ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส

คือ ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใด อริยบุคคลละได้แล้วด้วย อนาคามิมรรค อริยบุคคลก็ไม่มา ไม่กลับมา คือ ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใด อริยบุคคลละได้แล้วด้วยอรหัตตมรรค อริยบุคคลก็ไม่มา ไม่กลับมา คือ ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก รวมความว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา
ว่าด้วยพระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง
คำว่า เป็นผู้มั่นคง อธิบายว่า พระอรหันต์ เป็นผู้มั่นคงด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. เป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ๒. เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้สละแล้ว ๓. เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้ข้ามได้แล้ว ๔. เป็นผู้มั่งคง เพราะเป็นผู้พ้นแล้ว ๕. เป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ พระอรหันต์เป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เป็นอย่างไร คือ พระอรหันต์เป็นผู้มั่นคงทั้งในลาภและในความเสื่อมลาภ เป็นผู้มั่นคงทั้ง ในยศและในความเสื่อมยศ เป็นผู้มั่งคงทั้งในสรรเสริญและนินทา เป็นผู้มั่นคงทั้งใน สุขและทุกข์ คนบางพวกเอาของหอมชะโลมแขนข้างหนึ่ง อีกพวกหนึ่งใช้มีดถากแขน อีกข้างหนึ่ง พระอรหันต์ก็ไม่มีความยินดีในการชะโลมด้วยของหอมโน้น ไม่มีความ ยินร้ายในการถากแขนโน้น พระอรหันต์ละความยินดีและความยินร้ายได้แล้ว ล่วง พ้นความดีใจและความเสียใจได้แล้ว ก้าวล่วงความยินดีและความยินร้ายได้แล้ว พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เป็นอย่างนี้ พระอรหันต์เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้สละแล้ว เป็นอย่างไร คือ พระอรหันต์สละ คลาย ปล่อย ละ สลัดทิ้ง ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ... กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน ... ความ เดือดร้อนทุกประการ พระอรหันต์สละ คลาย ปล่อย ละ สลัดทิ้งอกุสลาภิสังขารทุก ประเภทได้แล้ว พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้สละแล้ว เป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส

พระอรหันต์เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้ข้ามได้แล้ว เป็นอย่างไร คือ พระอรหันต์ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ ทางแห่งสงสารทั้งปวงได้แล้ว พระอรหันต์นั้นอยู่(ใน อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว พระอรหันต์นั้นไม่มีการเวียนเกิด เวียน ตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้ข้ามได้แล้ว เป็นอย่างนี้ พระอรหันต์เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้พ้นแล้ว เป็นอย่างไร คือ พระอรหันต์มีจิตพ้น หลุดพ้น หลุดพ้นดีแล้วจากราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ...อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ... กิเลส ทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ... พระอรหันต์มีจิตพ้น หลุดพ้น หลุดพ้นดีแล้ว จากอกุสลาภิสังขารทุกประเภท พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้พ้นแล้ว เป็นอย่างนี้ พระอรหันต์เป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ เป็นอย่างไร คือ เมื่อศีลมีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีศีล เมื่อศรัทธามีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีศรัทธา เมื่อความเพียรมีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคงเพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มี ความเพียร เมื่อสติมีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีสติ เมื่อสมาธิมีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้ตั้งมั่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส

เมื่อปัญญามีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีปัญญา เมื่อวิชชามีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มี วิชชา ๓ ๑- เมื่ออภิญญามีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มี อภิญญา ๖ ๒- พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้นๆ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา เป็นผู้มั่นคง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ไม่เชิดชู แม้ธรรมทั้งหลายพระอรหันต์เหล่านั้นก็ไม่ปรารถนาแล้ว พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์นั้น ใครๆ จึงนำไปด้วยศีลวัตรไม่ได้ เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ไม่กลับมา เป็นผู้มั่นคง
ปรมัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ วิชชา ๓ คือ ความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งวิเศษ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัย @อยู่ในก่อน ระลึกชาติได้) (๒) จุตูปปาตญาณ (ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตาม @กรรม เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย) (๓) อาสวักขยญาณ (ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่ง @อาสวะทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ ความตรัสรู้) (ที.ปา. ๑๑/๓๐๕/๑๙๗) @ อภิญญา ๖ คือความรู้ยิ่งยวด (๑) อิทธิวิธี ความรู้ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๒) ทิพพโสต ญาณที่ @ทำให้มีหูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ทำให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณ @ที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ (๖) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป ๕ @ข้อแรกเป็นโลกียะ (โลกียอภิญญา) ข้อท้ายเป็นโลกุตตระ (ที.สี.(แปล) ๙/๒๓๔-๒๔๘/๗๗-๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๔๑}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑๓๙-๑๔๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=4145&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=5              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=2240&Z=2585&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=146              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=146&items=35              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=146&items=35              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]