ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
กรรมที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้
[๑๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรมใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุสองรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ภิกษุรูปเดียวยกสงฆ์เสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ภิกษุสองรูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ภิกษุสองรูปยกภิกษุสองรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ภิกษุสองรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ภิกษุสองรูปยกสงฆ์เสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปยกภิกษุสองรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปยกสงฆ์เสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันเสียบ้าง ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
กรรม ๔ ประเภท
[๑๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมนี้มี ๔ ประเภท คือกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ๑ กรรมเป็นวรรคโดยธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม ๑
อธิบายกรรม ๔ ประเภท
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมนี้ ชื่อว่า กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะไม่เป็นธรรม เพราะเป็นวรรค กรรมเห็นปานนี้ไม่ควรทำ และ เราก็ไม่อนุญาต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรมนี้ ชื่อ ว่ากำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะไม่เป็นธรรม กรรมเห็นปานนี้ไม่ควรทำและเราก็ไม่อนุญาต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่เป็นวรรคโดยธรรมนี้ ชื่อว่ากำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะเป็นวรรค กรรมเห็นปานนี้ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียงโดยธรรมนี้ ชื่อว่าไม่ กำเริบ ควรแก่ฐานะ เพราะเป็นธรรม เพราะพร้อมเพรียง กรรมเห็นปานนี้ควรทำ และเราก็ อนุญาต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังกล่าวนั้นแล พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แหละว่า พวกเราจักทำกรรมที่พร้อมเพรียงโดยธรรม.
พระฉัพพัคคีย์ทำกรรมหลายอย่าง
[๑๗๘] โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทำกรรมเห็นปานนี้ คือ ทำกรรมเป็นวรรคโดย ไม่เป็นธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ทำกรรมเป็นวรรคโดยธรรม ทำกรรมเป็น วรรคโดยเทียมธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ทำกรรมบกพร่องด้วยญัตติแต่สมบูรณ์ ด้วยอนุสาวนาบ้าง ทำกรรมบกพร่องด้วยอนุสาวนาแต่สมบูรณ์ด้วยญัตติบ้าง ทำกรรมบกพร่อง ทั้งญัตติบกพร่องทั้งอนุสาวนาบ้าง ทำกรรมเว้นจากธรรมบ้าง ทำกรรมเว้นจากวินัยบ้าง ทำกรรม เว้นจากสัตถุศาสน์บ้าง ทำกรรมที่ถูกค้านแล้วและขืนทำ ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะบ้าง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย .... เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึง ได้ทำกรรมเห็นปานนี้ คือ ทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม .... ทำกรรมที่ถูกคัดค้านแล้วและ ขืนทำ ไม่เป็นธรรมกำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะบ้างเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุฉัพพัคคีย์ ทำกรรมเห็นปานนี้ คือ ทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม .... ทำกรรมที่ถูกคัดค้านแล้วและขืนทำ ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะบ้างจริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน .... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-
กรรมที่ใช้ไม่ได้
[๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ถ้ากรรมบกพร่องด้วยญัตติ สมบูรณ์ด้วยอนุสาวนา ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ถ้ากรรมบกพร่องด้วยอนุสาวนาสมบูรณ์ด้วยญัตติ ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ถ้ากรรมบกพร่องทั้งญัตติ บกพร่องทั้งอนุสาวนา ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ กรรมแม้แผกจากธรรม ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ กรรมแม้แผกจากวินัย ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ กรรมแม้แผกจากสัตถุศาสน์ ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ ถ้ากรรมที่ถูกคัดค้านแล้วและขืนทำ ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
กรรม ๖ ประเภท
[๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมนี้มี ๖ ประเภท คือ กรรมไม่เป็นธรรม ๑ กรรมเป็น วรรค ๑ กรรมพร้อมเพรียง ๑ กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยเทียม ธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม ๑.
อธิบายกรรมไม่เป็นธรรม
[๑๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่เป็นธรรม เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ภิกษุทำกรรมด้วยตั้งญัตติอย่างเดียว และไม่สวด กรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยญัตติสองครั้ง และไม่สวดกรรมวาจา ชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาอย่างเดียว และไม่ตั้งญัตติ ชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาสองครั้ง และไม่ตั้งญัตติ ชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยตั้งญัตติอย่างเดียว และไม่สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยตั้งญัตติสองครั้ง ด้วยตั้งญัตติ ๓ ครั้ง ด้วย ตั้งญัตติ ๔ ครั้ง และไม่สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาอย่างเดียว และไม่ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจาสองครั้ง ด้วยสวดกรรมวาจา ๓ ครั้ง ด้วยสวดกรรมวาจา ๔ ครั้ง และไม่ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมไม่เป็นธรรม.
อธิบายกรรมเป็นวรรค
[๑๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมเป็นวรรค เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น ไม่มาประชุม ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม แต่ไม่นำ ฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะ ของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค ในญัตติจตุตถกรรม ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มาประชุม ไม่นำ ฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม แต่ไม่ นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำ ฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรค ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมเป็นวรรค.
อธิบายกรรมพร้อมเพรียง
[๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมพร้อมเพรียง เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น มาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียง ในญัตติจตุตถกรรม ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะ ของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียง.
อธิบายกรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม
[๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มาประชุม ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติทีหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวน เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติทีหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวน เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติทีหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวน เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติทีหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวน เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มาประชุม ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติทีหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวน เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ชื่อว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม.
อธิบายกรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม
[๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติทีหลัง ภิกษุ ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อม หน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติทีหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวน เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม.
อธิบายกรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม
[๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุตั้งญัตติก่อน ทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจา หนเดียวทีหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควร ฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุตั้งญัตติก่อน ทำกรรมด้วยสวดกรรมวาจา สามครั้งทีหลัง ภิกษุเข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุม นำฉันทะของภิกษุผู้ควร ฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๔๘๑๕-๔๙๖๓ หน้าที่ ๑๙๘-๒๐๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=5&A=4815&Z=4963&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=5&siri=50              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=174              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [176-186] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=5&item=176&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=5395              The Pali Tipitaka in Roman :- [176-186] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=5&item=176&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=5395              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/horner-brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :