด้วยภาวะมีสักกายทิฐิถือมั่น ที่ไหนสัตว์ทั้ง ปวงนั้นจะถือตามพุทธโอวาทของตถาคตเล่า              เหตุฉะนี้พระทัยของสมเด็จพระสัพพัญญูเข้าจึงน้อมไปเพื่อความเป็นผู้ขวนขวายน้อย มีพระหฤทัยมัธยัสถ์ไม่ปรารถนาที่จะเทศนานำสัตว์เข้าสู่นฤพาน มหาราช ขอถวายพระ พรบพิตรพระราชสมภาร ภึสโก ปานดุจหมอ สลฺลกนฺโต อันจะพยาบาลไข้ อุปคจฺฉนฺโต เมื่อเข้าไปใกล้ซึ่งคนไข้นั้น จึงมาคิดในใจว่า อาตมาจะประกอบยาขนานไหนให้ไข้หาย ย่อมถ่าย เทคะเนใจไปฉะนี้ ยถา มีครุวนาฉันใดนะบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์ เจ้าก็เพ่งพิจารณาดูหมู่สัตว์ทั้งหลายอันเป็นโรคร้ายร้อน กล่าวคือกองกิเลสอันหนาเห็นว่าจะหยั่ง ปัญญาลงพิจารณาซึ่งธรรมของสมเด็จพระสัพพัญญูยากที่จะรู้เห็น เป็นเหตุฉะนี้จึงทรงพระปริ- วิตกไปว่า ทำไฉนดีจึงจะโปรดสัตว์นี้ได้ จะกระทำอุบายฉันใด นี่แหละสาละวนที่วิตกไปเหมือน หมอรักษาไข้ ต้องพิเคราะห์ไปว่าโรคสิ่งไรจึงจะชอบประกอบยาขนานไหน พิจารณาไข้ให้แน่ จึงวางยาแก้ไขต่อภายหลัง เหตุดังนี้สมเด็จพระชินสีห์เจ้าจึงมีความขวนขวายน้อยที่จะสำแดง พระธรรมเทศนา              วา ปน ดังอาตมาจะถวายอุปมาอีกอย่างหนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพร บพิตร พระราชสมภาร เปรียบดุจกษัตริย์พระองค์หนึ่งเล่า ได้ราชภิเษก ไม่ได้ทัศนาการเห็นซึ่งคน ทั้งหลายอันเป็นฝ่ายเจ้าพนักงายเป็นต้น คือสาวสรรสะคราญอเนกนิกรราชกัญญา ข้าเฝ้า สนิททั้งหลาย เหล่าบุรุษหญิงชายชาวนิคมขอบเขตขัณฑเสมา นายกองช้างกองม้ากำหนดที่สุด โทวาริกบุรุษผู้รักษาทวารนั้น              พระทัยก็ยังไม่หวนหันบัญชาการก่อน ก็ย่อมทรงพระอนุสรณ์ว่า อาตมานี้จะสงเคราะห์ อย่างไร แก่ไพร่บ้านพลเมืองดีฉะนี้หนอ น้ำพระทัยนี้ตรึกตรอง จึงยังไม่พระโองการชุบย้อมตั้ง แต่งใครผู้ใด ยถา มีครุวนาฉันใด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระอนาวรณญาณได้สำเร็จการแก่พระปรมภิเษกอันประเสริฐเลิศโลกาแล้ว พิจารณาดู

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๙๗.

พระธรรมรัตน์เป็นแก้วหาค่าได้ คมฺภร นิปุณํ อันลึกล้ำละเอียดนักหนา ยากที่ฝูงเวไนยใจ หยาบจะหยั่งเห็นได้ ถึงจะตรัสพระสัทธรรมเทศนา ก็เสียทีเทศนาเสียเปล่า ที่ไหนเล่าจะนับถือ เพราะใจดื้อดึงคะนึงเห็นเป็นสักกายทิฐิ พระองค์จึงสาละวนดำริจะสงเคราะห์สัตว์อย่างไร สัตว์ จึงจะยังจิตให้เข้าใจในกระแสพระสัทธเทศนา ดำริเหมือนกษัตริย์เมื่อแรกราชาภิเษกนั้น เหตุฉะนี้สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าจึงมีพระทัยขวนขวายน้อยอยู่ ยังไม่ตรัสพระสัทธรรมเทศนา              อนึ่งเล่า ก็เป็นธรรมดาประเพณีสมเด็จพระพุทธเจ้าแต่โบราณมา สุดแท้แต่ว่าได้ตรัส แล้ว ต่อท้าวมหารพรหมมาอาราธนา พระองค์จึงได้ตรัสพระธรรมเทศนา เหตุไรจึงเป็นธรรมดา มา เหตุว่ามนุษย์ทั้งหลายถือตามฝักฝ่ายท้าวมหาพรหม บรรดาเหล่าปริพพาชกสมณ- พราหมณ์ทั้งหลายถือมั่นว่า ท้าวมหาพรหมเป็นเทวดา พฺรหฺมครุกา คำรพท้าวมหาพรหมถือ ตามโอวาทานุสาสน์น้อยใหญ่ของท้าวมหาพรหมเป็นที่สุด              อย่าว่าแต่มนุษย์เลย เทวดาและพรหมทั้งหลายนั้นก็มานับถือท้าวมหาพรหม ถ้าว่า ท้าวมหาพรหมมิได้มาอาราธนานอบนบน้อมนิมนต์ สมเด็จรพระทศพลก็ต้องยับยั้งรอท่าท้าว มหาพรหม ยังไม่ขวนขวายที่จะตรัสพระสัทธรรมเทศนา ยสฺมา เหตุใด ตสฺมา เหตุดังนั้น สมเด็จพระตถาคตทศพลเจ้าแต่ก่อนมา ท้าวมหาพรหมจึงต้องอาราธนานิมนต์ก่อน ขอถวาย พระพรบพิตรพระราชสมภาร จงทรงสันนิษฐานให้ทราบเหตุ อุปเทสฺสามิ อาตมาจะถวาย อุปมาต่อไปอีก ยถา มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร จะมีครุวนาฉันใด ดุจ สมเด็จภูวไนยาธิราชและมหาอำมาตย์ผู้ใหญ่ เคารพนบไหว้ถืออะไรเป็นที่ไหว้ที่เคารพนบนอบ บูชา อวเสสา ชนา คนทั้งหลายเศษนั้น ก็พากันพลอยนอบนบเคารพบูชาด้วยสิ้น อนึ่ง เป็น ประเพณีคดีโลกมา ฝ่ายว่าสมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าทั้งหลายนั้นก็เหมือนกัน มหาพรหมนั้น สิเป็นใหญ่ ท้าวมหาพรหมลงมาคำรพนบนอบเมื่อใดแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งปวงที่นับถือ ท้าวมหาพรหมนั้นก็ชวนกันกระทำสักการบูชา ตสฺมา เหตุฉะนี้แหละ พรหมจึงต้องลงมา อาราธนา ให้ทรงแสดงธรรมโปรดสัตว์ทั้งหลาย ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรได้สวนาการฟังก็ทรงพระสโมสรโสมนัสปรีดาตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อยํ ปญฺโห อันว่าปริศนานี้เดิมทีดูเหมือนหนึ่ง นาวาบรรทุกภาวะอันหนัก อติลหุโก พระผู้เป็นเจ้ากระทำให้เบาขึ้นได้ สุนิเวทิโต ช่างแก้นักหนา วิสัชนาให้โยมเข้าใจ สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับไว้เป็นข้อวัตรปฏิบัติสืบไป
ภควโต ธัมมเทสนาย อัปโปสุกตภาวปัญหา คำรบ ๘ จบเพียงนี้

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๒๙๔ - ๒๙๗. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=122&pagebreak=1              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_122

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]