ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๗. ติโรกุฑฑสูตร

๗. ติโรกุฑฑสูตร๑-
ว่าด้วยเรื่องเปรตที่อยู่ภายนอกฝาเรือน๒-
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้ เพื่ออนุโมทนาพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ดังนี้) [๑] พวกเปรตพากันมาสู่เรือนของตน๓- บ้างยืนอยู่ที่ฝาเรือนด้านนอก บ้างยืนอยู่ที่ทางสี่แพร่ง สามแพร่ง บ้างยืนพิงอยู่ที่บานประตู [๒] เมื่อมีข้าวและน้ำดื่มมากมาย เมื่อของเคี้ยวของกินถูกจัดเตรียมไว้แล้ว ญาติสักคนก็ไม่นึกถึงเปรตเหล่านั้น เพราะกรรมของสัตว์เหล่านั้นเป็นปัจจัย [๓] เหล่าชนผู้อนุเคราะห์ ย่อมถวายอาหารและน้ำดื่ม ที่สะอาดประณีต เหมาะแก่พระสงฆ์ตามกาล อุทิศให้ญาติทั้งหลาย(ที่เกิดเป็นเปรต)อย่างนี้ว่า ขอทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลาย จงเป็นสุขเถิด [๔] ส่วนญาติที่เกิดเป็นเปรตเหล่านั้น พากันมาประชุมพร้อมกัน ณ ที่ให้ทานนั้น ย่อมอนุโมทนาในอาหารและน้ำดื่มเป็นอันมากโดยเคารพว่า [๕] เพราะเหตุแห่งญาติเหล่าใด พวกเราจึงได้สุขสมบัติเช่นนี้ ขอญาติเหล่านั้นของพวกเราจงมีอายุยืน อนึ่ง การบูชา ญาติผู้เป็นทายกก็ได้ทำแก่พวกเราแล้ว และทายกก็ไม่ไร้ผล @เชิงอรรถ : @ พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร ณ กรุงราชคฤห์ (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๗๗) @ ดูเทียบ ขุ.เปต. (แปล) ๒๖/๑๔-๒๕/๑๗๐-๑๗๒, อภิ.ก. ๓๗/๔๙๐/๒๙๕ @ เรือนของตน หมายถึงเรือนญาติของตน หรือเรือนที่เคยอยู่ในปางก่อน (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๗. ติโรกุฑฑสูตร

[๖] ในเปตวิสัย๑- นั้น ไม่มีกสิกรรม (การทำไร่ไถนา) ไม่มีโครักขกรรม (การเลี้ยงวัวไว้ขาย) ไม่มีพาณิชกรรม (การค้าขาย) เช่นนั้น การแลกเปลี่ยนซื้อขายด้วยเงิน ก็ไม่มี ผู้ที่ตายไปเกิดเป็นเปรตในเปตวิสัยนั้น ดำรงชีพด้วยผลทานที่พวกญาติอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้ [๗] น้ำฝนที่ตกลงมาในที่ดอนย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแน่นอนแก่พวกเปรต ฉันนั้นเหมือนกัน [๘] ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใด ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน [๙] กุลบุตรเมื่อระลึกถึงอุปการะ ที่ญาติผู้ละไปแล้ว(เปรต)เคยทำไว้ในกาลก่อนว่า ‘ผู้นั้นได้ให้สิ่งนี้แก่เรา ได้ทำสิ่งนี้แก่เรา ได้เป็นญาติ มิตร และสหายของเรา’ ก็ควรถวายทักษิณาทานอุทิศให้แก่ญาติผู้ละไปแล้ว [๑๐] การร้องไห้ ความเศร้าโศก หรือความร่ำไห้คร่ำครวญอย่างอื่นใด ใครๆ ไม่ควรทำเลย เพราะการร้องไห้ เป็นต้นนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลายก็ยังคงสภาพอยู่อย่างนั้น @เชิงอรรถ : @ เปตวิสัย หมายถึงภูมิหรือกำเนิดแห่งเปรต (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๘. นิธิกัณฑสูตร

[๑๑] ส่วนทักษิณาทานนี้แล ที่ตั้งไว้ดีแล้วในพระสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์เกื้อกูลสิ้นกาลนาน แก่หมู่ญาติที่เกิดเป็นเปรตนั้น โดยพลันทีเดียว [๑๒] ญาติธรรม๑- นี้นั้น ท่านแสดงออกแล้ว การบูชาญาติที่ตายไปเป็นเปรต ท่านทำอย่างยิ่งใหญ่แล้ว ทั้งกำลังกายของภิกษุ ท่านก็เพิ่มให้แล้ว เป็นอันว่าท่านสั่งสมบุญไว้มิใช่น้อยเลย
ติโรกุฑฑสูตร จบ
๘. นิธิกัณฑสูตร
ว่าด้วยการฝังขุมทรัพย์
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่กุฎุมพีคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ดังนี้) [๑] คนเราฝังขุมทรัพย์๒- ไว้ในที่ลึกจดถึงน้ำก็ด้วยคิดว่า เมื่อเกิดกิจที่จำเป็นขึ้น ขุมทรัพย์นี้จะเป็นประโยชน์แก่เรา [๒] คนเราฝังขุมทรัพย์ไว้ในโลก ก็เพื่อจุดประสงค์นี้ คือ เพื่อให้พ้นจากราชภัยที่คอยคุกคาม เพื่อให้พ้นจากโจรภัยที่คอยเบียดเบียน เพื่อเก็บไว้ใช้หนี้ก็มี เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามเกิดทุพภิกขภัย๓- หรือเพื่อใช้ในเวลามีภัยอันตรายต่างๆ @เชิงอรรถ : @ ญาติธรรม หมายถึงกิจคือการสงเคราะห์ต่อกันที่ญาติจะพึงกระทำต่อกัน (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๙๐) @ ขุมทรัพย์ มี ๔ ชนิด คือ (๑) ถาวระ คือขุมทรัพย์ถาวร เช่น ที่ดิน ที่นา ที่สวน เงินและทอง (๒) ชังคมะ @คือขุมทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ เช่น ทาสชาย ทาสหญิง ช้าง ม้า โค กระบือ แกะ ไก่ สุกร เป็นต้น (๓) อังคสมะ @คือขุมทรัพย์ติดตัว เช่น วิชาความรู้ ศิลปวิทยา เป็นต้น (๔) อนุคามิกะ คือขุมทรัพย์ตามตัวทางคุณธรรม @ได้แก่ บุญกุศล ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา เป็นต้น ในที่นี้หมายถึงขุมทรัพย์ถาวร (ขุ.ขุ.อ. ๘/๑๙๓) @ ทุพภิกขภัย หมายถึงภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง หรือการขาดแคลนอาหารในบ้านเมือง @(ขุ.ขุ.อ. ๘/๑๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๗}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๕-๑๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=389&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=7              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=155&Z=194&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=8              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=8&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=8&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]