ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต]

๒. เตกิจฉกานิเถรคาถา

๒. เตกิจฉกานิเถรคาถา
ภาษิตของพระเตกิจฉกานิเถระ
(มารกล่าวว่า) [๓๘๑] ข้าวเปลือกเขาเก็บไว้ในฉาง ข้าวสาลีก็ยังอยู่ในลาน ข้าพเจ้าไม่ได้ก้อนข้าว บัดนี้ยังจะทำอย่างไร (พระเตกิจฉกานิเถระกล่าวว่า) [๓๘๒] ท่านเลื่อมใสแล้ว จงระลึกถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งมีพระคุณหาประมาณมิได้ จะเป็นผู้มีสรีระที่ปีติถูกต้องแล้วเบิกบานใจเนืองๆ [๓๘๓] ท่านเลื่อมใสแล้ว จงระลึกถึงพระธรรม ซึ่งมีพระคุณหาประมาณมิได้ จะเป็นผู้มีสรีระที่ปีติถูกต้องแล้ว เบิกบานใจเนืองๆ [๓๘๔] ท่านเลื่อมใสแล้ว จงระลึกถึงพระสงฆ์ ซึ่งมีพระคุณหาประมาณมิได้ จะเป็นผู้มีสรีระที่ปีติถูกต้องแล้ว เบิกบานใจเนืองๆ (มารกล่าวว่า) [๓๘๕] ท่านอยู่กลางแจ้ง ตลอดราตรีที่เย็น ซึ่งเป็นฤดูหนาวเหล่านี้ ท่านอย่าได้ถูกความหนาวรบกวน เบียดเบียนเลย นิมนต์เข้าวิหารซึ่งมีบานประตูหน้าต่างมิดชิดเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๐๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต]

๓. มหานาคเถรคาถา

(พระเตกิจฉกานิเถระกล่าวว่า) [๓๘๖] เราจะสัมผัสอัปปมัญญาทั้งสี่๑- และจะมีความสุข อยู่ด้วยอัปปมัญญาเหล่านั้น เราจะอยู่อย่างไม่หวั่นไหว ไม่เดือดร้อน เพราะความหนาวอยู่
๓. มหานาคเถรคาถา
ภาษิตของพระมหานาคเถระ
(พระมหานาคเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า) [๓๘๗] ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ผู้นั้น ย่อมเสื่อมจากพระสัทธรรม เหมือนปลาในน้ำน้อย [๓๘๘] ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ผู้นั้น ไม่งอกงามในพระสัทธรรม เหมือนพืชเน่าในไร่นา [๓๘๙] ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ผู้นั้น ย่อมอยู่ห่างไกลจากนิพพาน ในพระศาสนาของพระศาสดาผู้เป็นพระธรรมราชา [๓๙๐] ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ผู้นั้น ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม เหมือนปลาในน้ำมาก @เชิงอรรถ : @ อัปปมัญญา ๔ คือ พรหมวิหาร ๔ (๑. เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข ๒. กรุณา @ความสงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์ ๓. มุทิตา ความยินดีในเมื่อผู้อื่นมีสุข ๔. อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง ไม่ @เอนเอียงเพราะรักเพราะชัง) ที่ชื่อว่าอัปปมัญญาเพราะแผ่ไปโดยไม่มีประมาณในสัตว์ในบุคคล ไม่จำกัดขอบเขต @(ขุ.เถร.อ. ๒/๓๘๖/๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๐๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๔๐๕-๔๐๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=26&siri=348              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=6506&Z=6524                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=348              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=348&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=2159              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=348&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=2159                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/thag/thag.06.02.than.html https://suttacentral.net/thag6.2/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :