ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๙. โคลิสสานิสูตร

๙. โคลิสสานิสูตร
ว่าด้วยภิกษุชื่อโคลิสสานิ
คุณธรรมของภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
[๑๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ภิกษุชื่อโคลิสสานิ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร มีมารยาท ทรามนั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตร ปรารภภิกษุชื่อโคลิสสานิ จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า เป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ไม่เคารพยำเกรงในเพื่อนพรหมจารี ทั้งหลายแล้ว จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่า แต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่มีความเคารพยำเกรงใน เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการ อยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงในเพื่อน พรหมจารีทั้งหลาย (๑) ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเข้าใจลำดับแห่ง อาสนะว่า ‘เราจักไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เป็นเถระ และจักไม่กันอาสนะภิกษุผู้เป็นนวกะ’ ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่เข้าใจลำดับแห่งอาสนะ จะมีผู้ติเตียนภิกษุรูปนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่เข้าใจลำดับแห่งอาสนะ’ จะมีผู้ติเตียน ภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเข้าใจลำดับแห่งอาสนะ (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๙๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๙. โคลิสสานิสูตร

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรรู้อภิสมาจาริก- ธรรม๑- ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่รู้อภิสมาจาริก- ธรรม จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่รู้อภิสมาจาริกธรรม’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุ นั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรรู้ อภิสมาจาริกธรรม (๓) ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเข้าบ้านเช้านัก ไม่ควรกลับมาสายนัก ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับ การสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ ที่เข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเข้าบ้านเช้านัก ไม่ควรกลับมาสายนัก (๔) ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเที่ยวไปใน ตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร ในเวลาหลังฉันภัตตาหาร ถ้าภิกษุผู้ถือ การอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายในเวลาก่อน ฉันภัตตาหาร ในเวลาหลังฉันภัตตาหาร จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘ท่านผู้ถือการ อยู่ป่าเป็นวัตร ผู้สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียวนี้ ได้ทำการเที่ยวไปในเวลาวิกาลไว้มากแน่ อนึ่ง เพื่อนพรหมจารีก็จะกล่าวทักท้วงเธอผู้ไปในสงฆ์ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเที่ยว ไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร ในเวลาหลังฉันภัตตาหาร (๕) @เชิงอรรถ : @ อภิสมาจาริกธรรม หมายถึง อภิมาจาริกศีล คือ ศีลที่บัญญัติว่าด้วยเรื่องวัตรอันเป็นระเบียบปฏิบัติ @ขนบธรรมเนียมชั้นสูง ได้แก่ ขันธกวัตร ๘๒ มหาวัตร ๑๔ เช่น เจติยังคณวัตร (ระเบียบปฏิบัติที่ลานพระ @เจดีย์) โพธิยังคณวัตร (ระเบียบปฏิบัติที่ลานต้นโพธิ์) อุปัชฌายวัตร (ระเบียบปฏิบัติที่สัทธิวิหาริกพึง @ปฏิบัติต่อพระอุปัชฌาย์) อาจริยวัตร (ระเบียบปฏิบัติที่อันเตวาสิกพึงปฏิบัติต่อพระอาจารย์) ชันตาฆรวัตร @(ระเบียบปฏิบัติที่เรือนไฟ) อุโปสถาคารวัตร (ระเบียบปฏิบัติที่โรงอุโบสถ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑/๖, @วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๕๓) และดู วิ.จู. (แปล) ๖/๕๑/๙๖, ๗๕-๘๒/๑๕๗-๑๖๓, วิ.จู. (แปล) ๗/๓๕๖-๓๘๒/๒๒๒-๒๖๒ @ตามนัย สารตฺถ.ฏีกา ๒/๑๖๕/๒๔๑-๒๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๙๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๙. โคลิสสานิสูตร

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ คะนองกาย คะนองวาจา จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘ท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ผู้สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียวนี้ ได้ทำการคะนองกาย คะนองวาจาไว้มากแน่ อนึ่ง เพื่อนพรหมจารีก็จะกล่าวทักท้วงเธอผู้ไปกับสงฆ์ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควร คะนองกาย คะนองวาจา (๖) ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้มีปากกล้า ไม่ควรเป็นผู้มีวาจาจัดจ้าน ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้มีปากกล้า เป็นผู้มีวาจาจัดจ้าน จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์ อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้แต่เป็น ผู้มีปากกล้า เป็นผู้มีวาจาจัดจ้าน’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเป็นผู้มีปากกล้า เป็นผู้ มีวาจาจัดจ้าน (๗) ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ว่าง่าย เป็นกัลยาณมิตร ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็น ผู้ว่ายาก เป็นบาปมิตร จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัคร ใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้ว่ายาก เป็น บาปมิตร’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อ ไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงควรเป็นผู้ว่าง่าย เป็นกัลยาณมิตร (๘) ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีผู้ ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับ ท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย’ จะมีผู้ติเตียน ภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย (๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๙๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๙. โคลิสสานิสูตร

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร จะมีผู้ ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับ ท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร’ จะมีผู้ ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็นผู้รู้ประมาณ ในการบริโภคอาหาร (๑๐) ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ไม่เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็น ผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง (๑๑) ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้ปรารภความเพียร๑- ถ้าภิกษุผู้ถือการ อยู่ป่าเป็นวัตรเป็นผู้เกียจคร้าน จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไร กับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้ เกียจคร้าน’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็นผู้ปรารภความเพียร (๑๒) ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้มีสติตั้งมั่น ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า เป็นวัตรเป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการ สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้มีสติ ฟั่นเฟือน’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็นผู้มีสติตั้งมั่น (๑๓) @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๒๕ (เสขปฏิปทาสูตร) หน้า ๒๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๙๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๙. โคลิสสานิสูตร

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า เป็นวัตรเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการ สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้มีจิต ไม่ตั้งมั่น’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น (๑๔) ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้มีปัญญา ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า เป็นวัตรเป็นผู้มีปัญญาทราม จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับ การสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้มี ปัญญาทราม’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็นผู้มีปัญญา (๑๕) ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรทำความเพียรในอภิธรรมและในอภิวินัย เพราะเมื่อมีผู้ถามปัญหาในอภิธรรมและในอภิวินัยกับภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรถูกถามปัญหาในอภิธรรมและในอภิวินัยแล้ว ตอบ ไม่ได้ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ถูกถามปัญหาในอภิธรรมและในอภิวินัยแล้ว ตอบไม่ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรทำความเพียรในอภิธรรมและในอภิวินัย (๑๖) ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรทำความเพียรในสันตวิโมกข์๑- ซึ่งไม่มีรูปเพราะ ล่วงรูปฌาน เพราะเมื่อมีคนถามปัญหาในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน กับภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรถูกถามปัญหา ในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌานแล้ว ตอบไม่ได้ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ @เชิงอรรถ : @ สันตวิโมกข์ หมายถึง อรูปฌานที่พ้นได้อย่างสิ้นเชิง เพราะพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึกกล่าวคือนิวรณ์ ๕ ประการ @และเพราะไม่เกี่ยวข้องในอารมณ์ เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙/๓๒๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๙๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๙. โคลิสสานิสูตร

ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่า เป็นวัตรนี้ แต่ถูกถามปัญหาในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌานแล้ว ตอบ ไม่ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควร ทำความเพียรในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน (๑๗) ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรทำความเพียรใน อุตตริมนุสสธรรม๑- เพราะเมื่อมีคนถามปัญหาในอุตตริมนุสสธรรมกับภิกษุผู้ถือการ อยู่ป่าเป็นวัตร ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรถูกถามปัญหาในอุตตริมนุสสธรรมแล้ว ตอบไม่ได้ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่า แต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่รู้เนื้อความแห่งคุณวิเศษที่ กุลบุตรผู้ออกบวชแล้วต้องการ’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการ อยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรทำความเพียรในอุตตริมนุสสธรรม (๑๘)” เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่าน พระสารีบุตรว่า “ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่านี้ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรเท่านั้นหรือที่ควร สมาทาน ประพฤติ หรือธรรมเหล่านี้แม้ภิกษุผู้อยู่ในอารามใกล้บ้านก็ควรสมาทาน ประพฤติด้วย” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านโมคคัลลานะ ธรรมเหล่านี้ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า เป็นวัตรควรสมาทานประพฤติ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงภิกษุผู้อยู่ในอารามใกล้บ้านเลย” ดังนี้แล
โคลิสสานิสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ อุตตริมนุสสธรรม หมายถึงฌาน วิปัสสนา มรรคและผล มหัคคตโลกุตตรปัญญาที่สามารถกำจัดกิเลสได้ @เป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ กล่าวคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๕/๕๑, @องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐) แต่ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม (คือ มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน) (ม.ม.อ. ๒/๑๗๓/๑๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๐๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๙๕-๒๐๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13&siri=19              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=3865&Z=3980                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=203              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=203&items=19              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=3409              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=203&items=19              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=3409                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i203-e1.php# https://suttacentral.net/mn69/en/sujato https://suttacentral.net/mn69/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :