ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๖. ทุติยผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอิทธิบาท สูตรที่ ๒
[๘๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร อิทธิบาท ๔ ประการนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๑๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]

๓. อโยคุฬวรรค ๗. ปฐมอานันทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. จะได้บรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบัน ๒. หากไม่ได้บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย ๓. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้เป็น พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๔. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๕. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๖. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๗. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ภิกษุทั้งหลาย เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการนี้”๑-
ทุติยผลสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๑
[๘๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อิทธิ เป็นอย่างไร อิทธิบาท เป็นอย่างไร อิทธิบาท- ภาวนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้ หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๑๘๔ (สีลสูตร) หน้า ๑๑๕-๑๑๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๑๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๑๖-๔๑๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=279              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=7084&Z=7096                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1219              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1219&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1219&items=2                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn51.26/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :