ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม มนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ โทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอประกอบ ด้วยอริยอินทรียสังวรเช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง [๑๖] ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร และอริย- สติสัมปชัญญะแล้ว พักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จ แล้ว นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละอภิชฌา(ความเพ่งเล็ง อยากได้สิ่งของของเขา) ในโลก มีใจปราศจากอภิชฌา ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) มีจิตปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา(ความลังเล สงสัย) ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชำระจิต ให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง บั่นทอนกำลังปัญญา
ปฐมฌาน
ภิกษุนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

ทุติยฌาน
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความ ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้
ตติยฌาน
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้
จตุตถฌาน
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่๑- ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้ [๑๗] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๒- ปราศจาก ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๒๒๖-๒๓๒/๗๕-๗๗ @ กิเลสเพียงดังเนิน (อังคณะ) หมายถึง ราคะ โทสะ โมหะ มลทินหรือเปือกตม ในที่บางแห่งหมายถึง @พื้นที่เป็นเนินตามที่พูดกันว่า เนินโพธิ์ เนินเจดีย์ เป็นต้น (ม.มู.อ. ๑/๕๗/๑๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

วิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๑- เป็นอันมากบ้าง ว่า ‘ใน ภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมี อายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่อ อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติ จากภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะ ทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้ [๑๘] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่ สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๒- แต่หมู่สัตว์ที่ ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็น ชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะ ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่ สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ สังวัฏฏกัป หมายถึงกัปฝ่ายเสื่อม คือช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ วิวัฏฏกัป หมายถึงกัปฝ่ายเจริญ @คือช่วงระยะเวลาที่โลกกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ (วิ.อ. ๑/๑๒/๑๕๘) @ ชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากความงอกงาม คือไม่มีความเจริญหรือความสุข ชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็น @คติคือเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นสถานที่ตกไปของหมู่สัตว์ที่ทำความชั่ว ชื่อว่า นรก @เพราะปราศจากความยินดีเหตุเป็นที่ไม่มีความสบายใจ (ม.มู.อ. ๑/๑๕๓/๓๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

[๑๙] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ๑- นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๒- ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๓- ไม่มีกิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป‘๔- ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีวาทะอย่างนี้ คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมา ๑๐ ประการ ของตถาคตผู้มีวาทะอย่างนี้ จึงเป็นเหตุให้ได้รับการสรรเสริญ [๒๐] ภิกษุทั้งหลาย คือ ๑. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน ตถาคตพึงเป็นผู้ทำกรรมดีไว้ในชาติก่อนแน่ จึงเป็นเหตุให้ตถาคต เสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะเห็นปานนี้ในบัดนี้ @เชิงอรรถ : @ อาสวะ หมายถึงกิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซาบไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ @มี ๔ ประการ คือ (๑) กามาสวะ อาสวะคือกาม (๒) ภวาสวะ อาสวะคือภพ (๓) ทิฏฐาสวะ @อาสวะคือทิฏฐิ (๔) อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๗/๕๘๖-๕๘๗) แต่ใน @พระสูตรท่านจัดอาสวะเป็น ๓ โดยสงเคราะห์ทิฏฐาสวะเข้าในภวาสวะ (ม.มู.อ. ๑/๑๔/๖๘) @ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นบริบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจที่จะ @ต้องทำเพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ได้ ชื่อว่าอเสขบุคคล (ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓, @ม.มู.อ. ๑/๕๔/๑๓๘) @ กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ในที่นี้หมายถึงกิจในอริยสัจ ๔ คือ การกำหนดรู้ทุกข์ การละเหตุเกิดแห่งทุกข์ @การทำให้แจ้งซึ่งความดับทุกข์ และการอบรมอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ (ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓, @ม.มู.อ. ๑/๕๔/๑๓๘) @ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมรรคญาณเพื่อความหมดสิ้น @แห่งกิเลสอีกต่อไป เพราะพระพุทธศาสนาถือว่า การบรรลุอรหัตตผลเป็นจุดหมายสูงสุด @(ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓, ม.มู.อ. ๑/๕๔/๑๓๘), ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๙๘/๓๐๖-๓๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

๒. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร ตถาคตพึงเป็นผู้ถูกพระอิศวรชั้นสูงเนรมิตมาแน่ จึงเป็นเหตุให้ ตถาคตเสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะเห็นปานนี้ในบัดนี้ ๓. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งเคราะห์ ตถาคตพึงเป็น ผู้มีเคราะห์กรรมดีแน่ จึงเป็นเหตุให้ตถาคตเสวยสุขเวทนาอันไม่มี อาสวะเห็นปานนี้ในบัดนี้ ๔. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งอภิชาติ ตถาคตพึงเป็น ผู้มีอภิชาติดีแน่ จึงเป็นเหตุให้ตถาคตเสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะ เห็นปานนี้ในบัดนี้ ๕. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตพึงเป็นผู้มีความพยายามดีในปัจจุบันแน่ จึงเป็นเหตุให้ ตถาคตเสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะเห็นปานนี้ในบัดนี้ ๖. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน ตถาคตพึงเป็นผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ ๗. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร ตถาคตพึงเป็นผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ ๘. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งเคราะห์ ตถาคตพึงเป็น ผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง เคราะห์ ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ ๙. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งอภิชาติ ตถาคตพึงเป็น ผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง อภิชาติ ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๒. ปัญจัตตยสูตร

๑๐. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตพึงเป็นผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์เพราะ เหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ๑- ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีวาทะอย่างนี้ คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมา ๑๐ ประการ ของตถาคตผู้มีวาทะอย่างนี้ จึงเป็นเหตุให้ได้รับการสรรเสริญ” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
เทวทหสูตรที่ ๑ จบ
๒. ปัญจัตตยสูตร
ว่าด้วยความเห็นผิด ๕ ประการ ๓ หมวด
วาทะเกี่ยวกับขันธ์ส่วนอนาคต
[๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำหนดขันธ์(สรรพสิ่ง)ส่วนอนาคต มีความเห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต ประกาศวาทะ แสดงทิฏฐิต่างๆ คือ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งประกาศอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่มีสัญญา ยั่งยืนหลังจาก ตายแล้ว‘๒- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๙ (เทวทหสูตร) หน้า ๑๒-๑๔ ในเล่มนี้ @ ทิฏฐินี้เรียกว่า สัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้ว อัตตามีสัญญา) มี ๑๖ ลัทธิ ดูเทียบ @ที.สี. (แปล) ๙/๗๕-๗๖/๓๐-๓๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๒๓-๒๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=662&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=14&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=1&Z=511&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=1&items=27              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=1&items=27              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]