ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

อินทริยสังวร

ไว้ ๒ อย่างคือ กลิ่นที่ควรเสพและกลิ่นที่ไม่ควรเสพ กล่าวรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ไว้ ๒ อย่างคือ รสที่ควรเสพและรสที่ไม่ควรเสพ กล่าวโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ไว้ ๒ อย่างคือ โผฏฐัพพะที่ควรเสพและโผฏฐัพพะที่ไม่ควรเสพ กล่าวธรรมารมณ์ ที่พึงรู้แจ้งทางใจไว้ ๒ อย่างคือ ธรรมารมณ์ที่ควรเสพและธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท้าวสักกะจอมเทพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลเสพรูปที่พึงรู้ แจ้งทางตาเช่นใด อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นนี้เป็นรูปที่ไม่ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา เช่นใด อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น รูปที่พึงรู้แจ้ง ทางตาเช่นนี้เป็นรูปที่ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเช่นใด ฯลฯ เมื่อ บุคคลเสพกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเช่นใด ฯลฯ เมื่อบุคคลเสพรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น เช่นใด ฯลฯ เมื่อบุคคลเสพโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายเช่นใด ฯลฯ เมื่อบุคคลเสพ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด’ อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรม ทั้งหลายเสื่อมลง ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นนี้ เป็นธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นนี้ เป็นธรรมารมณ์ที่ ควรเสพ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้แล จึงไม่มีความสงสัยในเรื่องนี้ หมดความแคลงใจแล้ว เพราะได้ฟังการตรัสตอบปัญหาของพระผู้มีพระภาค” [๓๖๖] ท้าวสักกะจอมเทพชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล้ว ได้ทูลถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์ ทั้งหมด มีวาทะ(หลักการ)อย่างเดียวกัน มีศีล(ข้อปฏิบัติ)อย่างเดียวกัน มีฉันทะ (ลัทธิ) อย่างเดียวกัน มีอัชโฌสานะ๑- (จุดหมาย)อย่างเดียวกัน หรือหนอ” @เชิงอรรถ : @ อัชโฌสานะ ในที่นี้หมายถึงมีที่สุดอย่างเดียวกัน(เอกปริโยสานา) มีข้อตกลงร่วมกัน(สมานนิฏฐานา) @(ที.ม.อ. ๓๖๖/๓๕๓, ที.ม.ฏีกา ๓๖๖/๓๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

อินทริยสังวร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ สมณพราหมณ์ทั้งหมด ไม่มีวาทะ อย่างเดียวกัน ไม่มีศีลอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะอย่างเดียวกัน ไม่มีอัชโฌสานะ อย่างเดียวกัน” ท้าวเธอทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ ทั้งหมด จึงไม่มีวาทะอย่างเดียวกัน ไม่มีศีลอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะอย่างเดียวกัน ไม่มีอัชโฌสานะอย่างเดียวกัน” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ โลกมีธาตุหลากหลาย๑- มีธาตุต่างกัน ในโลกที่มีธาตุหลากหลายมีธาตุต่างกันนั้น เหล่าสัตว์ยึดมั่นธาตุใดๆ อยู่ ก็ย่อมยึด มั่นธาตุนั้นๆ ด้วยเรี่ยวแรงและความยึดมั่นอยู่ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีวาทะอย่างเดียวกัน ไม่มีศีลอย่าง เดียวกัน ไม่มีฉันทะอย่างเดียวกัน ไม่มีอัชโฌสานะอย่างเดียวกัน” ท้าวเธอทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีความ สำเร็จสูงสุด๒- มีความเกษมจากโยคะสูงสุด๓- ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด๔- มีที่สุด อันสูงสุด๕- หรือหนอ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ สมณพราหมณ์ทั้งหมด ไม่มีความ สำเร็จสูงสุด ไม่มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด ไม่มี ที่สุดอันสูงสุด” ท้าวเธอทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จสูงสุด ไม่มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ไม่ประพฤติ พรหมจรรย์ถึงที่สุด ไม่มีที่สุดอันสูงสุด” @เชิงอรรถ : @ มีธาตุหลากหลาย ได้แก่ มีอัชฌาสัย คือนิสัยใจคอความนิยมต่างกัน เช่น เมื่อคนหนึ่งอยากเดิน อีกคนหนึ่ง @อยากยืน เมื่อคนหนึ่งอยากยืน อีกคนหนึ่งอยากนอน (ที.ม.อ. ๓๖๖/๓๕๓) @ มีความสำเร็จสูงสุด ในที่นี้หมายถึงพ้นความพินาศคือกิเลส (ที.ม.อ. ๓๖๖/๓๕๓) @ ความเกษมจากโยคะสูงสุด ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (ที.ม.อ. ๓๖๖/๓๕๓) @ ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (ที.ม.อ. ๓๖๖/๓๕๓) @ ที่สุดอันสูงสุด ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (ที.ม.อ. ๓๖๖/๓๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

อินทริยสังวร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ ภิกษุทั้งหลายผู้หลุดพ้นเพราะสิ้น ตัณหาเท่านั้นจึงจะมีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติ พรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหมดจึงไม่มี ความสำเร็จสูงสุด ไม่มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด ไม่มีที่สุดอันสูงสุด” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบปัญหาที่ท้าวสักกะจอมเทพทูลถามอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพมีพระทัยยินดีชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยในเรื่องนี้ หมดความแคลงใจแล้ว เพราะได้ฟังการตรัส ตอบปัญหาของพระผู้มีพระภาค” [๓๖๗] ท้าวสักกะจอมเทพทรงชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ความหวั่นไหวเป็นโรค ความหวั่นไหว เป็นหัวฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร ความหวั่นไหวฉุดคร่าบุรุษนี้ไปเพื่อบังเกิดใน ภพนั้นๆ ฉะนั้น บุรุษนี้จึงถึงฐานะสูงบ้างต่ำบ้าง๑- ปัญหาที่ข้าพระองค์ไม่ได้แม้โอกาสจะถามในสมณพราหมณ์เหล่าอื่นนอก พระธรรมวินัยนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบแก่ข้าพระองค์แล้ว และได้ทรงถอน ลูกศรคือความสงสัยและความเคลือบแคลงที่นอนเนื่องมานานของข้าพระองค์ด้วย” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “จอมเทพ พระองค์ทรงจำได้หรือไม่ว่าปัญหา ข้อนี้ได้ตรัสถามสมณพราหมณ์เหล่าอื่นมาบ้างแล้ว” ท้าวเธอทูลตอบว่า “ข้าพระองค์ยังจำได้ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ท่านเหล่านั้นตอบว่าอย่างไร หากไม่หนักพระทัย เชิญพระองค์ตรัสเถิด” ท้าวเธอทูลตอบว่า “ณ สถานที่ที่มีพระผู้มีพระภาค หรือผู้เปรียบดังพระผู้มี พระภาคประทับอยู่ หม่อมฉันไม่หนักใจเลย พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ ฐานะสูงบ้างต่ำบ้าง ในที่นี้หมายถึงภพภูมิต่างๆ เช่น พรหมโลกสูงกว่าเทวโลก เทวโลกสูงกว่า @มนุษยโลก และมนุษยโลกสูงกว่าอบายภูมิ (ที.ม.อ. ๓๖๗/๓๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องการได้โสมนัส

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น เชิญพระองค์ตรัสเถิด จอมเทพ” ท้าวเธอทูลตอบว่า “ข้าพระองค์เข้าไปหาสมณพราหมณ์ ที่เข้าใจว่า ‘เป็นผู้ อยู่ป่า อยู่ในเสนาสนะอันสงัด’ แล้วถามปัญหาเหล่านี้ ท่านเหล่านั้น เมื่อถูกถาม ก็ตอบไม่ได้กลับย้อนถามข้าพระองค์ว่า ‘ท่านชื่ออะไร’ เมื่อถูกย้อนถาม ข้าพระองค์ จึงตอบว่า ‘เราชื่อท้าวสักกะจอมเทพ’ ท่านเหล่านั้นก็ยังถามต่อไปอีกว่า ‘ท่านทำ กรรมอะไรจึงถึงฐานะอันนี้เล่า’ ข้าพระองค์จึงแสดงธรรม๑- ตามที่ได้ฟังที่ได้เรียนมา ท่านเหล่านั้นมีใจยินดีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า ‘พวกเราได้เห็นท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวเธอได้ตรัสตอบปัญหาที่พวกเราถาม’ ท่านเหล่านั้นยอมเป็นสาวกของ ข้าพระองค์ ส่วนข้าพระองค์ไม่ยอมเป็นสาวกของท่านเหล่านั้น แต่(บัดนี้)ข้าพระองค์ เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า๒-”
เรื่องการได้โสมนัส
[๓๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “จอมเทพ พระองค์ยังทรงจำการได้ ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ก่อนแต่นี้ได้หรือไม่” ท้าวเธอทูลตอบว่า “ข้าพระองค์ยังจำการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ ก่อนแต่นี้ได้ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พระองค์ยังทรงจำการได้ความยินดี การได้โสมนัส เช่นนี้ก่อนแต่นี้ได้ว่าอย่างไร” @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงวัตตบท ได้แก่ ข้อที่ถือปฏิบัติประจำที่ทำให้มฆมาณพได้เป็นท้าวสักกะจอมเทพ @มี ๗ อย่าง คือ (๑) มาตาเปติภโร (เลี้ยงมารดาบิดา) (๒) กุเลเชฏฺฐาปจายี (เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล) @(๓) สณฺหวาโจ (พูดคำสุภาพอ่อนหวาน) (๔) อปิสุณวาโจ หรือ เปสุเณยฺยปฺปหายี (ไม่พูดส่อเสียด @พูดสมานสามัคคี) (๕) ทานสํวิภาครโต หรือ มจฺเฉรวินโย (ยินดีในการแจกทาน ปราศจากความตระหนี่) @(๖) สจฺจวาโจ (มีวาจาสัตย์) (๗) อโกธโน หรือ โกธาภิภู (ไม่โกรธ ระงับความโกรธได้) (ที.ม.อ. ๓๖๓/๓๔๘) @ ดูคำอธิบายใน สกฺกวตฺถุ ธมฺมปทฏฺฐกถา ฉฏฺโฐ ภาโค สุขวคฺควณฺณนา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องการได้โสมนัส

ท้าวเธอกราบทูลว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว เมื่อครั้งเกิด สงครามระหว่างเทพกับอสูรถึงขั้นรบประชิด ในสงครามนั้นพวกเทพชนะ พวกอสูร พ่ายแพ้ เมื่อข้าพระองค์ชนะสงครามจึงมีความคิดว่า ‘บัดนี้พวกเทพในเทวโลกจะ บริโภคโอชา (รส) ๒ ประการ คือ ทิพยโอชาและอสูรโอชา’ การได้ความยินดี การได้โสมนัสของข้าพระองค์นั้นเป็นทางมาแห่งทัณฑาวุธ เป็นทางมาแห่งศัสตราวุธ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็น ไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ส่วนการได้ความยินดี การได้โสมนัสของข้าพระองค์ เพราะได้ฟังธรรมของพระผู้มี พระภาคนั้น ไม่เป็นทางมาแห่งทัณฑาวุธ ไม่เป็นทางมาแห่งศัสตราวุธ เป็นไปเพื่อ ความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน” [๓๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “จอมเทพ พระองค์ทรงพิจารณาเห็น อำนาจประโยชน์๑- อะไร จึงทรงประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้” ท้าวเธอกราบทูลว่า “ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๖ ประการ จึงได้ประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ ๑ นี้แลว่า ‘เมื่อข้าพระองค์เกิดเป็นเทพดำรงอยู่ในที่นี้๒- ข้าพระองค์กลับได้อายุเพิ่มขึ้นอีก ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้เถิด’ จึงประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ ๒ นี้แลว่า ‘เมื่อข้าพระองค์จุติจากกายทิพย์ ละอายุของอมนุษย์ เป็นผู้ไม่หลง จะเข้าสู่ครรภ์ในตระกูลที่ข้าพระองค์มีใจยินดี’ จึงประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ @เชิงอรรถ : @ อำนาจประโยชน์ หมายถึงเหตุ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๒๐๑/๗๔) @ ในที่นี้ หมายถึงในถ้ำอินทสาละ (ที.ม.ฏีกา ๓๖๙/๓๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องการได้โสมนัส

ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ ๓ นี้แลว่า ‘เมื่อข้าพระองค์นั้นยินดีในศาสนา ของพระผู้มีพระภาคผู้มีปัญญาไม่ลุ่มหลง ข้าพระองค์มีสัมปชัญญะ มีสติอยู่โดยชอบธรรม๑-’ จึงประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ ๔ นี้แลว่า ‘เมื่อข้าพระองค์ประพฤติโดยชอบธรรมก็จักมีสัมโพธิ๒- ข้าพระองค์จะรู้ทั่วถึง๓- อยู่ นั่นแหละจะเป็นที่สุดของข้าพระองค์๔-’ จึงประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ ๕ นี้แลว่า ‘เมื่อข้าพระองค์จุติจากกายมนุษย์ ละอายุของมนุษย์แล้ว จักเกิดเป็นเทพอีก ข้าพระองค์จะเป็นผู้สูงสุดในเทวโลก’ จึงประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ประการที่ ๖ นี้แลว่า ‘เทพเหล่านั้นชั้นอกนิฏฐภพ เป็นผู้ประณีตกว่า เป็นผู้มียศ @เชิงอรรถ : @ โดยชอบธรรม หมายถึงโดยสมควรแก่ความเป็นพระอริยสาวก (ที.ม.ฏีกา ๓๖๙/๑๔๔) @ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงสกทาคามิมรรค (ที.ม.อ. ๓๖๙/๓๕๕) @ จะรู้ทั่วถึง หมายถึงปรารถนาจะบรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่บรรลุ (ที.ม.ฏีกา ๓๖๙/๓๔๔) @ นั่นแหละจะเป็นที่สุดของข้าพระองค์ หมายถึงไม่มีการเกิดในมนุษยโลกอีกต่อไป (ที.ม.ฏีกา ๓๖๙/๓๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องการได้โสมนัส

ในภพสุดท้ายที่ดำเนินไปอยู่ อกนิฏฐภพนั้นจะเป็นที่อยู่ของข้าพระองค์’ จึงประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๖ ประการนี้แล จึงประกาศการได้ ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ [๓๗๐] ข้าพระองค์มีความดำริยังไม่ถึงที่สุด มีความสงสัยเคลือบแคลง เที่ยวแสวงหาพระตถาคตอยู่สิ้นกาลนาน ข้าพระองค์เข้าไปหาสมณะ ที่เข้าใจว่าเป็นผู้อยู่เงียบสงบ สำคัญว่า ‘เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า’ ท่านเหล่านั้นเมื่อถูกถามว่า ความสำเร็จเป็นอย่างไร ความไม่สำเร็จเป็นอย่างไร ก็ไม่สามารถตอบในเรื่องมรรคและปฏิปทาได้ เมื่อท่านเหล่านั้นรู้ว่า ข้าพระองค์เป็นท้าวสักกะมาจากเทวโลก ก็พากันถามข้าพระองค์ว่า ‘ท่านทำกรรมอะไรจึงถึงฐานะนี้เล่า’ ข้าพระองค์จึงแสดงธรรมแก่ท่านเหล่านั้น ตามที่ได้ฟังมาในหมู่ชน ท่านเหล่านั้นมีใจยินดีด้วยเหตุเพียงเท่านั้นว่า พวกเราได้เห็นท้าววาสวะแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

เรื่องการได้โสมนัส

เมื่อข้าพระองค์นั้นได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ข้ามความสงสัยแล้ว ข้าพระองค์นั้นหมดความหวาดกลัว ในวันนี้ ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ข้าพระองค์ขอถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า ผู้ทรงกำจัดลูกศรคือตัณหาได้ ไม่มีบุคคลเปรียบเทียบได้ ทรงเป็นพระมหาวีระ ทรงเป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์กับพวกเทพ กระทำความนอบน้อมอันใดแก่พระพรหม ตั้งแต่วันนี้ไป ข้าพระองค์ จักถวายความนอบน้อมอันนั้นแด่พระองค์ ขอพระวโรกาสทำการนอบน้อมแด่พระองค์ พระองค์ผู้เดียวเท่านั้นที่ตรัสรู้ ทรงเป็นพระศาสดาที่ยอดเยี่ยม ไม่มีบุคคลใดทั้งในโลกและเทวโลก มาเปรียบเทียบกับพระองค์ได้” [๓๗๑] ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกปัญจสิขะ คันธรรพบุตร มาตรัสว่า “พ่อปัญจสิขะ เธอมีคุณมากแก่เรา ที่ทำให้พระผู้มีพระภาคทรงพอ พระทัยก่อน เธอทำให้พระองค์ทรงพอพระทัยก่อนแล้ว ภายหลัง พวกเราจึงได้ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะตั้งเธอไว้ในตำแหน่งของบิดา เธอจะเป็นเจ้าแห่งคนธรรพ์ เราจะยกนางภัททาสุริยวัจฉสาให้เธอ เพราะว่านางเป็น ผู้ที่เธอปรารถนาอย่างยิ่ง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๘. สักกปัญหสูตร]

ท้าวสักกะจอมเทพได้ธรรมจักษุ

ท้าวสักกะจอมเทพได้ธรรมจักษุ
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงใช้พระหัตถ์ตบปฐพี ทรงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า “ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น” อนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว ธรรมจักษุอันปราศจาก ธุลีคือกิเลสปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ท้าวสักกะจอมเทพและแก่เทวดาอื่นอีก ๘๐,๐๐๐ องค์ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับ ไปเป็นธรรมดา” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบปัญหาที่ท้าวสักกะจอมเทพอัญเชิญมาทูล ถามแล้ว ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น เวยยากรณภาษิตนี้จึงมีชื่อว่า “สักกปัญหา”
สักกปัญหสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๐๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๒๙๒-๓๐๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=10&A=8515&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=10&siri=8              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=5727&Z=6256&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=247              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=10&item=247&items=26              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=10&item=247&items=26              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu10

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]