ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ

๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทเหล่านี้มาถึงวาระที่ยกขึ้น แสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับ
๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท
ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากมือภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๕๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตใน กรุงสาวัตถี เวลากลับ พบภิกษุรูปหนึ่งจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์ท่าน รับภิกษาหารเถิด” ภิกษุนั้นตอบว่า “ดีละ น้องหญิง” แล้วรับภิกษาหารทั้งหมด เมื่อใกล้เวลาฉันแล้ว ภิกษุณีนั้นไม่สามารถเที่ยวบิณฑบาตได้ทัน จึงไม่ได้ฉัน ภัตตาหาร ต่อมา แม้ในวันที่ ๒ ภิกษุณีนั้น ฯลฯ แม้ในวันที่ ๓ ภิกษุณีนั้นก็เที่ยวบิณฑบาต ในกรุงสาวัตถี เวลากลับ พบภิกษุรูปนั้นจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์ท่านรับภิกษาหารเถิด” ภิกษุนั้นตอบว่า “ดีละ น้องหญิง” แล้วรับภิกษาหารทั้งหมด เมื่อใกล้เวลาฉันแล้ว ภิกษุณีนั้นไม่สามารถเที่ยวบิณฑบาตได้ทัน จึงไม่ได้ฉัน ภัตตาหาร ครั้นในวันที่ ๔ ภิกษุณีนั้นเดินซวนเซไปตามถนน เศรษฐีคหบดีนั่งรถสวนทาง มา ได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า นิมนต์ท่านหลีกทาง” เธอเมื่อกำลังหลีก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๒๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ

ล้มลงในที่นั้นเอง เศรษฐีคหบดีขอขมาภิกษุณีนั้นว่า “แม่เจ้า ท่านโปรดยกโทษ กระผมทำให้ท่านล้ม” ภิกษุณีตอบว่า “คหบดี ท่านไม่ได้ทำให้ดิฉันล้ม ดิฉันมีกำลังไม่ดีต่างหาก” เศรษฐีถามว่า “แม่เจ้า เพราะเหตุใดท่านจึงมีกำลังไม่ดี” ทีนั้น ภิกษุณีนั้นจึงเล่าเรื่องนั้นให้เศรษฐีคหบดีทราบ เศรษฐีคหบดีพาภิกษุณี นั้นไปฉันที่เรือน แล้วตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย จึงรับอามิสจากมือของภิกษุณีเล่า มาตุคามหาลาภได้ยาก” พวกภิกษุได้ยินเศรษฐีคหบดีตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงรับอามิสจากมือของ ภิกษุณีเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่าเธอรับอามิสจากมือของภิกษุณี จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ ภิกษุณีนั้น เป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” ภิกษุนั้นทูลตอบว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆบุรุษ ภิกษุผู้ ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้สิ่งที่เหมาะสมหรือ ไม่เหมาะสม ของที่มีอยู่หรือไม่มีอยู่ ของภิกษุณีผู้ ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงรับ อามิสจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๒๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๕๕๓] ก็ ภิกษุใดรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองจากมือของ ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติผู้เข้าไปในละแวกบ้าน เคี้ยวหรือฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่าน กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๕๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา ตลอดเจ็ดชั่วคน ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ที่ชื่อว่า ละแวกบ้าน ได้แก่ ถนน ตรอกตัน ทางสี่แยก เรือน ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา เนื้อ ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง อาบัติปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๒๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๕๕๕] ภิกษุณีไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ รับของเคี้ยวหรือของฉัน ด้วยมือตนเองจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปในละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวหรือ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ภิกษุณีไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองจาก มือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปในละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ ภิกษุณีไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตน เองจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปในละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวหรือฉัน ต้อง อาบัติปาฏิเทสนียะ
ทุกกฏ
ภิกษุรับของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกเพื่อเป็นอาหาร ต้องอาบัติ ทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือของภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน ภิกษุณีเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีเป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๕๖] ๑. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือของภิกษุณีที่เป็นญาติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๓๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร

๒. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติสั่งให้ถวาย ไม่ ได้ถวายเอง ๓. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายโดยวางไว้ ๔. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายในอาราม ๕. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายในสำนักภิกษุณี ๖. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายในสำนักเดียรถีย์ ๗. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายในโรงอาหาร๑- ๘. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีนำออกจากบ้านแล้วถวาย ๙. ภิกษุรับยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ที่ภิกษุณีถวายด้วยสั่งว่า เมื่อมีเหตุผล นิมนต์ฉันได้ ๑๐. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่สิกขมานาถวาย ๑๑. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่สามเณรีถวาย ๑๒. ภิกษุวิกลจริต ๑๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ปฏิกฺกมน โรงอาหาร (ปฏิกฺกมนํ นีหริตฺวาติ อาสนสาลํ หริตฺวา - วิ.อ. ๒/๒๓๓/๓๕๖, ปฏิกฺกมเนปีติ @อาสนสาลายมฺปิ - วิ.อ. ๒/๒๗๔/๓๙๘, ปฏิกฺกมนนฺติ อาสนสาลา - กงฺขา. ฏีกา ๔๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๓๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๒๗-๖๓๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=130              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=14785&Z=14864                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=781              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=781&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10284              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=781&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10284                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pd1/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pd1/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :