ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

๔. วิปัตติปัจจยวาร

๔. วิปัตติปัจจยวาร
วาระว่าด้วยความวิบัติเป็นปัจจัย
[๒๘๔] ถาม : เพราะสีลวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : เพราะสีลวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ ๑. ภิกษุณีรู้อยู่ ปกปิดธรรมคือปาราชิก ต้องอาบัติปาราชิก ๒. ภิกษุณีสงสัยปกปิด ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์๑- ๔. ภิกษุปกปิดอาบัติชั่วหยาบของตน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะสีลวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่างนี้ ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติ ปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ @เชิงอรรถ : @ ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๓๙๘-๓๙๙/๕๑๐-๕๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๘๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

๔. วิปัตติปัจจยวาร

[๒๘๕] ถาม : เพราะอาจารวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : เพราะอาจารวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ ภิกษุปิด อาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะอาจารวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๑ อย่างนี้ ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ บรรดา สมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ อาจารวิบัติ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๑ กอง คือ กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ [๒๘๖] ถาม : เพราะทิฏฐิวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : เพราะทิฏฐิวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ ๑. ภิกษุไม่สละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง จบญัตติต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ๒. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะทิฏฐิวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้ ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๘๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

๔. วิปัตติปัจจยวาร

ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ คือ อาจารวิบัติ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๒ กอง คือ (๑) กองอาบัติ ปาจิตตีย์ (๒) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ [๒๘๗] ถาม : เพราะอาชีววิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : เพราะอาชีววิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๖ สมุฏฐาน คือ ๑. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุผู้มีความปรารถนา ชั่วช้า ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก ๒. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุทำหน้าชักสื่อ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๓. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุกล่าวว่า “ภิกษุ รูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเป็นพระอรหันต์” เมื่อผู้ฟัง เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๔. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุออกปากขอ โภชนะอันประณีตมาเพื่อประโยชน์ของตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๕. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุณีออกปาก ขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อประโยชน์ของตนแล้วฉัน ต้องอาบัติ ปาฏิเทสนียะ ๖. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุไม่เป็นไข้ออกปาก ขอแกง หรือข้าวสุกมาเพื่อประโยชน์ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะอาชีววิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๘๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]

๕. อธิกรณปัจจยวาร

ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๖ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก (๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๕) กองอาบัติปาฏิเทสนียะ (๖) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่ทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิดทางกาย วาจากับจิต บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
วิปัตติปัจจยวารที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๓๘๔-๓๘๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=66              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=6589&Z=6662                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=874              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=874&items=4              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=874&items=4                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr4/en/brahmali#pli-tv-pvr4:64.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr4/en/horner-brahmali#Prv.4.5



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :