ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๕. นขสิขาสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยฝุ่นที่ปลายเล็บ
[๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ @เชิงอรรถ : @ นางเวลามิกา หมายถึงหญิงที่ถือกำเนิดจากกษัตริย์กับนางพราหมณ์ หรือถือกำเนิดจากพราหมณ์กับ @นางกษัตริย์ (สํ.ข.อ. ๒/๙๖-๙๘/๓๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๘๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๕. นขสิขาสูตร

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง เสมออยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น ไม่มีเลย เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง เสมออยู่อย่างนั้น ไม่มีเลย” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นนิดหน่อยด้วยปลายพระนขาแล้ว ตรัสกับภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ รูปแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น ไม่มี ถ้ารูปแม้ประมาณเท่านี้ จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปรแล้ว การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดย ชอบนี้ ก็จะไม่พึงปรากฏ แต่เพราะรูปแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบจึงปรากฏ เวทนาแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ อยู่อย่างนั้น ไม่มี ถ้าเวทนาแม้ประมาณเท่านี้ จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ ผันแปรแล้ว การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็จะไม่พึง ปรากฏ แต่เพราะเวทนาแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ สัญญาแม้ประมาณเท่านี้ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๘๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๖. สุทธิกสูตร

สังขารแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ อยู่อย่างนั้น ไม่มี ถ้าสังขารแม้ประมาณเท่านี้ จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร แล้ว การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็จะไม่พึงปรากฏ แต่เพราะสังขารแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ วิญญาณแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง เสมออยู่อย่างนั้น ไม่มี ถ้าวิญญาณแม้ประมาณเท่านี้ จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปรแล้ว การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็จะไม่พึง ปรากฏ แต่เพราะวิญญาณแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ ภิกษุ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” “เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ “เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
นขสิขาสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๘๖-๑๘๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17&siri=97              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=3243&Z=3271                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=252              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=252&items=3              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=252&items=3                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i237-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.097.than.html https://suttacentral.net/sn22.97/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.97/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :