ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
ขอระงับอุกเขปนียกรรม
[๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็น อาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรมฐาน ไม่เห็นอาบัติ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ รูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติ เอาละ พวกเราจะระงับ อุกเขปนียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขป- *นียกรรมฐานไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น .... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม .... เป็นวรรคโดย ธรรม .... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม .... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม .... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็น วรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็น อันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่ เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้ เป็นธรรมวาที. ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนิยกรรมฐานไม่ทำคืน อาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับอุกเขปนียกรรมฐาน ไม่ทำคืนอาบัติ ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ รูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติ แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติ เอาละ พวกเราจะระงับ อุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขป- *นียกรรมฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น .... พร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม .... เป็นวรรคโดย ธรรม .... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม .... พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม .... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น กล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรม เป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม และพวกที่ กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้. [๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐาน ไม่สละทิฏฐิบาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงขอระงับ อุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาป ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษาตกลงกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาป แล้วประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่เธอ ดังนี้ แล้วได้เป็นวรรค โดยไม่เป็นธรรม ระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น .... พร้อมเพรียงกันโดย ไม่เป็นธรรม .... เป็นวรรคโดยธรรม .... เป็นวรรคโดยเทียมธรรม .... พร้อมเพรียงกันโดยเทียม ธรรม .... สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม กรรมพร้อม เพรียงกันโดยไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรคโดยธรรม กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม กรรม พร้อมเพรียงกันโดยเทียมธรรม กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมพร้อมเพรียงกันโดย เทียมธรรม และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้อง ทำใหม่ บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น สองพวกนี้เป็นธรรมวาที. ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้.
จัมเปยยขันธกะ ที่ ๙ จบ.
ในขันธกะนี้มี ๓๘ เรื่อง.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๕๘๑๖-๕๘๖๑ หน้าที่ ๒๓๙-๒๔๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=5&A=5816&Z=5861&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=5&siri=56              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=218              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [235-236] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=5&item=235&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- [235-236] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=5&item=235&items=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/brahmali#pli-tv-kd9:7.15.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/horner-brahmali#Kd.9.7.15

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :