ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

หน้าที่ ๑๙๙-๒๐๐.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความเลื่อมใสในข้อปฏิปทาดี ข้อปฏิปทาชอบว่า ข้อปฏิปทาดีบ้าง ข้อปฏิปทาชอบบ้าง บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส (๔) [๑๖๖] บุคคลกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใด ควรติเตียนก็กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรสรรเสริญก็ ไม่กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่า กล่าวติ เตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควร สรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (๑) บุคคลกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใดควร สรรเสริญก็กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรติเตียน ก็ไม่กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่ากล่าว สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควร ติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (๒) บุคคลกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลและกล่าว สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใดควร ติเตียนก็กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรสรรเสริญก็ กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นผู้รู้เวลาเพื่อตอบคำถามนั้น ในการกล่าวนั้น บุคคลเช่นนี้ชื่อว่ากล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะ แก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (๓) บุคคลไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลและ ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๐/๑๕๐-๑๕๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๙๙}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใดควร ติเตียนก็ไม่กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรสรรเสริญก็ไม่ กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลและ ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (๔) [๑๖๗] บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียร แต่ไม่ดำรงชีพ ด้วยผลแห่งบุญ๑- เป็นไฉน การดำรงชีพของบุคคลใดเกิดขึ้นเพราะความขยัน ความหมั่น ความเพียร มิใช่เกิดขึ้นเพราะบุญ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียร แต่ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ แต่ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่น เพียร เป็นไฉน เทวดาชั้นสูงขึ้นไปกระทั้งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ แต่ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียร บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรและดำรงชีพด้วยผลแห่ง บุญ เป็นไฉน การดำรงชีพของบุคคลใดเกิดขึ้นเพราะความขยัน ความหมั่น ความเพียร และเกิดขึ้นเพราะผลบุญ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่น เพียรและดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ บุคคลผู้ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรและไม่ดำรงชีพด้วย ผลแห่งบุญ เป็นไฉน สัตว์นรกชื่อว่าผู้ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรและไม่ดำรงชีพ ด้วยผลแห่งบุญ @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๔/๒๐๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๐๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๑๙๙-๒๐๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=36&page=199&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=36&A=5474 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=36&A=5474#p199 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 36 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_36 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36 https://84000.org/tipitaka/english/?index_36



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๙๙-๒๐๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]