ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
๒. ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉันนะ
[๓๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตพระนคร โกสัมพี. ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติอนาจารเอง แล้วถูกไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลาง สงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง ต้องอะไร? ต้องเพราะเรื่องอะไร? ต้อง อย่างไร? ท่านทั้งหลายว่าใคร? ว่าเรื่องอะไร? บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระฉันนะถูก ไต่สวนเพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ จึงเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง? ต้อง อะไร? ต้องเพราะเรื่องอะไร? ต้องอย่างไร? ท่านทั้งหลายว่าใคร? ว่าเรื่องอะไร? ดังนี้เล่า? แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระฉันนะว่า ดูกรฉันนะ ข่าวว่า เธอถูกไต่สวน เพราะต้องอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง? ... ว่าเรื่องอะไร? ดังนี้ จริงหรือ? ท่านพระฉันนะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอเมื่อถูกไต่สวนเพราะต้อง อาบัติในท่ามกลางสงฆ์ จึงเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนว่า ใครต้อง? ... ว่าเรื่องอะไร? ดังนี้ เล่า? การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นทรง ติเตียนแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น สงฆ์จงยก อัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงยกอัญญวาทกกรรมอย่างนี้-
กรรมวาจาลงอัญญวาทกกรรม
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:- ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวนด้วยอาบัติในท่าม- *กลางสงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว. สงฆ์พึงยกอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ นี่เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ภิกษุฉันนะนี้ถูกไต่สวนด้วยอาบัติในท่าม กลางสงฆ์ กลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน. สงฆ์ยกอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ. การยกอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด, ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง. ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด, ท่านผู้นั้นพึงพูด. อัญญวาทกกรรมอันสงฆ์ยกแล้วแก่ภิกษุฉันนะ ชอบแก่สงฆ์, เหตุนั้นจึงนิ่ง, ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๘๖๐๖-๘๖๓๘ หน้าที่ ๓๕๐-๓๕๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=8606&Z=8638&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=2&item=358&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=2&item=358&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=2&item=358&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=2&item=358&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=358              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]